“อาร์เซ็ป” หนุนผู้ผลิตไทยผงาด “สนั่น” แนะ 6 โอกาส 6 เร่งเปิดประตูการค้าโลก

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) หรืออาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้กับสมาชิกที่ให้สัตยาบันความตกลงแล้ว ส่งผลให้อาร์เซ็ปกลายเป็นกรอบความตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีจีดีพี 30% ของจีดีพีโลก มีประชากร 30% ของประชากรโลก และมูลค่าการค้า 30% ของมูลค่าการค้าโลก การันตีเป็นการสร้าง “6 โอกาส” ให้ผู้ประกอบการ แต่มี “6 เร่ง” ที่ต้องทำให้พร้อมรับแข่งขัน ดันไทยเข้า “ซีพีทีพีพี” เพราะถ้าไม่เข้าอาจเสียเปรียบการค้า การลงทุน […]

กรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ลุ้น “จีดีพี” ปีเสือ 3-4.5%

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.ได้มีมติให้คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0%-4.5% การส่งออกขยายตัว 3.0%-5.0% อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 1.2%-2.0% แต่เห็นว่ารัฐบาล จะต้องมีมาตรการระยะสั้น เพื่อบรรเทาปัญหาสินค้าอาหารราคาแพง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป ที่ประชุมยังได้พิจารณา กรณีพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2564 ที่มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. มีความไม่ชัดเจน กกร.จึงเห็นชอบที่จะทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังเพื่อขอขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ตามเดิมออกไปอีก 2 ปี […]

ประชาชนกังวล ปัญหาค่าครองชีพ ฉุดความเชื่อมั่น หัวทิ่ม3เดือนติด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า ในเดือนธันวาคม 2564 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะราคาอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากนี้ในช่วงเทศกาลที่ผ่านมาครัวเรือนยังมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายพิเศษที่เพิ่มขึ้นกดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพฤศจิกายน (ผลสำรวจจัดทำปลายเดือนธันวาคม 2564 ยังไม่รวมผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากจำนวนผู้ติดเชื้อโอมิครอนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว) จากการสำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากโควิด-19 ต่อการทำงานว่าในปี 2564 ระบุว่าครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เริ่มทำอาชีพเสริมกันเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน ที่มา : https://www.naewna.com/business/628261

พาณิชย์ลุยสกัดของปลอม ประกาศห้ามส่งออก-นำเข้า-นำผ่าน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์เตรียมเดินหน้ายกระดับมาตรการป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดผ่านแดน อย่างเข้มข้น ร่วมกับกรมศุลกากร ในการสกัดสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและละเมิดลิขสิทธิ์ หลังจากที่ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. … ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) และจะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วันหลังจากที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ที่มา : https://www.naewna.com/business/628262

“คลัง” ลุยภาษีคริปโทฯ-หุ้น “อาคม” อ้างเพื่อความเป็นธรรม-ขยายฐานภาษี

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นและคริปโทเคอร์เรนซี่ ยังคงเดินหน้าต่อไป เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบ คนที่ใช้ทรัพยากร หรือคนที่มีรายได้ ก็ควรมีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ และเป็นการขยายฐานการจัดเก็บภาษี เพื่อนำเม็ดเงินมาพัฒนาประเทศ แต่ที่มีการออกข้อกำหนดให้ยกเว้นภาษีบางเรื่องนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลดต้นทุนในภาคส่วนนั้นๆเป็นการชั่วคราว แม้จะมีเสียงคัดค้านการจัดเก็บภาษีซื้อขายหุ้น (Financial Transaction Tax) ในอัตรา 0.1% และจัดเก็บภาษีกำไร (Capital Gain Tax) จากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี่) แต่กระทรวงการคลัง ยังคงยืนยันจะเก็บภาษีทั้ง 2 ประเภทต่อไป […]

กกร.ขอรัฐดูแลค่าครองชีพ-กระตุ้นกำลังซื้อ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยในวันที่ 12 ม.ค.นี้ กกร.จะหารือภาพรวมผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจปี 2565 การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ เพื่อร่วมกันประเมินว่าโอมิครอนจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด โดยยอมรับว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้คาดคิดว่าโอมิครอนจะระบาดรวดเร็วเช่นนี้ ดังนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่เคยประมาณการไว้ก็จะต้องปรับให้สอดรับกับข้อเท็จจริง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2286149

รัฐต่อเวลา ปรับเงื่อนไขช่วยนายจ้างธุรกิจเอสเอ็มอี

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ปรับปรุงเงื่อนไขการจ่ายเงินอุดหนุนตามโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจเอสเอ็มอี สำหรับเดือน ธ.ค.2564-ม.ค.2565 ภายใต้เงื่อนไขการลงทะเบียนและนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) จากเดิมที่กำหนดว่านายจ้างที่จะเข้าร่วมโครงการต้องลงทะเบียนนำส่งข้อมูลเงินสมทบผ่านระบบ e-Service สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยให้มีผลในงวดสมทบให้ สปส.เดือน พ.ย.2564 เป็นต้นไป (นำส่งข้อมูลการส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ธ.ค.2564) ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2286157

โควิดทำ “หนี้ครัวเรือน” เพิ่ม อันดับหนึ่งคือหนี้บ้าน และการเสริมสภาพคล่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ไตรมาส 3/64 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นราว 4.2% (YoY) ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 5.1% (YoY) ในไตรมาส 2/64 โดยลักษณะการก่อหนี้ของครัวเรือนในไตรมาส 3/64 แตกต่างจากช่วงไตรมาสก่อนๆ ตรงที่มีสัญญาณของการก่อหนี้เพิ่มเพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยับขึ้นของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพตามลำดับ ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 65 ไว้ที่กรอบ 90-92% ต่อ GDP […]

ธุรกิจผวาพิษ “โอมิครอน” ทำจังหวะเศรษฐกิจฟื้นสะดุด

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธ.ค.64 อยู่ที่ระดับ 86.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.4 ในเดือนพ.ย.64 ถือเป็นการปรับตัวเพิ่มเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สะท้อนความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศภายหลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้นทั้งภาคการผลิต การค้า และการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนด้วยมีการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการยังเผชิญกับแรงกดดันจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/982067

แบงก์ชาติแจงเศรษฐกิจไทยไม่มีปัญหา stagflation แค่ฟื้นตัวช้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ยังมีความเปราะบางและไม่เท่าเทียมกัน ลักษณะ K-SHAPE ประชาชนยังไม่รู้สึกเหมือนก่อนโควิด เพราะรายได้และการจ้างงานยังไม่เหมือนเดิม เพราะการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้และการจ้างงาน ดังนั้น โจทย์หลักของ ธปท. คือ ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด และ ห้ามสะดุด โดยปีนี้ความเสี่ยงที่จะสะดุดอยู่ 4 เรื่อง คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะโอมิครอน อัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) สถานการณ์โลก […]