‘สันติ’ สั่งศึกษาภาษีนำเข้า ‘รถอีวี’ หนุนคนไทยได้ซื้อราคาถูกลงอีก

นายสันติ พรัอมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมศุลกากรเร่งศึกษารายละเอียดการปรับโครงสร้างภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวีทั้งระบบ เพราะขณะนี้ภาษีนำเข้ารถยนต์ของแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกันอยู่ อาทิ จีนได้รับสิทธิความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากผลิตในบางประเทศ อาทิ ยุโรป สหรัฐอเมริกา ยังคงเสียภาษีในอัตราสูงอยู่ เนื่องจากไม่มีความตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนให้คนไทยปรับเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า และจูงใจให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่ม ตามนโยบายของรัฐบาล ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3123984

ประเดิมรีดภาษีอีเซอร์วิสพุ่ง 1.4 พันล. สรรพากรปลื้มรายได้ทะลุเป้า 10% ไม่สนโควิด

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ภาพรวมการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 เกินเป้าหมาย 10% แม้ว่าผู้เสียภาษีจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่ว่าการคลายล็อกมาตรการควบคุมการระบาดของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา และเปิดประเทศ ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีอีเซอร์วิสที่กำหนดผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ถ้ามีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทจากผู้ใช้บริการในไทย จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต ให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งอัตราปัจจุบันอยู่ที่ 7% โดยมีผู้ยื่นแบบ เสียภาษีแล้ว 115 ราย เก็บภาษีได้ […]

สุดช้ำ ค่าครองชีพพุ่งอีก ผู้เลี้ยงไก่ไข่ แจ้งขึ้นราคาไข่คละ หน้าฟาร์ม ฟอง 3 บ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ ได้ทำหนังสือแจ้งสมาชิก  ปรับขึ้นราคาแนะนำไข่ไก่คละ หน้าฟาร์ม เป็นฟองละ 3.00 บาท  มีผลตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.65 เป็นต้นไป และหากมีการเปลี่ยนแปลงราคา สมาคมจะแจ้งให้ทราบต่อไป โดยจากสอบถามผู้เลี้ยงสาเหตุที่ปรับขึ้นราคาไข่ไก่ฟองละ 20 สตางค์ จาก 2.80 บาท เป็น 3 บาท เนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาอาหารสัตว์ทำให้เกษตรกรแบกรับภาระต้นทุนไว้ไม่ไหว ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/650626/

ก๊าซ‘แอลพีจี’พุ่ง ลุ้น‘บอร์ดกบง.’ช่วยตรึงราคา

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า จากผลประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เตรียมเสนอแนวทางอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว) ให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่มีกำหนดการประชุมช่วงกลางสัปดาห์นี้พิจารณาเห็นชอบ เพิ่มเติมจากปัจจุบันมาตรการตรึงราคาไว้ 318บาท/ถัง ขนาด 15 กิโลกรัม(กก.) จะสิ้นสุดลงวันที่31 ม.ค.นี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากรายงานข่าวแจ้งว่าขณะนี้ประเมินทิศทางราคาก๊าซหุงต้มอยู่ในช่วงขาลง ปัจจุบันอยู่ที่ 412 บาท/ถัง 15 กก. จากช่วงเดือนต.ค.2564 หากรัฐไม่มีมาตรการใดๆ เข้ามาอุดหนุนราคาก๊าซหุงต้มที่แท้จริงจะปรับตัวขึ้นไปสูงถึง 440 บาท/ถัง 15 กก. […]

ค่าครองชีพพุ่ง! ก๊าซหุงต้ม เตรียมขึ้นราคา 1 ก.พ. กระทรวงพลังงาน เลิกตรึง

วันที่ 6 ม.ค.64 นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันในปี 2565 กรณีตรึงราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่ราคา 318 บาทต่อถัง (ขนาด 15 กิโลกรัม) จะสิ้นสุดเดือน ม.ค.นี้ หลังจากนั้นจำเป็นต้องทยอยปรับขึ้นราคาแบบขั้นบันได เพื่อลดภาระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ สำหรับราคาน้ำมันดิบปัจจุบันยังอยู่ที่ระดับราคา 78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล รัฐบาลยังคงตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้เหมือนเดิมที่ระดับราคาไม่เกิน 30 […]

ทำใจ ปัญหาหมูแพง ลากยาว 1 ปี คาดตรุษจีน ราคาพุ่งขึ้นอีก หมูเป็นแตะ กก. 120

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีรัฐบาลมีการออกมาตรการห้ามส่งออกหมูเป็น 3 เดือน และส่งเสริมให้เพิ่มการเลี้ยงหมูว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ภาครัฐจะต้องทำ แต่กว่าจะเห็นผลให้ระบบหมูเป็นปกติได้ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี และราคาหมูราคาทรงตัวในระดับสูงต่อไป ไม่สามารถปรับลดลงมาในระยะสั้นอย่างแน่นอน  สำหรับสถานการณ์ราคาหมูเป็นและหมูเนื้อแดงหน้าเขียง ในระยะสั้นเชื่อว่าจะยังปรับขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันราคาสุกรรายย่อย กก.ละ 104-106 บาท และในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ถึงต้นเดือน ก.พ.นี้ น่าจะขยับไปถึง กก. 120 บาทได้ และหมูเนื้อแดงหน้าเขียง จะเห็น กก.เกิน 200 บาทกว่าๆ […]

พาณิชย์หวัง 3 เดือนคืน “หมู” เข้าระบบ สั่งเช็คสต็อก-ห้ามส่งออกแก้ราคาพุ่ง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่าได้มีมติแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ประกอบด้วย 1.ห้ามส่งออก เป็นเวลา 3 เดือน เบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. – 5 เม.ย. 2565 เพื่อให้หมูกลับเข้าสู่ระบบการบริโภคภายในประเทศก่อน 2.กำหนดให้ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป / ผู้ค้าส่ง ที่มีหมูเกิน 500 ตัวขึ้นไป และห้องเย็นที่มีสต็อกหมู ตั้งแต่ […]

ส่องมาตรการ 3 ระยะ รัฐบาลลุยแก้ปัญหา “หมูแพง”

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง สืบเนื่องจากปริมาณสุกรที่ลดลง ต้นทุนการเลี้ยงสุกรปรับสูงขึ้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้หารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปดังนี้ 1.มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ 1.1 การห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 65, 1.2 การเร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร 2.มาตรการระยะสั้น ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ การขยายกำลังผลิตแม่สุกร […]

หมู-ผัก-ไข่แพง ดันเงินเฟ้อธ.ค.64 พุ่ง 2.17% คาดปี’65 แตะ 1.5% จับตาโอมิครอนระบาดทุบภาคผลิต

กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธ.ค. 2564 ว่า เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.17% เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้น 2.71% จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื้อสุกร และไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการโรคระบาดในสุกร ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต […]

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803