เฟดขึ้นดอกเบี้ย จับตา 3 ปัจจัยธปท.ขยับนโยบายการเงิน

ดร.เชาว์ เก่งชน  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% และจะปรับขึ้นอีก 6 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.75-2% โดยต้องติดตามธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร โดยมี 3 ปัจจัยต้องติดตาม คือ 1.ขึ้นอยู่กับเฟดจะปรับดอกเบี้ยมากขึ้นหรือเร็วขึ้นหรือไม่ 2.เงินเฟ้อไทยจะสูงยาวไปจนถึงครึ่งปีหลังปีนี้หรือไม่ และ 3.จะมีเงินไหลออกประเทศมีผลต่อเงินบาทให้อ่อนค่าหรือผันผวนหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้ […]

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดผลกระทบรัสเซีย-ยูเครน ดันต้นทุนวัตถุดิบอาหารในไทยสูงขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายเดือนก.พ. 65 และมีแนวโน้มอาจจะยืดเยื้อออกไปอีก ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกให้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะข้าวสาลีที่มีอัตราการขยายตัวของราคาพุ่งสูงอย่างมากสอดคล้องไปตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งบทบาทของรัสเซียและยูเครนที่เป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก ซึ่งรวมครองสัดส่วนการส่งออกข้าวสาลีราว 28.5% ของปริมาณการส่งออกข้าวสาลีโลก จึงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอย่างมีนัยสำคัญ ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2022/182886

“หนี้ครัวเรือน” แตะ 15 ล้านล้าน รัฐเร่งสกัด-หวั่นฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย

กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัยศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าในปีนี้ คาดว่าหนี้ครัวเรือนไทยจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และมีโอกาสสูงกว่า 15 ล้านล้านบาท ส่วนในแง่สัดส่วนต่อ GDP หากปีนี้ GDP ออกมาขยายตัวสูงกว่าปี 2564 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนก็อาจจะต่ำกว่า 90-92% ที่เคยประเมินไว้ อย่างไรก็ดี แนวโน้มสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกดดันค่าใช้จ่ายหรือการบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะในครัวเรือนที่มีภาระหนี้อยู่แล้วในระดับสูง รายได้ค่อนข้างต่ำ และหากดูผลต่อเศรษฐกิจหนี้ที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้การเติบโตของการบริโภคโดยรวมเหมือนมีข้อจำกัด ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3199826

กสิกรฯฟันธงบอร์ดกนง. คงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม0.50%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 ก.พ. 2565นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโอมิครอนในระดับหนึ่ง แต่คาดว่าผลกระทบจะมีจำกัดและน้อยกว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ก่อนหน้า นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยด้านอุปทานที่ตึงตัวเป็นหลัก ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างตรงจุดเท่าใดนัก คาดว่าจะยังไม่พิเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ที่มา: https://www.naewna.com/business/633909

‘กสิกร’จับตาศก.จีน ไตรมาส 4 โตต่ำสุดในรอบปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “เศรษฐกิจจีนไตรมาส 4/2564 ขยายตัวต่ำสุดในรอบปีที่ 4.0 %(YoY) มองทั้งปี 2565 โต 5.0%”โดยระบุว่า เศรษฐกิจจีนทั้งปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบปีต่อปี(YoY) สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.0 (YoY) โดยในไตรมาส 4/2564 เศรษฐกิจเติบโตที่ 4.0 (YoY) นับเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในรอบปี โดยการชะลอตัวในไตรมาสที่ 4 นี้เป็นผลจากการเผชิญกับประเด็นหนี้และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ […]

กลุ้มใจเหลือเกิน ค่าครองชีพที่ลด 3 เดือนติด สวนทางราคาสินค้าพุ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในเดือนธ.ค.64 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของราคาอาหารและเครื่องดื่ม กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพ.ย. ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงมีความเปราะบาง มาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจเพิ่มเติมในปี 2564 ที่ผ่านมาครัวเรือนได้มีการทำอาชีพเสริม/มีอาชีพที่สองเพิ่มขึ้น (28%) โดยส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน์ ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความสนใจที่จะทำแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ บ่งชี้ว่าโควิด-19 ยังคงกระทบตลาดแรงงานต่อเนื่อง และในอนาคตอาจเห็นแนวโน้มการทำอาชีพเสริมมากขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/673102

ประชาชนกังวล ปัญหาค่าครองชีพ ฉุดความเชื่อมั่น หัวทิ่ม3เดือนติด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2564 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพฤศจิกายน (ผลสำรวจจัดทำปลายเดือนธันวาคม 2564 ยังไม่รวมผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว) จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการทำงานว่าในปี 2564 ระบุว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มทำอาชีพเสริมกันเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน ที่มา : https://www.naewna.com/business/628261

โควิดทำ “หนี้ครัวเรือน” เพิ่ม อันดับหนึ่งคือหนี้บ้าน และการเสริมสภาพคล่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ไตรมาส 3/64 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นราว 4.2% (YoY) ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 5.1% (YoY) ในไตรมาส 2/64 โดยลักษณะการก่อหนี้ของครัวเรือนในไตรมาส 3/64 แตกต่างจากช่วงไตรมาสก่อนๆ ตรงที่มีสัญญาณของการก่อหนี้เพิ่มเพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยับขึ้นของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพตามลำดับ ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 65 ไว้ที่กรอบ 90-92% ต่อ GDP […]

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803

ธุรกิจแบงก์ปีหน้า ผจญความเสี่ยง กสิกรไทยฟันธง กำไร1.86แสนล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 กลับมาอีกครั้งในช่วงรอยต่อระหว่างปี 2564 เข้าสู่ปี 2565 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังมีนัยต่อเนื่องมายังการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์(ธพ.)ในปี 2565 หากสามารถควบคุมการระบาดของโอมิครอนได้ดีและทันท่วงที ธนาคารพาณิชย์ก็จะยังคงมีเวลาพลิกฟื้นรายได้จากธุรกิจหลักและผลการดำเนินงานในภาพรวมกลับมาได้ แต่ระดับกำไรสุทธิ และความสามารถในการทำกำไร จะฟื้นตัวในกรอบจำกัด และจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับในช่วงก่อนโควิด โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธ.พ. ไทย) ในปี 2565 จะอยู่ที่ราว 1.86 แสนล้านบาทในปี 2565 ต่ำกว่าระดับกำไรสุทธิเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดที่ทำได้สูงกว่า 2.00 แสนล้านบาทต่อปี ที่มา: https://www.naewna.com/business/624222