นักวิเคราะห์คาด เงินเฟ้อไทยอาจพุ่งแตะ 10% จับตาแบงก์ชาติต้องใช้ยาแรง

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิ.ย.2565 ที่เพิ่มขึ้น 7.66% ไม่เกินความคาดหมายของตลาด แต่ที่แปลกใจอาจจะเป็นเรื่องราคาอาหารที่ปรับลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี การที่เงินเฟ้อพื้นฐานของไทยปรับตัวสูงขึ้นสะท้อนว่าเงินเฟ้ออาจเริ่มมีการกระจายตัวมาในฝั่งอุปสงค์ ทั้งยังมองว่าหากตัวเลขเงินเฟ้อในไตรมาส 3 พุ่งไปแตะเลข 2 หลัก จะสร้างแรงกดดันให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องออกนโยบายการเงินเข้มข้นขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งในการประชุมที่เหลือในปีนี้ และมีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยนโยบายปลายปีนี้จะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1.25% ด้าน นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb […]

จับตา‘ค่าบาท’แตะ37 หาก‘เฟด’ขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวถึง ความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจไทยที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจการเงินแบบปี 2540 ในขณะนี้ ว่า มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ แม้จะมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง 2 ปีต่อเนื่องก็ตาม แต่เมื่อไทยเริ่มเปิดประเทศ ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงเรื่อยๆ และน่าจะกลายมาเป็นบวกได้ในช่วงปลายปีและราคาน้ำมันน่าจะปรับตัวลดลงในช่วงต้นปีหน้า ขณะที่การส่งออกยังขยายตัวดีแต่อาจโตไม่ถึง 6% แต่วิกฤตอาหารโลก กลายเป็นโอกาสของสินค้าเกษตรส่งออก ส่วนหนี้สินต่างประเทศอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 ซึ่งหนี้ต่างประเทศอยู่ในระดับสูงกว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่ต้องจับตาว่า หากสภาพคล่องในระบบการเงินโลกลดลงมาก หนี้ระยะสั้นต่างประเทศของไทยอาจถูกเรียกคืนและสร้างแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงอีกได้ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า และหากธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก […]

ธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างยืดหยุ่น

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายในงานประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 65 เพื่อชี้แจงสถานการณ์เศรษฐกิจ และส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินว่า โจทย์ใหญ่ขณะนี้คือ การปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ ในขนาด และเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จนกระทบต้นทุนผลิต และการใช้จ่ายประชาชน สำหรับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อขณะนี้ยังอยู่ในส่วนของต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น หรือฝั่งอุปทาน มากกว่าฝั่งการใช้จ่ายที่สูงหรือเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป ธปท.จึงต้องดูแลแรงกดดันเงินเฟ้อไม่ให้เกิดในด้านอุปสงค์ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2430612

‘ธปท.’ แย้ม ‘กนง.’ จ่อขึ้นดอกเบี้ย ชี้ศก.ได้พระเอกใหม่หนุนเติบโตต่อ

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2565 และปี 2566 พระเอกในการช่วยขับเคลื่อนไปต่อคือ การบริโภคของภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว ตามการบริโภคภาคเอกชนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนภาคการส่งออกก็ยังสามารถขยายตัวได้ แต่ชอาจชะลอลงจากปัญหาเงินเฟ้อ และสงครามรัสเซียและยูเครน โดยธปท.ประเมินว่า ส่งออกปี 2565 จะขยายตัว 7.9% แต่ปี 2566 จะขยายตัวลดลงเหลือ 2.1% ตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของหลายประเทศ นโยบายทางการเงิน […]

กนง.คงดอกเบี้ยไว้ที่ 0.50% ต่อปี แต่อีก 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้น

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. กล่าวว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 4 ต่อ 3 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดย 3 เสียงเห็นควรให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ จากอุปสงค์ในประเทศและแรงส่งจากการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้เดิม จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าคาด มองไปข้างหน้า การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลง […]

วิจัยกรุงศรีคาดแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจยังอ่อนแอ

วิจัยกรุงศรี ระบุถึงแนวโน้มการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 8 มิ.ย. โดยคาดการณ์ว่า กนง.จะไม่รีบปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อจะอยู่เหนือกรอบเป้าหมาย แต่ไม่ได้กระจายเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง โดยมีสัญญาณเล็กน้อยของแรงกดดันด้านราคาที่เพิ่มขึ้นในภาคบริการ เนื่องจากอุปสงค์ยังคงอ่อนแอท่ามกลางตลาดแรงงานที่ซบเซา และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเติบโตช้า โดยจีดีพีไตรมาสแรกเติบโตเพียง 2.2% ซึ่งอ่อนแอกว่าเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค และจากข้อมูลคาดการณ์ของ IMF พบว่าระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยตลอดทั้งปี 2565 จะยังคงต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการระบาดของโควิด 1.5% ในขณะที่ประเทศอื่นๆ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาสูงกว่าช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิดราว 1.6-13.4% ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3363571

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ประชุม กนง. 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าประชุม กนง. วันที่ 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย กนง. คงจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน สินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปีนี้ อยู่ที่ 4.5% ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/feature/2354554

เฟดขึ้นดอกเบี้ย จับตา 3 ปัจจัยธปท.ขยับนโยบายการเงิน

ดร.เชาว์ เก่งชน  ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% และจะปรับขึ้นอีก 6 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสหรัฐสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 1.75-2% โดยต้องติดตามธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่าจะดำเนินนโยบายการเงินอย่างไร โดยมี 3 ปัจจัยต้องติดตาม คือ 1.ขึ้นอยู่กับเฟดจะปรับดอกเบี้ยมากขึ้นหรือเร็วขึ้นหรือไม่ 2.เงินเฟ้อไทยจะสูงยาวไปจนถึงครึ่งปีหลังปีนี้หรือไม่ และ 3.จะมีเงินไหลออกประเทศมีผลต่อเงินบาทให้อ่อนค่าหรือผันผวนหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้ […]

กสิกรฯฟันธงบอร์ดกนง. คงดอกเบี้ยไว้ที่เดิม0.50%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 9 ก.พ. 2565นี้ กนง. จะพิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโอมิครอนในระดับหนึ่ง แต่คาดว่าผลกระทบจะมีจำกัดและน้อยกว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ก่อนหน้า นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ดี เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัยด้านอุปทานที่ตึงตัวเป็นหลัก ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้อย่างตรงจุดเท่าใดนัก คาดว่าจะยังไม่พิเลือกใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดกันเงินเฟ้อตามทิศทางธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลก ที่มา: https://www.naewna.com/business/633909

ศก.ไทยผ่านจุดต่ำสุด กนง.ประกาศคงดอกเบี้ย 0.50%

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปีโดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศ โดยเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และคาการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 3.9% จากการใช้จ่ายในประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ที่มา : https://www.naewna.com/business/614901