สงครามรัสเซีย-ยูเครน ดันราคาปุ๋ยพุ่ง สนค. แนะโอกาสของเกษตรอินทรีย์

ผู้อํานวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค. ได้ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ปุ๋ย ซึ่งเป็นสินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน จากการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ดันราคาปุ๋ยพุ่ง มาจากรัสเซียผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีอันดับ 1 ของโลก ได้จำกัดการส่งออกปุ๋ยไนโตรเจนตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วและจากกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมทั้งจากการที่จีนที่มีนโยบายส่งออกปุ๋ยน้อยลง จึงส่งผลให้ราคาปุ๋ยทั่วโลกรวมทั้งไทยปรับตัวสูงขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาปุ๋ยราคาแพง สนค. เห็นว่าในระยะสั้นควรมีการกระจายแหล่งนำเข้า โดยอาจนำเข้าจากกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น  ระยะกลาง ควรส่งเสริมการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในประเทศให้มากขึ้น สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และในระยะยาว ควรส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Fertilizer) ที่มา : https://www.thailandplus.tv/archives/511031

จุรินทร์เผย ปุ๋ยแพงขึ้น เหตุต้นทุนเพิ่ม ยันจะกำกับ ไม่ให้ค้ากำไรเกินควร

ทั้งนี้ปัญหายูเครนนั้นยังไม่กระทบกับไทยมาก แต่ปัญหาเงินเฟ้อนั้นเกิดขึ้นทั่วโลก หลายประเทศหนักกว่าไทย เพราะราคาน้ำมันแพงมีผลกับราคาสินค้า ต้องแก้ปัญหาหน้างานให้สมดุล สินค้าเกษตรจะดูปลายทางราคาที่ขายให้ผู้บริโภคเอากำไรแค่พอควรหรือกำไรน้อยที่สุดเท่าที่ยังให้การบริหารจัดการไปได้ ผู้บริโภคจะได้ไม่เดือดร้อนมากเกษตรกรยังได้ราคาดีอยู่ อีกทั้งยังมีเรื่องปริมาณด้วย ถ้ากดราคามากแล้วเลิกผลิต เลิกนำเข้าของขาดจะเดือดร้อนอีกแบบ วันนี้นอกจากราคาปาล์มในตลาดโลกขึ้นราคา มีส่วนให้ราคาผลปาล์มสูงขึ้น วันนี้อยู่ที่ 10 บาทกว่าแล้ว เมื่อผลปาล์มราคาแพง ต้นทุนการทำน้ำมันปาล์มขวดก็แพงขึ้นไปด้วย ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6972416

ผู้ค้าดิ้นขอปรับขึ้นราคา รอดยากไทยเจอวิกฤติปุ๋ยเคมีขาดแคลน

นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เปิดเผยว่า สมาคมเป็นห่วงว่าในฤดูกาลเพาะปลูกที่จะถึงในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.นี้ ไทยจะขาดแคลนปุ๋ยเคมีสำหรับเพาะปลูก เพราะขณะนี้สต๊อกปุ๋ยเคมีบางชนิดลดลง และอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ผู้ค้าปุ๋ยเคมีบางรายได้ชะลอนำเข้า เพราะขาดทุน จากราคาปุ๋ยในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ราคาในประเทศ รัฐบาลกลับให้ตรึงขายไว้ จนผู้ผลิตขาดทุน ประกอบกับสงครามดันราคาแม่ปุ๋ยพุ่งหนัก 100–200% และหาซื้อยาก หวั่นแข่งซื้อกับประเทศอื่นไม่ไหว เผยล่าสุด ยื่นเรื่องขอปรับขึ้นราคาแล้ว วอนพาณิชย์สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2352436

คลังชง ครม.ลดภาษี ‘นำเข้า’ ปุ๋ยช่วยเกษตรกร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ระบุ กรณีที่ราคาพลังงานปรับเพิ่มสูงขึ้น จะมีการช่วยเหลือผ่านผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ เพื่อเป็นการลดภาระให้กับประชาชนในช่วงที่น้ำมันแพง หลักๆ จะเป็นการช่วยเหลือผ่านผู้ถือบัตรสวัสดิการรัฐ 13.5 ล้านคน โดยกระทรวงพลังงงาน เตรียมเสนอแผนช่วยเหลือรายย่อยสำหรับการใช้ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในภาคครัวเรือน ได้รับเงินอุดหนุนค่าซื้อก๊าซหุงต้มจาก 45 บาท ต่อครัวเรือน เป็นเวลา 3 เดือน ในส่วนของเกษตรกรที่ได้รับผลกกระทบจากปัจจัยการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ตามราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากผลกระทบช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทรวงการคลังจะเสนอแพ็คเกจร่วมกันกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ โดยจะพิจารณาลดภาษีนำเข้าแม่ปุ๋ยเคมี ที่นำมาผสมเป็นสูตรใช้ในประเทศ ที่มา : […]

“ประยุทธ์”เร่งรับมือวิกฤติเงินเฟ้อ สั่งกระทรวงเศรษฐกิจทำแผนดูแลประชาชน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เรียกหน่วยงานเศรษฐกิจมาหารือเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจนาน 2 ชั่วโมง ห่วง“วิกฤติเงินเฟ้อ”จากปัญหาราคาน้ำมันและราคาพลังงานที่ดีดตัวขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จนกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน สั่งทุกหน่วยงานหามาตรการรับมือด่วน “สุพัฒนพงษ์-อาคม” เร่งทำแผนอุ้มประชาชน ครม.เคาะร่างแผนรับรองวิกฤติน้ำมัน ขยายเพดานกู้ของกองทุนน้ำมัน หลังติดลบเกือบ 3 หมื่นล้าน ด้านกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงพาณิชย์ รอความชัดเจนของมาตรการดูแลราคาปุ๋ย ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/993809

พาณิชย์-เกษตร ไฟเขียวขึ้นราคาปุ๋ยเคมี เปิดทางนำเข้าข้าวสาลีเพิ่มชั่วคราว

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เผย ผลจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ปุ๋ยเคมีมีราคาขึ้นสูงขึ้น และมีปริมาณไม่เพียงพอ เบื้องต้นให้มีการปรับราคาจำหน่ายปุ๋ยได้ตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ต่อมาเรื่องต้นทุนอาหารสัตว์ที่มีการปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปรับราคาสูงขึ้นมาก เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด หลายฝ่ายจึงเห็นพ้องต้องกัน ให้มีการยกเลิกการจำกัดโควตานำเข้าข้าวสาลี เป็นเวลาชั่วคราวถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 และต้องไม่นำเข้าเกินกว่าที่กำหนด โดยมอบหมายให้กรมการค้าภายในไปหารือกันอีกรอบหนึ่ง แต่ทั้งนี้ ยังไม่มีการพิจารณาการยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3235118