หอการค้าไทยหนุนรัฐขยายเพดานหนี้สาธารณะ

หอการค้าไทย ชี้ ขยายเพดานหนี้สาธารณะไม่กระทบระบบการคลังในประเทศ เชื่อมั่น จ่ายหนี้ได้เมื่อเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติได้ ยกเคสกู้ไอเอ็มเอฟ รัฐใช้หนี้หมด แนะขณะนี้ถือเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีเงินเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ เยียวยาธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิดและมีการล็อคดาวน์ ซึ่งสร้างความเสียหายทาเศรษฐกิจเป็นเม็ดเงิน 1 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาส 4 ซึ่งช่วงนั้นคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะเริ่มกลับมา เพราะวัคซีนโควิด-19 ทยอยมากมากขึ้นและกระจายไปยังประชาชนอย่างทั่วถึง ส่งผลให้เกิดความมั่นใจเริ่มที่จะออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ด้านภาคธุรกิจต่างๆก็เริ่มฟื้นและเตรียมตัวที่จะกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้งหนึ่ง ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/961406

หนี้สาธารณะ70% ไม่สะเทือนการคลัง จับตารัฐขยายฐานภาษี-เพิ่มรายได้

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ระบุ สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนนำมาสู่การขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี จะไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น โดยรัฐบาลยังสามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ โดย ณ เดือน ก.ค. 2564 สัดส่วนหนี้ในประเทศอยู่ที่ 98.2% ของหนี้สาธารณะรวม ทำให้สัดส่วนหนี้ต่างประเทศในหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ใน 3-5 ปีข้างหน้า ภาครัฐต้องสร้างความเชื่อมั่น โดยเฉพาะผู้ที่ถือพันธบัตรรัฐบาลเชื่อมั่นว่าจะสามารถบริหารหนี้สาธารณะให้กลับมายั่งยืน นั่นหมายถึงการขาดดุลการคลังต้องลดลงจนเข้าสู่สมดุลในที่สุด ทั้งนี้ ท่ามกลางรายจ่ายงบประมาณที่ปรับลดได้อย่างจำกัด ดังนั้น รัฐจึงต้องมีความสามารถในการจัดหารายได้ โดยเฉพาะภาษีที่อาจจะต้องหาฐานภาษีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเพื่อให้พอต่อการลดการขาดดุลการคลัง ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/296881/

คลังตั้งท่ากู้เพิ่ม ปรับเพดานหนี้70%รองรับแล้ว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐได้มีมติเห็นชอบให้มีการทบทวนกรอบสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จากเดิมต้องไม่เกิน 60% ขยายเป็น 70% เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ทางการคลังให้กับรัฐบาล และไม่เป็นอุปสรรคหากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง โดยยังคงมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ก่อนหน้านี้ หลายๆ ฝ่าย อาทิ ผู้บริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) นักวิชาการ ฯลฯ ได้แสดงท่าทีสนับสนุนการขยายเพดานหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) รองรับผลกระทบจากโควิด โดยมองว่าเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังค่อนข้างดี การใช้เงินจากการกู้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการสร้างรายได้และการเติบโตในช่วงโควิด ที่มา: https://www.naewna.com/business/603523

คลังชงเพิ่มกรอบเพดานก่อหนี้สาธารณะ70%

วันจันทร์นี้ (20ก.ย.)จะมีการประชุมคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีคณะกรรมการที่มาจากผู้บริหารระดับสูงของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) และสำนักงบประมาณ โดยมีวาระสำคัญคือ การขยายกรอบการก่อหนี้สาธารณะ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือสศค.ได้เสนอทางเลือก คือ การขยายกรอบเพดานการก่อหนี้ให้ไม่เกิน 70% ของจีดีพี จากปัจจุบันที่อยู่ไม่เกิน 60% ของจีดีพี ขณะที่กรอบเพดานการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นมา 10% นั้น จะทำให้รัฐบาลมีช่องทางการกู้เงินได้เพิ่มอีกราว 2 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง […]

กระอัก! หนี้สาธารณะพุ่งเฉียด 9 ล้านล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซด์ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้เผยแพร่ รายงานสถานะหนี้สาธารณะของประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2564 พบว่า มียอดหนี้จำนวน 8.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 55.59% ของจีดีพี ใกล้ระดับเพดานความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะของประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาท โดยยอดหนี้สาธารณะเดือน มิ.ย. 2564 อยู่ที่ 8.8 ล้านล้านบาท หรือ 55.20% […]

พ.ร.ก. เงินกู้รอบใหม่ เยียวยา-จ้างงานดันจีดีพี 1.5%

พ.ร.ก. เงินกู้สู้โควิดรอบใหม่ 5 แสนล้าน “อาคม” เผยดันจีดีพีเพิ่มในปี 64-65 ได้ 1.5% หนี้สาธารณะไม่เกิน 60% “สุพัฒนพงษ์” ชี้ใช้เงินกู้รับมือสถานการณ์ได้ถึงปีหน้า ลั่นมีหลังพิงจากกฎหมายการเงิน 3 ส่วนกว่า 1.25 ล้านล้าน สศช. ระบุแผนใช้เงินกู้ครั้งนี้เน้นช่วยเฉพาะกลุ่มมุ่งเอสเอ็มอี นักศึกษาจบใหม่ ช่วยรักษาระดับการจ้างงาน ทางราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 25 พ.ค. เผยแพร่ พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา […]

โควิดทำไทยสูญ 2.2 ล้านล้านบาท ‘คลัง’ แจงสถานะการเงินยังแกร่ง ไม่หวั่นหนี้สาธารณะพุ่งแตะ 60%

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยว่ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ทำให้รายได้ของประเทศ หายไปสูงกว่า 2.2 ล้านล้านบาท และเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยหลังโควิด จะขยายตัวต่ำกว่า 2% ซึ่งต่ำกว่าช่วงปกติก่อนโควิด ทั้งนี้ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ยืนยันว่าในขณะนี้สถานะทางการคลังของไทยยังแข็งแกร่ง ขณะที่  พ.ร.ก.เงินกู้ 7 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้ระดับหนี้สาธาณะเกินกว่า 60% ต่อจีดีพีเล็กน้อย เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อความยั่งยืนของการคลังในระยะปานกลาง ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2740889

กังวลกู้ 7 แสนล้าน ดันหนี้สาธารณะใกล้แตะเพดาน 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท…สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารการคลัง ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังไม่แน่นอนสูง” โดยระบุว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของไทยเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 60% ของ GDP เร็วขึ้น และจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 อยู่ที่ 54.3% ของ GDP ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ราว 58.7-59.6% ของ […]

กังวลกู้ 7 แสนล้าน ดันหนี้สาธารณะใกล้แตะเพดาน 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท…สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารการคลัง ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังไม่แน่นอนสูง” โดยระบุว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของไทยเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 60% ของ GDP เร็วขึ้น และจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 อยู่ที่ 54.3% ของ GDP ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ราว 58.7-59.6% ของ […]

คลังยังไม่มีแผนกู้เพิ่ม 1 ล้านล้าน มาดูแลโควิด

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาทว่า ยังไม่ทราบนโยบายดังกล่าว แต่ปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน1 ล้านล้าน สามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ยังต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังเพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะ เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะของงบประมาณนี้ คาดอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อจีดีพี แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้นอาจสูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะที่ปรับสูงขึ้นป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/839321