‘แบงก์ชาติ’ ผวาหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90.5%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย ว่าที่ประชุมได้ประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้านและให้น้ำหนักกับการดูแลความเสี่ยงใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ปัญหาหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูงถึง 90.5% ของจีดีพี และวิกฤตโควิด-19 ได้ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ และ 2.การสะสมความเสี่ยงในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะข้างหน้า ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/109527

ธปท.-ก.ล.ต. ระวังลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่หนุนใช้ซื้อสินค้าและบริการ

นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ติดตามการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ และเห็นการเชิญชวนให้นำสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทต่างๆ เช่น Bitcoin Ether มาใช้เป็นสื่อในการชำระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่ง ธปท.ได้เคยแจ้งย้ำถึงสถานะของสินทรัพย์ดิจิทัลว่าไม่ถือเป็นเงินตราตามกฎหมาย ดังนั้น การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในรูปแบบดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการแลกเปลี่ยน (barter trade) ระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลกับสินค้าและบริการที่ผู้ให้และผู้รับตกลงยอมรับความเสี่ยงระหว่างกัน โดยอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงความเสี่ยงจากการสูญเสียมูลค่ในกรณีต่างๆ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/investment/2135992

ผลสำรวจผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทยรอ “ฟื้นอีกทีปลายปี 65”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานผลสำรวจผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ต่อภาคธุรกิจไทย (BSI COVID) เดือน มิ.ย.2564 โดยพบว่า ระดับการฟื้นตัวของธุรกิจในภาพรวมปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน แต่ภาคการผลิตเริ่มได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อในคลัสเตอร์โรงงาน การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และวัตถุดิบ การจ้างงานทรงตัว โดยใช้นโยบายสลับกันมาทำงาน และลดชั่วโมงทำงาน บางธุรกิจปลดคนงานเพิ่ม โดยคาดว่าการฟื้นตัวของธุรกิจจะล่าช้าออกไปอย่างน้อยครึ่งปีหลังของปี 2565 ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/feature/2130247

เศรษฐกิจไทยยังลูกผีลูกคน!

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจเดือน พ.ค.ว่า เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือน เม.ย.เนื่องจากโควิด-19 ระลอกที่ 3 โดยเห็นการใช้จ่าย และการลงทุนของภาคเอกชนลดลงชัดเจน จากดัชนีความเชื่อมั่นการบริโภคที่ลดลงเป็นประวัติการณ์ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้าลดลงต่ำกว่าระดับความมั่นใจ ธปท.จะติดตามเศรษฐกิจในส่วนของการใช้จ่าย การลงทุน ตลาดแรงงานในช่วงต่อไปอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นพบว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจเดือน มิ.ย.ยังลดลงต่อเนื่อง ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2129356

‘กรุงศรีประเมิน กนง. คงดอกเบี้ย 0.5% ผลจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

สำนักวิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.63 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์จีดีพีบนสมมติฐานการจัดหาและการฉีดวัคซีน โดยกรณีจัดหาวัคซีนและฉีดได้ที่ 100 ล้านโดส (สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในไตรมาส 1/65) จีดีพีปีนี้จะขยายตัวที่ 2.0% และกรณีมีการฉีดวัคซีนได้ที่ 64.6 ล้านโดส (ไตรมาส 3/65) จีดีพีจะขยายตัวเหลือเพียง 1.5% วิจัยกรุงศรีประเมินว่า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่สม่ำเสมอ จึงมีแนวโน้มมุ่งเน้นการผ่อนคลายทางการเงินแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย เช่น การช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างการพักหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ […]

จับตาทิศทางดอกเบี้ย รับข่าว‘เฟด’ถอนมาตรการ QE Taper

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวถึงเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีการคาดการณ์ล่าสุด โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะอยู่ที่ระดับ 6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้นจากการประมาณการช่วงต้นปีที่คาดว่าจะเติบโตได้เพียง 5.5% พร้อมคาดว่า มีความเป็นไปได้ที่ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะออกมาประกาศลดวงเงินเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงปลายปีนี้หรืออาจเกิดขึ้นในไตรมาสสามและอาจเริ่มดำเนินการ QE Taper ที่มา: https://www.naewna.com/business/579996

ไฟเขียวแบงก์’จ่ายปันผลระหว่างกาล’ ไม่เกิน50%ของกำไรครึ่งปี

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เเผย ได้พิจารณาให้สถาบันการเงินสามารถจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลได้ไม่เกินอัตราจ่ายเงินปันผลในปี 63 และไม่เกิน 50% ของกำไรสุทธิครึ่งแรกของปี 64 รวมถึงให้งดซื้อหุ้นคืน ซึ่งจะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธปท.จะประเมินสถานการณ์การระบาดและแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงติดตามความคืบหน้าการช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลประจำปี 64 ในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/849036

‘ผู้ว่าธปท.’คาดเศรษฐกิจฟื้นเท่าก่อนโควิด อาจรอไตรมาสแรก’66

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา คาดเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงไตรมาสแรกของปี 66 กว่าจะกลับมาสู่ระดับเดิม ขณะเดียวกันต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี โดยภาครัฐและ ธปท ได้ออกมาตรการฟื้นฟู ส่วนสถาบันการเงิน มีบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ในการประสานความช่วยเหลือกับคู่ค้ารายย่อย และปรับแนวทางการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีควรปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและยกระดับการจัดการธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพราะนอกจากจะนำมาใช้บริหารต้นทุน กำไร ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถานะทางการเงินธุรกิจอีกด้วย ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846888

รัฐบาลร่วมมือแบงก์เร่งช่วยเอสเอ็มอีจากพิษโควิด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงแนวทางการความช่วยเหลือและฟื้นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่ม SME ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารรัฐและเอกชนได้มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ช่วย SME ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้รัฐยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ พร้อมรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846579

กสิกรไทยอัด 15,000 ล้าน ช่วยลูกค้าธุรกิจสู้โควิด หนุนสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง

จากวิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 เกิดขึ้น ธนาคารกสิกรไทยจึงร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยให้การช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร ผ่าน 2 มาตรการช่วยเหลือ ดังนี้ 1.มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยลูกค้าปัจจุบันจะกู้ได้สูงสุด 30% ลูกค้าใหม่จะขอกู้ได้สูงสุด 20 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย นานสูงสุด 24 เดือน 2.มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ คือมาตรการรับโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้ธุรกิจ โดยลูกค้ายังมีสิทธิ์เช่าทรัพย์นั้นเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้ และมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์คืน ทั้งนี้ได้เตรียมวงเงินสินเชื่อกว่า 15,000 […]