หนี้สาธารณะแตะ 60.58% ครม.ยันไม่หลุดกรอบวินัยการคลัง

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) รายงานว่า ณวันที่ 31 มี.ค.2565 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) อยู่ที่ 60.58 ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 70 ส่วนสัดส่วนภาระหนี้ต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณร้อยละ 26.77 กรอบที่กำหนด ไม่เกินร้อยละ 35 จากเการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รัฐบาลจึงมีความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ปริมาณหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ระบบเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เป็นผลให้ช่วงเดือนมี.ค.นี้มีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย ที่มา: https://www.naewna.com/business/657084

คลังหัวหมุนหาช่องกู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้มอบหมาย ให้กระทรวงการคลังหารือถึงแนวทางการกู้เงินเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศนั้น จากการพิจารณา และการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 เบื้องต้น สามารถกู้เงินได้อีก 1.3 ล้านล้านบาท โดยพิจารณาขยายเพดานหนี้สาธารณะไปที่ 70% ของGDP แต่ไม่จำเป็นต้องกู้เต็มจำนวนโดยกู้ตามความจำเป็นในการใช้เงินจริงๆ ส่วนโครงการคนละครึ่งระยะที่ 5นั้น ขณะนี้ ได้เร่งพิจารณาและอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการใช้เงินกู้ที่เหลืออยู่ราว 50,000- 70,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินส่วนที่เหลือจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1.5 ล้านล้านบาทว่าสามารถนำมาใช้ได้หรือไม่ หากใช้ไม่ได้ […]

หนี้สาธารณะปกติ 60.17% ไม่สูง “สันติ” เต้นผางโต้ฐานะคลังยังดี-ไม่เสี่ยงล้มละลาย

นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้บริหารจัดการเงินการคลังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางวิกฤติโควิด พร้อมดูแลเยียวยาประชาชนทุกกลุ่มให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ผ่านมาตรการต่างๆ รวมทั้งการเยียวยาในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้นในทุกระดับ และขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการหาช่องทางการเพิ่มรายได้ใหม่ๆ เพื่อให้มีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย แต่การหารายได้ใหม่ๆ ถึงแม้จะมีช่องทาง แต่ต้องดูจังหวะเวลาที่เหมาะสม มีความยืดหยุ่น เช่น ภาษีหุ้นที่ยกเว้นการจัดเก็บมากว่า 30 ปี และอัตราจัดเก็บที่ไม่สูง ซึ่งเชื่อว่านักลงทุนยอมรับได้ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2371811

“อาคม”หวังปรับเพดานหนี้ ม.28 เหลือ 30% แนะลดวงเงินประกันรายได้ข้าว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าหลังจากการที่ขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะ ม.28 จากที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30% ชองงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพิ่มขึ้นเป็น 35% ซึ่งจะครบกำหนดสิ้นเดือนก.ย.65 จะสามารถปรับไปยังกรอบเดิมได้หรือไม่นั้น ต้องไปดูงบประมาณของปี 66 ทั้งนี้ด้านโครงการชดเชยรายได้เกษตรกร เช่น โครงการประกันรายได้ข้าวนั้น กระทรวงการคลังอยากให้มีการนำไปตั้งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำ แต่อาจมีข้อจำกัดว่าในการตั้งงบประมาณจะต้องมีรายละเอียด และความชัดเจนในการจ่ายชดเชยให้เกษตร ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-912145

ธุรกิจท่องเที่ยวคึกคัก นักวิชาการชี้อานิสงส์เปิดประเทศ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ม.รังสิตเปิดเผยว่า เศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวกระเตื้องขึ้นหลังสงกรานต์เงินสะพัดมากกว่าที่หลายสำนักวิจัยคาดการณ์ สะท้อนความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้น ขณะที่การขยายเพดานเงินกู้เป็น 70% ต่อจีดีพี มีความจำเป็น เพราะในความจริง เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพมาหลายปีแล้ว และยังต้องกู้เงินมาชดเชยงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี อย่างไรก็ตาม ยังมีความน่าเป็นห่วงว่าความเสี่ยงของการที่ไทยจะถูกลดอันดับเครดิตหรือความน่าเชื่อถือนั้น มีความเป็นไปได้ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า หากหนี้สาธารณะทะลุระดับ 70% ของจีดีพีและระบบเศรษฐกิจไม่สามารถหารายได้มากพอที่ทำให้การชำระหนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รวมทั้งไม่สามารถเพิ่มรายได้การจัดเก็บภาษี อย่างไรก็ตาม ฐานะทางการคลังของไทยยังพอไปได้เพราะยังมีหนี้ต่างประเทศในระดับต่ำมาก ที่มา: https://www.naewna.com/business/647982

