‘ฟู้ดเดลิเวอรี’ปีนี้ส่อโต 7.9 หมื่นล.

นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ผู้อํานวยการฝ่ายการตลาดและพันธมิตรทางธุรกิจ แกร็บ ประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย อันเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยคาดว่าในปี 2565 นี้ ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรีจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 7.9 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ผู้ประกอบการร้านอาหารก็หันมาใช้ช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรีมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเห็นได้จากจำนวนพาร์ทเนอร์ร้านอาหารของแกร็บฟู้ดที่มีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 800% (เปรียบเทียบจากช่วงสิ้นปี 2562 จนถึงปี 2564) จนมีจำนวนมากกว่า 200,000 ร้านในปัจจุบัน ที่มา: https://www.naewna.com/business/648201

“สุริยะ” เร่งช่วยเอสเอ็มอีฝ่าวิกฤติโควิด-19 ส่งดีพร้อมเปย์ปล่อยกู้-เสริมทักษะแก้หนี้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(ดีพร้อม) ได้จัดทำโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางธุรกิจจากวิกฤติโควิด-19 ผ่านนโยบาย ดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) เพื่อเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ ด้วยสินเชื่อระยะสั้น ดีพร้อมเปย์ (DIPROM Pay) ที่จะให้กู้รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยก้าวหน้าคงที่กำหนดชำระไม่เกิน 3 ปี คาดช่วยให้กิจการได้ไปต่อรวม 30 กิจการ และโครงการแก้หนี้เอสเอ็มอีด้วยดีพร้อมปลอดหนี้ (DIPROM Financial Literacy) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินให้กับผู้ประกอบการได้จำนวน 1,221 […]

ทีมวิจัยกสิกรฯ ผวาเศรษฐกิจ ทั่วโลกถดถอย รับพิษสงคราม

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในการสัมมนาในหัวข้อ “เศรษฐกิจชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อสูง (Stagflation) ในภาวะสงคราม” ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังถอยหลัง โดยได้รับผลกระทบจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 แล้วซ้ำเติมด้วยสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดภาวะชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อสูง (Stagflation) หมายถึง ของแพงขึ้น ขณะที่รายได้ลดลง อีกทั้งมาตรการการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะทำให้สินค้าขาดแคลนจากตลาดโลกไปอีก สำหรับไทยที่มีความหวังต่อภาคการท่องเที่ยวว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น มาตรการคว่ำบาตรจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยแน่นอนเพราะ 70% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงนี้มาจากยุโรป ที่มา: https://www.naewna.com/business/643496

ยอดขายรถยนต์เดือนม.ค.65 เพิ่มสูง 25.8%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2565 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,365 คัน เพิ่มขึ้น 45.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 46,090 คัน เพิ่มขึ้น 17.9% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ […]

รัฐบาลคาดโควิดไม่สะเทือนเศรษฐกิจปี 65 โต 4%

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยยังไม่มีจุดสิ้นสุด แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเริ่มอยู่ในวงจำกัดจากผลของมาตรการด้านสาธารณสุขและการเร่งกระจายวัคซีนที่มีความครอบคลุมมากขึ้นบวกกับผลของมาตรการทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ 1.2% ต่อปี กลับมาขยายตัวเป็นบวกหลังจากหดตัวที่ -6.1% ในปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ฟื้นตัวได้ดีจากการส่งออกสินค้า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ 4.0% ต่อปี สูงกว่าก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี […]

โควิดทำ “หนี้ครัวเรือน” เพิ่ม อันดับหนึ่งคือหนี้บ้าน และการเสริมสภาพคล่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ไตรมาส 3/64 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นราว 4.2% (YoY) ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 5.1% (YoY) ในไตรมาส 2/64 โดยลักษณะการก่อหนี้ของครัวเรือนในไตรมาส 3/64 แตกต่างจากช่วงไตรมาสก่อนๆ ตรงที่มีสัญญาณของการก่อหนี้เพิ่มเพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยับขึ้นของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพตามลำดับ ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 65 ไว้ที่กรอบ 90-92% ต่อ GDP […]

ส่งออกชายแดนโต 1.2 หมื่นล้าน แม้กระทบโควิด

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และคณะลงพื้นที่จ.หนองคาย เพื่อร่วมประชุมประเด็นปัญหาการส่งออก-การนำเข้าสินค้าเกษตรผ่านจ.หนองคาย พบว่ามูลค่าการค้าระหว่างประเทศไทยและสปป. ลาว รวมทั้งการนำเข้า-ส่งออกในปีงบประมาณ 64 มีมูลค่าถึง 70,000 ล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้าจากการส่งออกที่มากกว่าการนำเข้าถึง 6 เท่า ถึงแม้ว่าสถานการณ์ Covid-19 จะส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ แต่การค้าชายแดน ณ ด่านศุลกากรหนองคาย พบว่า การส่งออกสินค้ามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นกว่า 23% โดยเพิ่มขึ้นกว่า 12,000 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/981608

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803

ผู้ประกอบการสภาพคล่องตึงตัว แบกภาระต้นทุนสูงอุปสรรคการทำธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือนธันวาคม 2564 ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 49.0 ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีฯของภาคการผลิตใกล้เคียงเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีฯ ของภาคที่มิใช่การผลิตปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ได้รับผลดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค แม้โดยรวมดัชนีฯ จะปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron กดดันให้ดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ เช่น ดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการที่ปรับดีขึ้น แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่องตึงตัว ขณะที่ข้อจำกัดด้านต้นทุนสูงยังเป็นอุปสรรคอันดับแรกสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่มา : […]

ผลกระทบโควิด ฉุดยอดการใช้น้ำมันรอบ 11 เดือนปี 64 ลดลง4.6%

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยถึงภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 11 เดือนของปี 2564 (ม.ค.-พ.ย.) ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 4.6 โดยการใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ลดลงร้อยละ 39.9 กลุ่มเบนซินลดลงร้อยละ 9.3 กลุ่มดีเซลลดลงร้อยละ 5.0 น้ำมันก๊าดลดลงร้อยละ 6.2 อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำมันเตาเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 LPG เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 สำหรับการใช้ NGV ลดลงร้อยละ […]