กรุงศรีฯ ประเมินเศรษฐกิจไทยปี 66 ขยายตัว 3.6% แรงหนุนท่องเที่ยว จับตาปัจจัยภายนอกกระทบ

วิจัยกรุงศรี บทวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงิน (ฉบับพิเศษ) โดยระบุถึงทิศทางเศรษฐกิจปี 2566 คาดว่าจะเป็นปีแรกที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยสามารถกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 วิจัยกรุงศรีคาดเศรษฐกิจไทยปี 2566 จะยังเติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.6 จากร้อยละ 3.2 ในปี 2565 โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักจากภาคท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เติบโตจากการจ้างงานที่ปรับดีขึ้นโดยเฉพาะในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยว การลงทุนที่ยังมีสัญญาณเชิงบวกอยู่บ้างจากการฟื้นตัวของภาคบริการ ความต่อเนื่องของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการขยายตัวของการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างไรตาม การลงทุนในบางอุตสาหกรรมและการส่งออกในภาพรวมจะเผชิญความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก ทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น การเติบโตต่ำของเศรษฐกิจจีน สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) ปัจจัยเหล่านี้อาจจำกัดการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ […]

‘กนง.’ชี้เงินเฟ้อปี’65แตะ1.7% ‘กรุงศรี’เชื่อธปท.ส่อตรึงดบ.ยาว

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 8ก.พ.2565 รับทราบรายงานภาวะ และแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ตามราคาหมวดพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น และปี 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ร้อยละ 1.4 โดยเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวจากปัญหา โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่ วิจัยกรุงศรี ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนแรกของปีนี้อยู่ที่  3.23% […]

วิจัยกรุงศรี ส่องเศรษฐกิจไทย ปี 65 เข้าสู่เส้นทางฟื้นตัว คาดจีดีพีโต 3.7%

ศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเผยว่า การกลับมาแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่นับตั้งแต่ปลายปี 2563 และการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แผ่ลามเป็นวงกว้างในไทยช่วงไตรมาสสามของปี 2564 ส่งผลให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกจำกัดภายใต้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ การระบาดยังกระจายไปสู่ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในสายการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การระบาดในประเทศคลี่คลายลง มีการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่เข้มงวด กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ส่วนการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนในช่วงปลายปีกลับมาสร้างความกังวลต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 จึงมีแนวโน้มเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 1.2% จากที่หดตัวรุนแรงในปี 2563 ที่ -6.1% ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/980873

โฆษก รบ.เผยเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 65 ส่งสัญญาณดี เอกชนขานรับนโยบาย

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยเอกชนเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกปี 2565 เติบโตต่อเนื่อง จากการเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยธนาคารโลกคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 เติบโตร้อยละ 3.9 เพิ่มสูงขึ้นจากการเติบโตร้อยละ 1 ในปีนี้ สอดคล้องกับผลวิจัยกรุงศรีโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) รายงานแนวโน้มการบริโภคภาคเอกชนในปี 2565 จะเติบโตที่ 3.6% จากที่ในปี 64 เติบโตอยู่ที่ 1.1% ที่มา : […]

‘กรุงศรี’ผวาโควิดพันธุ์ใหม่ ปัจจัยฉุดการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก

วิจัยกรุงศรีประเมินว่าไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการใช้มาตรการเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอาจส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การขนส่ง และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและอาจซ้ำเติมภาวะชะงักงันด้านอุปทาน อีกทั้ง ยังมีความเสี่ยงจากไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ระบุเตรียมปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกจากปัญหาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่มา: https://www.naewna.com/business/620939

‘กรุงศรีประเมิน กนง. คงดอกเบี้ย 0.5% ผลจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

สำนักวิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.63 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์จีดีพีบนสมมติฐานการจัดหาและการฉีดวัคซีน โดยกรณีจัดหาวัคซีนและฉีดได้ที่ 100 ล้านโดส (สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในไตรมาส 1/65) จีดีพีปีนี้จะขยายตัวที่ 2.0% และกรณีมีการฉีดวัคซีนได้ที่ 64.6 ล้านโดส (ไตรมาส 3/65) จีดีพีจะขยายตัวเหลือเพียง 1.5% วิจัยกรุงศรีประเมินว่า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่สม่ำเสมอ จึงมีแนวโน้มมุ่งเน้นการผ่อนคลายทางการเงินแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย เช่น การช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างการพักหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ […]