เอสซีบีคาดเงินเฟ้อปีนี้พุ่ง 6.3%

นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจหรืออีไอซีได้ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ในปี 65 เป็น 2.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.2% เนื่องจากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยทั้งปีจะเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 4.9% และหากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยืดเยื้อ จีดีพีของไทยในปีนี้จะลดลงอีก 1-2% และเงินเฟ้อปรับเพิ่มจาก 4.9% เป็น 6.3% “การใช้จ่ายในประเทศจะฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอลงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยเฉพาะการบริโภคที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบทั้งจากกำลังซื้อของครัวเรือนที่ลดลงตามราคาพลังงานและอาหารที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น และจากการฟื้นตัวของค่าจ้างแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ […]

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด ประชุม กนง. 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าประชุม กนง. วันที่ 30 มี.ค. 65 นี้ ยังคงดอกเบี้ยที่ 0.5% เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดย กนง. คงจะให้น้ำหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน สินค้าเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตเร่งตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กนง. คงเผชิญความท้าทายมากขึ้นในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปีนี้ อยู่ที่ 4.5% ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/feature/2354554

รมว.คลัง คาดเงินเฟ้อปีนี้อาจแตะ 5-7% หากราคาน้ำมันเฉลี่ย 100-150 ดอลลาร์/บาร์เรล

กระทรวงพลังงาน ได้มีการประเมินสถานการณ์ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปีนี้ไว้ 3 ระดับ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในปีนี้ ประกอบด้วย กรณีแรก ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล กรณีที่สอง ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 120 ดอลลาร์/บาร์เรล และกรณีที่สาม ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 150 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งใน 3 กรณี คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5-7% ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ ได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดภาระค่าครองชีพที่เกิดจากปัญหาราคาน้ำมันแพง […]

วงล้อเศรษฐกิจ – ซ้ำเติมผู้บริโภค

ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลก (คิดเป็น 28.5% ของปริมาณการส่งออกขอโลก) ดันราคาข้าวสาลีพุ่งสูงสุดในรอบหลายปี ได้ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์เกษตรโลกให้ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีอิทธิพลต่อการปรับตัวของราคาข้าวสาลีในตลาดโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อไทยในแง่ต้นทุนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมปลายน้ำที่ใช้ข้าวสาลีเป็นส่วนประกอบอย่างอาหารคน และอาหารสัตว์ ทำให้มีราคาปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ในปี 2565 ทั้งต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุนโลจิสติกส์จะอยู่ในระดับที่สูง รวมถึงราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น ซ้ำเติมภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงที่สุดแล้ว จะส่งผลกระทบไปยังราคาอาหารปลายทางที่ต้องจ่ายสูงขึ้นด้วย เช่น เนื้อสัตว์ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป/ขนมปัง ตามราคาข้าวสาลีและราคาธัญพืชทดแทนที่ปรับเพิ่มขึ้น เป็นต้น ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6951461

ธปท.จับตาเงินเฟ้อพุ่ง กระทบผู้มีรายได้น้อย ยันเศรษฐกิจไทย ‘แกร่ง’

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปัจจุบัน ยังเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเท่าก่อนโควิด โดยมองว่าการฟื้นตัว ไปสู่ระดับนั้นอาจเห็นได้ในปลายปี หรือต้นปีหน้า อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังมีความไม่ทั่วถึง ยังเป็นลักษณะ K-Shaped Recovery ดังนั้นในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังคงมีความแตกต่างกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง ธปท. ยืนยันไม่จำเป็น ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ตามทิศทางดอกเบี้ยโลก หวังเป็นมาตรการสำคัญดูแลเศรษฐกิจฟื้นตัว ในด้านของเงินเฟ้อพุ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว เกิดจากซัพพลายช็อคในต่างประเทศ แต่ผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัด ห่วงผู้มีรายได้น้อยลำบาก […]

