สศอ.เตือนรับมือต้นทุนพุ่ง ‘รัสเซีย-ยูเครน’รบยืดเยื้อทำวัตถุดิบขาด

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อในปัจจุบัน ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเพียงเล็กน้อย สะท้อนจากมูลค่าการค้ารวม (การส่งออกและนำเข้า)ของไทยกับรัสเซีย-ยูเครนที่มีสัดส่วนประมาณ 0.5% เมื่อเทียบกับการค้าทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ไทยได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากรัสเซีย-ยูเครน เป็นผู้ผลิตและส่งออกพลังงาน รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ในตลาดโลก ซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นและทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก อีกทั้งความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการค้าและการลงทุน โดยอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานต่อต้นทุนรวมในการผลิตสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก 30.56% เหล็กและเหล็กกล้า 20.03% ผลิตภัณฑ์พลาสติก 10.48% ยางรถยนต์ 7.37% และเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 5.61% […]

เงินเฟ้อ ก.พ. 66 ขยายตัว 3.79% ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน พาณิชย์คาดครึ่งปีหลังอาจแตะ 0%

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนก.พ.66 อยู่ที่ระดับ 108.05 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เพิ่มขึ้น 3.79% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนม.ค.66 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 13 เดือน โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงมาจากราคาพลังงาน และอาหารสดที่ปรับตัวลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.) เพิ่มขึ้น 4.40% ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน […]

จุรินทร์สวนฝ่ายค้าน! ราคาพืชเกษตรดีทุกตัว เงินเฟ้อลดลง ส่งออกยังบวก ลั่น FTA ไทย กำลังไล่แซงเวียดนาม

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ชี้แจงฝ่านค้านในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เมื่อช่วงค่ำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ว่า ประเด็นที่พาดพิงประเด็นแรกที่พูดถึงเงินเฟ้อ และของแพงทั้งแผ่นดิน เป็นประเด็นเดิมที่อภิปรายแล้ว ไทยเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์ดีขึ้นเป็นลำดับ เงินเฟ้อลดลง ม.ค. เหลือ 5% อัตราเฉลี่ยของโลก IMF คาดว่าปี 66 เงินเฟ้อโลก 6.5% แต่ไทยจะเฟ้อแค่ 2.8% ดีกว่าหลายประเทศ โดยสินค้าราคาปรับตัวลดลงอย่างมากกว่า 58 รายการ […]

ลุ้นคลังขยับเป้าจีดีพีปี 2566 เพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1-16 ม.ค.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 78 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 95.4 เหรียญ ดังนั้นในปีนี้อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลงและอยู่ในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ในกรอบ 1-3% ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง จะทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2566 ใหม่ และจะประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 27 ม.ค.นี้ โดยคาดว่า สศค.จะปรับเป้าจีดีพีไทยปี 66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์เดิมไว้ว่าปี […]

ราคาสินค้าลดฉุดเงินเฟ้อ ‘จุรินทร์’ส่งซิกเดือนตุลาคมเหลือไม่ถึง6%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ห้างแม็คโคร สาขานครราชสีมา ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังจากขึ้นไปสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2565 ที่ 7.86% พอมาเดือนกันยายน 2565 ลดลงเหลือ 6.41% ส่วนเดือนตุลาคม 2565 เท่าที่ติดตามและประเมินเบื้องต้น คาดว่าอาจจะไม่ถึง 6% สะท้อนว่าสถานการณ์ราคาสินค้าในภาพรวมมีแนวโน้มชะลอตัวลง ต่างกับหลายประเทศที่ประสบตัวเลขเงินเฟ้อสูงมาก เป็นเพราะรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ทำงานร่วมกับเอกชนและหลายฝ่าย ช่วยกันกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการ ที่มา: https://www.naewna.com/business/690440