รัฐบาลแจงกู้เงิน1.5ล้านล้านบาท เพื่อสู้โควิดกู้เศรษฐกิจ

นายอาคม กล่าวว่า หนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 และ 2564 เนื่องจากเจอวิกฤตโควิด-19 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีล่าสุดเดือน ธ.ค. 2564 อยู่ที่ 59.57% เนื่องจากต้องออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ครั้ง จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท โดยมีการปรับเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% ต่อจีดีพี เป็น 70% ต่อจีดีพี ในปีที่ผ่านมา รองรับการกู้หนี้ที่เพิ่มมากขึ้น จากทั้งการกู้ชดเชยการขาดดุล ทั้งนี้ ความจำเป็นการกู้เงิน […]

ครม.อนุมัติงบ’66 ตั้ง‘ขาดดุล’6.95แสนล้าน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จำนวน 3.185 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2565 จำนวน 85,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.74 อีกทั้งรัฐบาลยังเดินหน้าจัดทำงบประมาณขาดดุล 695,000 ล้านบาท ลดลงจากปี 2565 จำนวน 5,000 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 0.71 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.89 ของจีดีพี โดยวงเงินงบประมาณรายจ่าย […]

เปิดคลังกระสุนสู้โควิด ‘เงินกู้-งบ’ต้องใช้คุ้มค่า

โควิด-19 มีแนวโน้มกลับมาแพร่ระบาด หากสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนส่งผลกระทบชัดเจน รัฐบาลอาจต้องปรับแผนให้สอดคล้องสถานการณ์ วงเงินที่จะใช้มาจาก 4 แหล่ง 1.เงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ.64 (เพิ่มเติม) วงเงิน 5 แสนล้านบาท คงเหลือ 2.7 แสนล้านบาท 2.เงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน พ.ศ.63 วงเงิน 1 ล้านล้านบาท คงเหลือ 1.2 หมื่นล้านบาท 3.งบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนปีงบประมาณ 65 วงเงิน 8.9 […]

ปี 64 กู้ 1.49 ล้านล้านบาท ไม่เกินกรอบวินัย แบกหนี้สาธารณะ 9.34 ล้านล้านบาท

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานสัดส่วนหนี้สาธารณะ และรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐและความเสี่ยงทางการคลัง ณ วันสิ้นปีงบประมาณ 2564 (30 ก.ย.2564) โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นจริง ณ 30 ก.ย.2564 ยังคงอยู่ภายใต้กรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) อยู่ที่ 58.15% ไม่เกินกรอบที่กำหนด 70% ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2254832

ระทึกค่าบาทสิ้นปีนี้ 32.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ “กสิกรไทย” ชี้ต่างชาติเทขายตราสารหนี้

 นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารยังประเมินค่าเงินบาทสิ้นปีนี้ไว้ที่ 32.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แม้ว่าปัจจุบันค่าเงินบาทจะอ่อนค่าทะลุ 33.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯไปแล้ว โดยค่าเงินบาทได้อ่อนค่ามากถึง 10.3% ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา เป็นผลจากการที่ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกิดการขาดดุลจากภาคการท่องเที่ยวที่หายไป และมีเงินไหลออกจากประเทศไปส่วนหนึ่ง ประกอบกับ การที่ขยายเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% ทำให้ต่างชาติมีการลดการถือครองตราสารหนี้ ซึ่งจะเห็นว่าต่างชาติเริ่มซื้อตราสารหนี้ลดลงจากเดิมที่ซื้อ 87,000 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าอีก ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2200633