“ประยุทธ์”เร่งรับมือวิกฤติเงินเฟ้อ สั่งกระทรวงเศรษฐกิจทำแผนดูแลประชาชน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกหน่วยงานเศรษฐกิจมาหารือเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจนาน 2 ชั่วโมง ห่วง“วิกฤติเงินเฟ้อ”จากปัญหาราคาน้ำมันและราคาพลังงานที่ดีดตัวขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน สั่งทุกหน่วยงานหามาตรการรับมือด่วน “สุพัฒนพงษ์-อาคม” เร่งทำแผนอุ้มประชาชน ครม.เคาะร่างแผนรับรองวิกฤติน้ำมัน ขยายเพดานกู้ของกองทุนน้ำมัน หลังติดลบเกือบ 3 หมื่นล้าน ด้านกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ รอความชัดเจนของมาตรการดูแลราคาปุ๋ย ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/993809

ส่งออกอัญมณี-เครื่องประดับ หักทองยังโต48% ห่วงสะดุดเงินเฟ้อฉุดรายได้

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเดือน ม.ค.2565 มีมูลค่า 767.48 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 50.89% คิดเป็นสัดส่วน 3.61% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 580.29 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 48.16% ซึ่งถือเป็นการขยายตัวที่สูงมาก สะท้อนถึงการฟื้นตัวของอุตสาหกรรม ที่มีทิศทางดีขึ้น หลังจากที่ประสบปัญหากำลังซื้อชะลอตัวจากผลกระทบโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ที่มา […]

ส.อ.ท. ผวาน้ำมันดิบพุ่ง 150 เหรียญฯ ห่วงเงินเฟ้อ ของแพง ซ้ำเติมประชาชน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่าสถานการณ์เงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้น น่าเป็นห่วงอย่างมาก ขณะที่ผลกระทบในทางอ้อมนั้น มีแน่นอน โดยหลังจากชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ทำให้มีผลต่อระบบทางการเงินธุรกรรมต่างๆ และการแช่แข็งสกุลเงินของรัสเซียที่อยู่ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ เรื่องวิกฤตที่สุด คือราคาพลังงาน ปัจจุบันราคาน้ำมันโลกได้ทะลุเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และถ้าสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อไปอาจจะทะลุ 120 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล หรือ 150 เหรียญสหรัฐฯต่อ บาร์เรล ก็เป็นไปได้ และการที่รัสเซียปิดท่อแก๊สที่ส่งไปยังประเทศทางยุโรป อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลน […]

‘จุรินทร์’ชี้ศึกรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลเงินเฟ้อ ไทยต้องประเมินอาจชะลอนำเข้า-ส่งออก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ยอมรับว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก-นำเข้าที่ต้องชะลอไปบ้าง ซึ่งเหตุผลเกิดจากค่าเงินรูเบิลยังไม่เสถียร มีความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งต้องรอให้นิ่งก่อน ไม่เช่นนั้นการคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน ก็จะคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อค้าทั่วโลกรับรู้อยู่แล้ว หากค่าเงินยังไม่เสถียร ก็ต้องรอพิจารณาต่อว่าเป็นอย่างไร ส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้น ก็จะต้องติดตามต่อไป แต่ที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ ราคาน้ำมันที่ขึ้นไป 100 กว่าเหรียญแล้ว แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ ที่มาจากการคำนวณราคาสินค้าที่จำหน่ายจริงในตลาด ที่มา: https://www.naewna.com/business/639627

เสนอให้ปรับราคาสินค้าแทนการฉวยโอกาส

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า กล่าวว่า สินค้าและบริการใดที่มีต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะจากราคาน้ำมันและพลังงานที่สูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ควรให้ปรับราคาเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงไม่ใช่ฉวยโอกาสขึ้นราคา หากไม่ให้ปรับขึ้นราคาตามต้นทุนจะทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนสินค้าได้ ส่วนสินค้าและบริการจำเป็นพื้นฐานนั้น รัฐบาลควรเข้ามาอุดหนุนหรือแทรกแซงกลไกราคาไม่ให้ราคาสูงเกินจนประชาชนไม่สามารถซื้อหาได้และเกิดความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/675536