รับมือ Q1 เงินเฟ้อเร่งตัวสูงสุด 4% สารพัดปัจจัยซ้ำเติมค่าครองชีพ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า แรงกดดันจาก “หมวดพลังงาน” โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินเฟ้อในปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูง จากสภาพภูมิอากาศที่หนาวมากกว่าปกติ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ทั่วโลกมีความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อราคาน้ำมันโดยเฉพาะในช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันด้านสูงจากฝั่งอุปทาน (cost-push) ทั้งหมด ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปี 2564 ทำให้ ttb analytics ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยเร่งตัวสูงสุด 4% ในไตรมาสแรกปีนี้ ที่มา: https://www.prachachat.net/columns/news-860175

ของแพงยาวถึงสิ้นปี สอท.แนะรัฐลดค่าน้ำ-ค่าไฟช่วยชาวบ้าน

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารสมาชิกส.อ.ท. (โพลล์ส.อ.ท.)ประจำเดือนก.พ.2565 ในหัวข้อ “สินค้าแพงค่าครองชีพพุ่ง จะช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร” พบว่าผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และคาดว่าภาวะราคาสินค้าแพงจะยาวนานไป อย่างน้อย 3 เดือน หรืออาจยาวไปจนถึงสิ้นปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถตรึงราคาสินค้าได้อีกแค่ 1-2 เดือนเท่านั้น และเสนอให้ภาครัฐเร่งออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนโดยการลดค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า, ค่าน้ำประปา, ค่าเดินทาง รวมทั้ง ลดภาระภาษี […]

พบหมูเนื้อแดงลด เหลือกก.ละ170บ. รับปัจจัยผู้ค้าส่ง ยอมปรับราคาลง

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์การจำหน่ายสินค้า ณ ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพฯ พบว่า ราคาหมูเนื้อแดงมีแนวโน้มปรับลดลงเหลือกิโลกรัมละประมาณ 170-180 บาท ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่แผงละ 100 บาท (ไม่รวมค่าแผงกระดาษ) หรือเฉลี่ยฟองละ 3.33 บาท ถือว่าอยู่ในราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำกับ สาเหตุที่ราคาปรับลดลงมาจากต้นทางหน้าฟาร์มและผู้ค้าส่งที่ปรับลดราคาลงมาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือไว้ ที่มา: https://www.naewna.com/business/632837

‘บิ๊กตู่’ สั่งพลังงาน-พาณิชย์ ดูแลราคาน้ำมัน -สินค้าแพง อย่าให้คนไทยเดือดร้อน

นายธนกร วังบุญคงชนะ  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามสถานการณ์น้ำมันโลกอย่างใกล้ชิด  ซึ่งหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ครั้งที่ 2/2565 ได้เรียกประชุมเพื่อบริหารสถานการณ์ด้านราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้มอบหมายให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เตรียมแผนรองรับและบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยการคงนโยบายเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับประชาชน ได้แก่ การตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท นอกจากนี้ ในส่วนของราคาก๊าซหุงต้ม ยังคงตรึงราคาไว้ที่ 318 […]

สั่งห้าม! ขึ้นราคาน้ำอัดลม ตั้ง “วอร์รูม” แก้ของแพง-ตรึงราคาไก่ในห้าง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้เรียกประชุมหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ เพื่อติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง และสั่งให้ตั้งวอร์รูม โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ติดตามสถานการณ์ราคา แก้ปัญหา และดำเนินคดีกับพวกฉวยโอกาส รวมถึงได้สั่งการให้กรมการค้าภายใน เชิญผู้ประกอบการมาพบ และสั่งการผ่านกรม ยังไม่อนุญาตให้ปรับขึ้นราคาน้ำอัดลมเด็ดขาด ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2290224

‘พาณิชย์’ ตรึงราคาไก่สดห้างค้าปลีก กก.ละ 60-75 บาท ดีเดย์เริ่ม 18 ม.ค.

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย รายใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่ง สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และสมาคมที่เกี่นวข้อง เห็นตรงกันที่จะตรึงราคาจำหน่ายปลีก ณ ห้างค้าปลีกค้างส่ง ได้แก่ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ให้ไก่สดรวมเครื่องใน, ไก่สดไม่รวมเครื่องใน ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่องติดสะโพก ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม […]

กลุ้มใจเหลือเกิน ค่าครองชีพที่ลด 3 เดือนติด สวนทางราคาสินค้าพุ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในเดือนธ.ค.64 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของราคาอาหารและเครื่องดื่ม กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพ.ย. ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงมีความเปราะบาง มาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจเพิ่มเติมในปี 2564 ที่ผ่านมาครัวเรือนได้มีการทำอาชีพเสริม/มีอาชีพที่สองเพิ่มขึ้น (28%) โดยส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน์ ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความสนใจที่จะทำแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ บ่งชี้ว่าโควิด-19 ยังคงกระทบตลาดแรงงานต่อเนื่อง และในอนาคตอาจเห็นแนวโน้มการทำอาชีพเสริมมากขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/673102

กกร.ขอรัฐดูแลค่าครองชีพ-กระตุ้นกำลังซื้อ

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย ส.อ.ท.สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยในวันที่ 12 ม.ค.นี้ กกร.จะหารือภาพรวมผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจปี 2565 การส่งออก และอัตราเงินเฟ้อ เพื่อร่วมกันประเมินว่าโอมิครอนจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด โดยยอมรับว่าก่อนหน้านี้ไม่ได้คาดคิดว่าโอมิครอนจะระบาดรวดเร็วเช่นนี้ ดังนั้น ตัวเลขเศรษฐกิจที่เคยประมาณการไว้ก็จะต้องปรับให้สอดรับกับข้อเท็จจริง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2286149

เปิดจุดขายหมูโลละ 150 บาท “พาณิชย์” ติดตามสถานการณ์ราคาใกล้ชิด

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้กำชับให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 76 แห่งทั่วประเทศ ติดตามสถานการณ์ราคาเนื้อหมูที่จำหน่ายให้กับประชาชนผ่านทั้งห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกค้าส่ง และตลาดสดทั่วไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ ซึ่งล่าสุดได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดว่า ราคาหมูเนื้อแดงอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 160-200 บาท พร้อมกันนั้นได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินโครงการ “พาณิชย์ลดราคาหมู! ช่วยประชาชน” โดยให้จำหน่ายที่ กก.ละ 150 บาท ในจุดจำหน่ายทั้งหมด 667 […]

สุดช้ำ ค่าครองชีพพุ่งอีก ผู้เลี้ยงไก่ไข่ แจ้งขึ้นราคาไข่คละ หน้าฟาร์ม ฟอง 3 บ.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้า และส่งออกไข่ไก่ ได้ทำหนังสือแจ้งสมาชิก  ปรับขึ้นราคาแนะนำไข่ไก่คละ หน้าฟาร์ม เป็นฟองละ 3.00 บาท  มีผลตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค.65 เป็นต้นไป และหากมีการเปลี่ยนแปลงราคา สมาคมจะแจ้งให้ทราบต่อไป โดยจากสอบถามผู้เลี้ยงสาเหตุที่ปรับขึ้นราคาไข่ไก่ฟองละ 20 สตางค์ จาก 2.80 บาท เป็น 3 บาท เนื่องจากประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะราคาอาหารสัตว์ทำให้เกษตรกรแบกรับภาระต้นทุนไว้ไม่ไหว ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/650626/