ศูนย์กสิกรฯชี้พิษ‘ของแพง’ กดดัชนีการครองชีพครัวเรือนวูบ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานดัชนีภาวะเศรษฐกิจ และการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI )ในเดือนมิ.ย. 2565 ว่า ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์โดยดัชนีปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 30.8 และ 32.9 จาก 31.2 และ 34.0 แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อรายได้และการจ้างงาน หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 แต่ความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น ยังคงกดดันดัชนีให้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 14 ปี ทั้งนี้ศูนย์ฯ มองว่าภาวะการครองชีพของครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง แม้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงานจะเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น หลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดในหลายด้าน แต่ระดับราคาสินค้าจำเป็นและบริการพื้นฐานที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น […]

ครัวเรือนกังวลค่าครองชีพสูง วอนรัฐตรึงราคาสินค้า-ขอคนละครึ่งเฟส 5

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลให้ระดับราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทั้งสองประเทศเป็นผู้ผลิตและส่งออกอยู่ในระดับสูง ส่งผลภาวะดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) มี.ค. 65 ปัจจุบันขยับลงอยู่ที่ 33.4 จาก 33.9 ในเดือนก.พ.65 ขณะที่ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนใน 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับต่ำที่ 36.1 จาก 36.0 ในเดือนก.พ. 65 แม้อัตราการเลิกจ้างในเดือนมี.ค. 65 ปรับลดลงแต่การลดเวลาการทำงานล่วงเวลา (OT) และการชะลอรับพนักงานใหม่ยังปรับสูงขึ้น เมื่อสอบถามครัวเรือนถึงมาตรการภาครัฐว่าควรออกมาในรูปแบบใดพบว่า ส่วนมาก อยากให้ตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น (39.2%) ขณะที่ 23.9% อยากให้ต่อมาตรการคนละครึ่งระยะที่ […]

กลุ้มใจเหลือเกิน ค่าครองชีพที่ลด 3 เดือนติด สวนทางราคาสินค้าพุ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในเดือนธ.ค.64 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของราคาอาหารและเครื่องดื่ม กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพ.ย. ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงมีความเปราะบาง มาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจเพิ่มเติมในปี 2564 ที่ผ่านมาครัวเรือนได้มีการทำอาชีพเสริม/มีอาชีพที่สองเพิ่มขึ้น (28%) โดยส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน์ ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความสนใจที่จะทำแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ บ่งชี้ว่าโควิด-19 ยังคงกระทบตลาดแรงงานต่อเนื่อง และในอนาคตอาจเห็นแนวโน้มการทำอาชีพเสริมมากขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/673102

ประชาชนกังวล ปัญหาค่าครองชีพ ฉุดความเชื่อมั่น หัวทิ่ม3เดือนติด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2564 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพฤศจิกายน (ผลสำรวจจัดทำปลายเดือนธันวาคม 2564 ยังไม่รวมผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว) จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการทำงานว่าในปี 2564 ระบุว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มทำอาชีพเสริมกันเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน ที่มา : https://www.naewna.com/business/628261

ครัวเรือนกำลังซื้อเปราะบาง วอนรัฐอัดมาตรการเพิ่มอีก ที่ออกมาไม่ครอบคลุมเท่าปี 63

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผย การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเดือนเม.ย. ส่งผลกระทบให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน ปรับตัวลดลงมากอยู่ที่ 37.0 จาก 40.4 ในเดือนมี.ค. เมื่อพิจารณาดัชนีใน 3 เดือนข้างหน้าพบว่าปรับตัวลดลงอยู่ที่ 39.4 จาก 41.5 ในเดือนมี.ค. ซึ่งมองว่าดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญกับความเสี่ยงจากตลาดแรงงานยังไม่ฟื้นตัวโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว ดังนั้นกำลังซื้อถูกกระทบอย่างมากจากรายได้ที่ลดลง แม้ภาครัฐจะมีมาตรการช่วยเหลือแต่ขนาดไม่เท่ากับการเยียวยาในรอบก่อน (เม.ย.-พ.ค.63) นอกจากการเร่งจัดหาและฉีดวัคซีนแล้ว ควรมีมาตรการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเพื่อประคับประคองภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจออกมาเพิ่มเติม ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2718377