กสิกรไทย คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต 3.7% จับตาการค้าโลกไม่สดใสกดดันส่งออกไทยเสี่ยงโตต่ำคาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2565 ที่ผ่านมา ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.2% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตจีดีพีของไทยในไตรมาส 4/2565 มีปัจจัยกดดันหลักมาจากส่งออกสินค้าที่หดตัวถึง -10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามโมเมนตัมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐก็หดตัวลง ขณะที่การลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวต่ำกว่าคาด เนื่องจากการใช้จ่ายและลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโควิดนั้นลดลงอย่างมาก ด้านปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาส […]

ตรุษจีนปีนี้คนกรุงใช้จ่าย 1.2 หมื่นล้าน ลูกหลานทำใจ! รับอั่งเปาซองแดงลดลง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเม็ดเงินใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีนของคนกรุงเทพฯในปี 66 จะอยู่ที่ 12,330 ล้านบาท หรือขยายตัว 5.0% เมื่อเทียบกับตรุษจีนปีก่อน ซึ่งเป็นการกลับมาขยายตัวได้อีกครั้งในรอบ 3 ปี เป็นผลจากราคาสินค้าที่น่าจะปรับสูงขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้คนยังระมัดระวังการใช้จ่าย โดยสำรองเงินซื้อเครื่องเซ่นไหว้เพิ่มขึ้น แต่ปรับลดการแจกอั่งเปาลง ขณะที่จำนวนคนกรุงเทพฯ ที่เข้าร่วมกิจกรรมช่วงตรุษจีนอาจเพิ่มขึ้นราว 1.5% จากปีก่อน โดยเฉพาะการกลับมาทำกิจกรรมท่องเที่ยว/ ทำบุญ/ทานข้าวนอกบ้านมากขึ้น โดยมีแรงหนุนจากโควิด-19 ที่ผ่อนคลายและมาตรการช้อปดีมีคืน อย่างไรก็ตาม หลังหมดเทศกาลตรุษจีน คาดว่าคนกรุงเทพฯจะกลับมาวางแผนใช้จ่ายอย่างรัดกุมมากขึ้น ท่ามกลางค่าครองชีพที่ยังสูง […]

ศูนย์กสิกรฯชี้พิษ‘ของแพง’ กดดัชนีการครองชีพครัวเรือนวูบ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานดัชนีภาวะเศรษฐกิจ และการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI )ในเดือนมิ.ย. 2565 ว่า ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์โดยดัชนีปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 30.8 และ 32.9 จาก 31.2 และ 34.0 แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อรายได้และการจ้างงาน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 แต่ความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น ยังคงกดดันดัชนีให้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ศูนย์ฯ มองว่าภาวะการครองชีพของครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานจะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดในหลายด้าน แต่ระดับราคาสินค้าจำเป็นและบริการพื้นฐานที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น […]

ศูนย์วิจัยกสิกรเตือนปรับตัว รับวิกฤตอาหารแพงถึงปลางปี 66

น.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยในงานแถลงข่าว หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทย ฟื้นฝ่าเงินเฟ้อ? ว่า วิกฤตความมั่นคงทางอาหารที่อาจเข้ามาทำให้เกิดเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ดันราคาอาหารไทยเร่งตัวสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี โดย 5 เดือนแรกปี 2565 ดัชนีราคาอาหารโลกปรับขึ้นเฉลี่ย 25% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 28% ในปี 2564 จากปัจจัยรอบด้าน อาทิ ปัญหาการระบาดของโควิดหลายละลอกกระทบการผลิต ความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังโควิดเริ่มคลี่คลาย […]

ครัวเรือนกังวลค่าครองชีพสูง วอนรัฐตรึงราคาสินค้า-ขอคนละครึ่งเฟส 5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลให้ระดับราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่งผลภาวะดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) มี.ค. 65 ปัจจุบันขยับลงอยู่ที่ 33.4 จาก 33.9 ในเดือนก.พ.65 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับต่ำที่ 36.1 จาก 36.0 ในเดือนก.พ. 65 แม้อัตราการเลิกจ้างในเดือนมี.ค. 65 ปรับลดลงแต่การลดเวลาการทำงานล่วงเวลา (OT) และการชะลอรับพนักงานใหม่ยังปรับสูงขึ้น เมื่อสอบถามครัวเรือนถึงมาตรการภาครัฐว่าควรออกมาในรูปแบบใดพบว่า ส่วนมาก อยากให้ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น (39.2%) ขณะที่ 23.9% อยากให้ต่อมาตรการคนละครึ่งระยะที่ […]

