กสิกรฯ มองกรอบ SET สัปดาห์นี้ 1,600-1,665 จับตาประชุมเฟด-FLOW – วิกฤตยูเครน-ตัวเลขศก.-ศบค.

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดกรอบการเคบื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ (13-17 มิ.ย.65) มีแนวรับอยู่ที่ 1,620 และ 1,600 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,665 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (14-15 มิ.ย.) สถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงการประชุมศบค. ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก […]

พาณิชย์ไฟเขียว ให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์นำเข้าข้าวโพด 3.8 แสนตัน ภาษี 0%

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 นายรังษี ไผ่สอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม โดยมีนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพื่อหารือแนวทางแก้ไขปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้สามารถนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาได้ ภายใต้กรอบข้อตกลง WTO ในภาษี 0% จากปกติเก็บภาษีอยู่ที่ 20% ปริมาณที่ให้นำเข้าอยู่ที่ 380,000 ตัน โดยสามารถนำเข้าได้ 4 เดือน คือตั้งแต่ เดือนเม.ย.ถึงเดือนก.ค. 65 ซึ่งเป็นปริมาณความต้องการที่ยังคงขาดอยู่ […]

ธนาคารโลก หั่นจีดีพีไทยปี 65 โตเหลือ 2.9% อย่างแย่ 2.6% ชี้สงครามยูเครนกระทบราคาพลังงาน

ธนาคารโลก แถลงก่อนการเผยแพร่รายงาน ตามติดเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ฉบับเดือนเมษายน 2565 โดยปรับลดคาดการณ์การเติบโตของจีดีพี ปี 2565 นี้ลงเหลือ 2.9 เปอร์เซ็นต์ หรือแย่ที่สุดอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากเดิมที่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ ผลจากสงครามในยูเครนที่ส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ อยู่ที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์สูงกว่าที่คาดหมาย ขณะที่หนี้สาธารณะอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี คาดนักท่องเที่ยวเข้าไทยปีนี้ 6.2 ล้านคนช่วยการท่องเที่ยวกระเตื้อง ที่มา: https://www.matichon.co.th/foreign/news_3272296

ศึกรัสเซีย-ยูเครนป่วน ภาคผลิตไทยสูญ8หมื่นล.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์“วิกฤตรัสเซีย-ยูเครน กระทบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย 8 หมื่นล้านบาท” ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย ที่ส่วนใหญ่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบต้นน้ำหรือราคามักจะเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก เมื่อสงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่คงจะอยู่ตลอดปี ผลักดันให้ราคาวัตถุดิบตลาดโลกมีแนวโน้มยืนระดับสูงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปี 2565 จึงกระทบต้นทุนการผลิต โดยแต่ละธุรกิจจะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อต้นทุนรวมและความสามารถในการปรับตัว ซึ่งผู้ผลิตอาหาร รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ ที่มา: https://www.naewna.com/business/644234

ผู้ค้าดิ้นขอปรับขึ้นราคา รอดยากไทยเจอวิกฤติปุ๋ยเคมีขาดแคลน

นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดเผยว่า สมาคมเป็นห่วงว่าในฤดูกาลเพาะปลูกที่จะถึงในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ ไทยจะขาดแคลนปุ๋ยเคมีสำหรับเพาะปลูก เพราะขณะนี้สต๊อกปุ๋ยเคมีบางชนิดลดลง และอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผู้ค้าปุ๋ยเคมีบางรายได้ชะลอนำเข้า เพราะขาดทุน จากราคาปุ๋ยในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาในประเทศ รัฐบาลกลับให้ตรึงขายไว้ จนผู้ผลิตขาดทุน ประกอบกับสงครามดันราคาแม่ปุ๋ยพุ่งหนัก 100–200% และหาซื้อยาก หวั่นแข่งซื้อกับประเทศอื่นไม่ไหว เผยล่าสุด ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาแล้ว วอนพาณิชย์สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2352436

กระทรวงการคลังรับสภาพจ่อปรับลดจีดีพี

จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ขณะที่การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภค และการใช้จ่ายในประเทศไทยลดลงนั้น ทำให้กระทรวงการคลังจะต้องทบทวนการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% คาดว่าจะประกาศตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ในเดือน เม.ย.2565 ทั้งนี้ การปรับประมาณการทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของปี และเป็นไปตามรอบทุกๆเดือนจะมีการทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2352426