นักวิเคราะห์คาด เงินเฟ้อไทยอาจพุ่งแตะ 10% จับตาแบงก์ชาติต้องใช้ยาแรง

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมิ.ย.2565 ที่เพิ่มขึ้น 7.66% ไม่เกินความคาดหมายของตลาด แต่ที่แปลกใจอาจจะเป็นเรื่องราคาอาหารที่ปรับลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี การที่เงินเฟ้อพื้นฐานของไทยปรับตัวสูงขึ้นสะท้อนว่าเงินเฟ้ออาจเริ่มมีการกระจายตัวมาในฝั่งอุปสงค์ ทั้งยังมองว่าหากตัวเลขเงินเฟ้อในไตรมาส 3 พุ่งไปแตะเลข 2 หลัก จะสร้างแรงกดดันให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องออกนโยบายการเงินเข้มข้นขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยทุกครั้งในการประชุมที่เหลือในปีนี้ และมีความเป็นไปได้ที่ดอกเบี้ยนโยบายปลายปีนี้จะขยับขึ้นไปอยู่ที่ 1.25% ด้าน นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb […]

เงินเฟ้อ‘มิ.ย.’ทุบสถิติ สูงสุดรอบ 13 ปี/พิษน้ำมัน-ค่าไฟแพง

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนมิ.ย. 2565 เท่ากับ 107.58 เทียบกับพ.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 0.90% เทียบกับเดือนมิ.ย. 2564 เพิ่มขึ้น 7.66% สาเหตุที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ปัจจัยหลักยังคงเป็นสินค้ากลุ่มพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น 39.97% โดยน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มสูงถึง 39.45% ค่าไฟฟ้า เพิ่ม 45.41% ก๊าซหุงต้ม […]

เงินเฟ้อป่วนเศรษฐกิจ ภาคครัวเรือน-ธุรกิจเดือดร้อน

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทยในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่าที่ประชุม กกร. ประเมินเศรษฐกิจไทยยังโตได้ แต่ต้องบริหารจัดการปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัจจัยด้านเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนและธุรกิจในวงกว้าง และยังรวมไปถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่จะมีผลต่อต้นทุนทางการเงิน จากความท้าทายที่เพิ่มขึ้นทำให้ที่ประชุม ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวในกรอบ 2.75% ถึง 3.5% จากเดิมที่ 2.5% ถึง 4.0% ขณะที่มูลค่าการส่งออกขยายตัวในกรอบ 5.0% ถึง 7.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเป็น […]

ศูนย์วิจัยกสิกรเตือนปรับตัว รับวิกฤตอาหารแพงถึงปลางปี 66

น.ส.เกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยในงานแถลงข่าว หัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจไทย ฟื้นฝ่าเงินเฟ้อ? ว่า วิกฤตความมั่นคงทางอาหารที่อาจเข้ามาทำให้เกิดเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ดันราคาอาหารไทยเร่งตัวสูงสุดในรอบกว่า 10 ปี โดย 5 เดือนแรกปี 2565 ดัชนีราคาอาหารโลกปรับขึ้นเฉลี่ย 25% หลังจากที่เพิ่มขึ้น 28% ในปี 2564 จากปัจจัยรอบด้าน อาทิ ปัญหาการระบาดของโควิดหลายละลอกกระทบการผลิต ความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังโควิดเริ่มคลี่คลาย […]

ธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ขึ้นดอกเบี้ยอย่างยืดหยุ่น

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยภายในงานประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 2 ประจำปี 65 เพื่อชี้แจงสถานการณ์เศรษฐกิจ และส่งสัญญาณดำเนินนโยบายการเงินว่า โจทย์ใหญ่ขณะนี้คือ การปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ภาวะปกติ ในขนาด และเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จนกระทบต้นทุนผลิต และการใช้จ่ายประชาชน สำหรับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อขณะนี้ยังอยู่ในส่วนของต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น หรือฝั่งอุปทาน มากกว่าฝั่งการใช้จ่ายที่สูงหรือเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป ธปท.จึงต้องดูแลแรงกดดันเงินเฟ้อไม่ให้เกิดในด้านอุปสงค์ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2430612