หนี้สาธารณะ70% ไม่สะเทือนการคลัง จับตารัฐขยายฐานภาษี-เพิ่มรายได้

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุ สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนนำมาสู่การขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี จะไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น โดยรัฐบาลยังสามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ โดย ณ เดือน ก.ค. 2564 สัดส่วนหนี้ในประเทศอยู่ที่ 98.2% ของหนี้สาธารณะรวม ทำให้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศในหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ใน 3-5 ปีข้างหน้า ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารหนี้สาธารณะให้กลับมายั่งยืน นั่นหมายถึงการขาดดุลการคลังต้องลดลงจนเข้าสู่สมดุลในที่สุด ทั้งนี้ ท่ามกลางรายจ่ายงบประมาณที่ปรับลดได้อย่างจำกัด ดังนั้น รัฐจึงต้องมีความสามารถในการจัดหารายได้ โดยเฉพาะภาษีที่อาจจะต้องหาฐานภาษีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเพื่อให้พอต่อการลดการขาดดุลการคลัง ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/296881/

กสิกรไทย คาดนทท.ต่างชาติมาไทย ทั้งปีเหลือแค่ 1.5 แสนคน เหตุเดลต้าลามหนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 64 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้ Special Tourist Visa (STV) เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนก.ค.ที่ผ่านมา การเปิดโครงการภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ ก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าท่องเที่ยวสูงเกิน 1 หมื่นคน ในรอบ 10 เดือนหลังจากที่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอนสูงซึ่งรวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการกลายพันธุ์ จะมีผลกระทบต่างๆ ตามมาต่อแผนการผ่อนคลายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงจากความตึงเครียดทางการเมืองเพิ่มเติมเข้ามาส่งผลให้ทั้งปี 64 อาจจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวน […]

‘ศูนย์วิจัยกสิกรไทย’หั่นจีดีพี’64ติดลบ0.5% คาดไตรมาสสามทรุดหนัก

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2564 ที่ขยายตัว 7.5% เมื่อเทียบปีก่อน เนื่องจากการส่งออกที่เร่งขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการส่งออกสินค้าในไตรมาส 2/2564 ขยายตัวที่ 36.2% ในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯ สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ในครึ่งปีแรกของปี 2564 เศรษฐกิจไทยขยายตัวที่ 2.0% แต่หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าจะขยายตัวเพียง 0.4% ผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้คาดว่าอัตราการขยายตัวของจีดีพีในไตรมาส 3/2564 จะหดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าติดลบ -3.5% และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าติดลบ -4.9% สำหรับผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในปีนี้อาจลดลงอยู่ที่ 1.5 […]

โควิด-19 พ่นพิษร้านอาหารเจ๊ง 7 หมื่นล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าจากการกลับมาระบาดของโควิด-19 ในประเทศโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จึงได้ปรับลดประมาณการมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2564 โดยประเมินทิศทางไว้ 2 กรณี ดังนี้  1.ควบคุมได้เร็ว ธุรกิจกลับมาเปิดได้ตามปกติ ส่งผลให้เกิดการฟื้นตัวของธุรกิจ คาดว่ามูลค่าจะหายไป 5.5 หมื่นล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน เหลือเพียง 3.50 แสนล้านบาท (-13.5%) 2.กรณีเลวร้าย การระบาดยาวนานกว่า 30 วันและมีการการมาตรการควบคุมอยู่ คาดว่ามูลค่าในปี 2564 จะหายไป 7.0 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน หรือเหลือเพียง […]

โควิดทำคนไทยไร้สุขไม่ใช้จ่าย ดัชนีเชื่อมั่นต่ำสุด-หนี้ครัวเรือนจ่อพุ่ง 90% จีดีพี

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค.64 ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หรือต่ำสุดในรอบ 22 ปี 8 เดือน คนไม่มีเงินจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้ความอยากซื้อรถใหม่ บ้านใหม่ลดวูบ ขณะที่ดัชนีความสุขคนไทยเดือน พ.ค. ต่ำสุดเช่นกัน หลังกังวลโควิด-19 รอบ 3-การเมือง-วัคซีนล่าช้า ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย กังวลคนจมหนี้ใช้รายได้เกิน 50% ผ่อนต้น-ดอก ฟันธง “หนี้ครัวเรือน” ปีนี้พุ่งแตะ 90% จีดีพี ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2113047

เศรษฐกิจไทยยังหดตัวต่อเนื่องไตรมาสที่ 5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินศรษฐกิจไทยไตรมาส 1/64 หดตัวที่ -2.6% น้อยกว่าที่คาด -3.3% ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก โดยการส่งออกเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก แต่การที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ยังคงส่งผลกระทบต่อการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวอย่างมาก ทั้งนี้ได้ประมาณการเศรษฐกิจปี 64 ที่ 1.8% จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางอัตราการฉีดวัคซีนที่ยังอยู่ในระดับต่ำซึ่งกระทบต่อความเชื่อมั่นและพฤติกรรมของผู้บริโภค ทั้งนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ราคาสินค้าพุ่งสูง ทำให้เงินเฟ้อไทยเพิ่มงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจะทำให้ค่าครองชีพของครัวเรือนเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่มา: https://www.posttoday.com/finance-stock/news/653682

ครัวเรือนกำลังซื้อเปราะบาง วอนรัฐอัดมาตรการเพิ่มอีก ที่ออกมาไม่ครอบคลุมเท่าปี 63

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนเม.ย. ส่งผลกระทบให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน ปรับตัวลดลงมากอยู่ที่ 37.0 จาก 40.4 ในเดือนมี.ค. เมื่อพิจารณาดัชนีใน 3 เดือนข้างหน้าพบว่าปรับตัวลดลงอยู่ที่ 39.4 จาก 41.5 ในเดือนมี.ค. ซึ่งมองว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญกับความเสี่ยงจากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว ดังนั้นกำลังซื้อถูกกระทบอย่างมากจากรายได้ที่ลดลง แม้ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือแต่ขนาดไม่เท่ากับการเยียวยาในรอบก่อน (เม.ย.-พ.ค.63) นอกจากการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนแล้ว ควรมีมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อประคับประคองภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจออกมาเพิ่มเติม ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2718377

โควิดถล่มธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม มูลค่าการใช้จ่ายหดตัวลง 2.5%

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดได้ ระบุว่า โควิด-19 ระลอก 3 จะฉุดรั้งมูลค่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มปีนี้ และส่งผลให้ผู้ประกอบการยังคงเผชิญกับความยากลำบาก หากสถานการณ์เลวร้ายการระบาดลากยาวมากกว่า 3 เดือน มูลค่าใช้จ่ายในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ 2.41 ล้านล้านบาท หดตัวลง 2.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีมูลค่า 2.47 ล้านล้านบาท ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/2078295?utm_source=PANORAMA_TOPIC