‘อนุสรณ์’ชี้ศึกยูเครนยืดเยื้อ 10มาตรการรับมือไม่เพียงพอ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกล่าวว่า มาตรการ 10 มาตรการช่วยประชาชนของรัฐบาลล่าสุดนั้นไม่เพียงพอ และครอบคลุมเวลา 3 เดือนนั้นสั้นเกินไป ซึ่งอย่างต่ำต้อง 6 เดือน เพราะคาดการณ์ว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อและผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งมาตรการส่วนใหญ่จะบรรเทาผลกระทบจากพลังงานและน้ำมันแพงเป็นหลัก โดยมุ่งไปที่กลุ่มคนรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มอเตอร์ไซค์รับจ้างและผู้ขับขี่แท็กซี่ แต่ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบอื่นๆ ดังนั้น ต้องเน้นไปที่มาตรการแก้ปัญหาเชิงระบบเช่นต้องดึงแรงงานนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมให้มากที่สุด ส่วนเรื่องพลังงานก็ต้องลงทุนพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานและน้ำมันนำเข้าลง ที่มา: https://www.naewna.com/business/644045

ทีมวิจัยกสิกรฯ ผวาเศรษฐกิจ ทั่วโลกถดถอย รับพิษสงคราม

นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวในการสัมมนาในหัวข้อ “เศรษฐกิจชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อสูง (Stagflation) ในภาวะสงคราม” ว่า เศรษฐกิจโลกกำลังถอยหลัง โดยได้รับผลกระทบจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 แล้วซ้ำเติมด้วยสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดภาวะชะลอตัวท่ามกลางเงินเฟ้อสูง (Stagflation) หมายถึง ของแพงขึ้น ขณะที่รายได้ลดลง อีกทั้งมาตรการการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจะทำให้สินค้าขาดแคลนจากตลาดโลกไปอีก สำหรับไทยที่มีความหวังต่อภาคการท่องเที่ยวว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นั้น มาตรการคว่ำบาตรจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวไทยแน่นอนเพราะ 70% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในช่วงนี้มาจากยุโรป ที่มา: https://www.naewna.com/business/643496

เงินบาท’ วันนี้เปิด’อ่อนค่า’ที่33.66บาทต่อดอลลาร์

“กรุงไทย” ชี้เงินบาทยังผันผวน กลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง หลังการเจรจารัสเซียกับยูเครนไม่คืบหน้า ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยอาจขาดดุลมากมากขึ้นและนานกว่าเดิม จับตาทิศทางฟันด์โฟลว์จากนักลงทุนต่างชาติ หลังจากที่ล่าสุด นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาทยอยกลับเข้ามาซื้อสุทธิหุ้นไทย ขณะเดียวกัน เราเริ่มเห็น แรงขายบอนด์ระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติที่ลดลงต่อเนื่อง ซึ่งต้องติดตามว่านักลงทุนต่างชาติ จะเดินหน้าเทขายต่อ หรือ จะกลับมาซื้อสุทธิบอนด์ระยะสั้นอย่างต่อเนื่องได้หรือไม่ มองกรอบเงินบาทวันนี้ที่ 33.55-33.75 บาทต่อดอลลาร์ ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/995412

เอกชนโอดพิษสงครามทำชิป – ชิ้นส่วนรถยนต์ขาดแคลนหนัก

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ เปิดเผยว่ายอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือนก.พ.65 อยู่ที่ 79,451 คัน ลดลง 13.77% จากเดือน ม.ค.65  เนื่องจากการชะลอผลิตรถยนต์นั่งบางรุ่น เป็นผลจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วน ทำให้การส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ทั้งนี้ ปัจจุบันยังคงเป้าการผลิตรถยนต์ปีนี้ไว้ที่ 1.8 ล้านคัน แต่ไม่แน่ใจว่าจะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนชิปหรือไม่ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ผลิตสินแร่ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชิปและแบตเตอรี่ ทำให้ราคาสูงขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า 50% ขอรอดูสถานการณ์อีก 1-2 เดือน ที่มา: https://www.thaipost.net/economy-news/110264/