ประเดิมรีดภาษีอีเซอร์วิสพุ่ง 1.4 พันล. สรรพากรปลื้มรายได้ทะลุเป้า 10% ไม่สนโควิด

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ภาพรวมการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 เกินเป้าหมาย 10% แม้ว่าผู้เสียภาษีจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่ว่าการคลายล็อกมาตรการควบคุมการระบาดของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา และเปิดประเทศ ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้ดีขึ้น ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีอีเซอร์วิสที่กำหนดผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ถ้ามีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาทจากผู้ใช้บริการในไทย จะต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต ให้แก่กรมสรรพากร ซึ่งอัตราปัจจุบันอยู่ที่ 7% โดยมีผู้ยื่นแบบ เสียภาษีแล้ว 115 ราย เก็บภาษีได้ […]

สรรพากรยันไม่เรียกเก็บแวท ค่าบริการรักษาพยาบาล

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เผยถึง กระแสข่าวว่าประชาชน ต้องแบกรับภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการที่จะต้องถูกโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มว่า เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะการให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชน จึงได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นโรงพยาบาลเอกชนจึงไม่สามารถเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากวัคซีนทางเลือกที่ให้บริการแก่ประชาชนได้ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/43652/

“สรรพากร” แจงภาษีมูลค่าเพิ่ม “วัคซีนโควิด” แก้กฎหมายยกเว้นคงไม่ทัน

กรมสรรพากร เผย กรณียกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) สำหรับวัคซีนโควิด ขณะนี้ยังไม่สามารถออกความเห็นได้เพราะเป็นเรื่องนโยบายและมีความยุ่งยาก ต้องแก้ไขกฎหมายซึ่งอาจจะไม่ทันต่อสถานการณ์ โดยสิ่งที่ทำได้คือ การยกเว้นภาษีแวตเหมือนปี 63 สำหรับการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์และวัคซีน เพื่อการบริจาคเท่านั้น ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ในอัตรา 7% ขอชี้แจงแจงว่าการจัดเก็บเป็นไปตามกฎหมาย เมื่อองค์การเภสัชกรรมนำเข้าวัคซีนก็ต้องเสียภาษีแวตและเมื่อนำไปขายให้โรงพยาบาลเอกชน เอกชนก็จ่ายภาษีแวตเป็นการนำภาษีซื้อลบภาษีขาย เมื่อโรงพยาบาลเอกชนนำมาวัคซีนมาฉีดก็ต้องคิดค่าบริการเก็บภาษีแวตจาก 7% เหมือนสินค้าทั่วไป จึงถือว่าไม่ได้เป็นการจัดเก็บ 2 เด้ง ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2091690