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ประชุม กนง. 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าประชุม กนง. วันที่ 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย กนง. คงจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน สินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปีนี้ อยู่ที่ 4.5% ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/feature/2354554

ศึกรัสเซีย-ยูเครนป่วน ภาคผลิตไทยสูญ8หมื่นล.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์“วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน กระทบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย 8 หมื่นล้านบาท” ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ที่ส่วนใหญ่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบต้นน้ำหรือราคามักจะเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก เมื่อสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่คงจะอยู่ตลอดปี ผลักดันให้ราคาวัตถุดิบตลาดโลกมีแนวโน้มยืนระดับสูงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี 2565 จึงกระทบต้นทุนการผลิต โดยแต่ละธุรกิจจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อต้นทุนรวมและความสามารถในการปรับตัว ซึ่งผู้ผลิตอาหาร รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ ที่มา: https://www.naewna.com/business/644234

ค่าเงินบาทอ่อน รอบกว่า2เดือน ‘กสิกร’ชี้ปัจจัย ภายนอกกดดัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ค่าเงินบาทในวันศุกร์ที่ 25 มี.ค. 2565 ปิดตลาดที่ 33.55 บาทต่อดอลลาร์ (หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนครั้งใหม่ที่ 33.72) เทียบกับระดับ 33.33 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (18 มี.ค.) ซึ่งเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า แตะระดับอ่อนค่าสุดรอบกว่า 2 เดือนก่อนจะฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วนปลายสัปดาห์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสอดคล้องกับสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติประกอบกับสงครามยูเครน-รัสเซีย มีสัญญาณตึงเครียดมากขึ้น อย่างไรก็ดี กรอบการอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มจำกัดลงช่วงปลายสัปดาห์ หลังมีแรงขายเงินดอลลาร์ ซึ่งน่าจะมาจากผู้ส่งออก ที่มา : […]

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ Food Delivery สัญญาณชะลอตัว หลังกำลังซื้อลด-ต้นทุนเพิ่ม-แข่งขันสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ดัชนีชี้วัดปริมาณการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงครึ่งแรกปี 2565 อาจจะให้ภาพที่ไม่เร่งตัวเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2564 เท่าใดนัก แต่คงจะขยายตัวได้ราว 19% จากปัจจัยเรื่องฐานที่ต่ำในช่วงปีก่อน โดยในช่วงต้นปี 2565 เริ่มปรากฏสัญญาณที่สะท้อนถึงการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านความถี่ ราคา และประเภทอาหารที่สั่ง ซึ่งหากมองต่อไปในช่วงข้างหน้า ซึ่งมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้ามาเพิ่มเติม ทำให้ไม่เพียงแต่ต้นทุนธุรกิจจะขยับสูงขึ้นโดยที่การปรับราคาอาหารคงทำได้จำกัด แรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้บริการ และยอดคำสั่งซื้อของผู้บริโภค ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2022/185045

กสิกรฯ คาดใช้จ่ายอาหาร-เครื่องดื่มปี 65 โต 1.9-2.7% แตะ 2.5 ล้านลบ. ต้นทุนดันราคาสูงขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มในประเทศปี 2565 อาจอยู่ที่ระดับ 2.57-2.59 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว 1.9-2.7% เทียบกับปี 2564 ที่ขยายตัว 2.5% โดยปัจจัยหนุน ยังคงมาจากระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นราว 3.1%YoY ตามต้นทุนการผลิตที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูง จากความไม่สงบในยูเครน ที่ซ้ำเติมปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลก โดยกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตของระดับราคาสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มาก ได้แก่ น้ำมันพืช เนื้อสัตว์และเครื่องดื่ม (ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์) ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2022/184155