‘พาณิชย์’ ยันคู่ค้ายังมั่นใจนำเข้า ‘หมูไทย’

นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ไทยพบโรคอหิวาต์แอฟริกันในหมู (ASF) ว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กำชับทูตพาณิชย์ของไทยที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดหลักส่งออกหมูและผลิตภัณฑ์ของไทย ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งได้รับรายงานในเบื้องต้นจากทูตพาณิชย์ในประเทศที่เป็นตลาดส่งออกเข้ามาแล้วว่าไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการนำเข้าเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากไทย แต่บางประเทศอาจจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมากขึ้น ซึ่งเป็นปกติในช่วงที่มีสถานการณ์เกิดขึ้น ที่มา : https://www.thaipost.net/economy-news/66173/

พาณิชย์ทำระบบเฝ้าระวังนำเข้าอาร์เซ็ป

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้วางระบบเฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหวของสินค้านำเข้า เพื่อเตรียมการรับมือ หากมีการเคลื่อนไหวของการนำเข้าที่ผิดปกติและอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับอุตสาหกรรมภายในประเทศแล้ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการของไทยที่กังวลว่าจะมีการไหลทะลักเข้าประเทศของสินค้านำเข้า จากการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ทั้งนี้ ภายใต้ RCEP ไทยจะลดและยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศสมาชิก RCEP ในทันที 6,340 รายการ และขยายเป็น 8,724 รายการ ภายใน 20 ปี ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/982653

ก.เกษตรฯ เผยจีนเปิด 4 ด่านนำเข้าผลไม้ไทย พร้อมรับส่งออกฤดูการผลิตปี 65

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย จีนเปิด 4 ด่านนำเข้าผลไม้ไทยแล้วเตรียมความพร้อมล่วงหน้ารับมือการส่งออกผลไม้ฤดูการผลิตปี 2565 ชี้ปี 2564 ส่งออกผลไม้ไปจีนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เตรียมประชุมความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรไทย-จีนปลายเดือนนี้หวังปี65 ส่งออกมากขึ้นหากปัญหาด่านคลี่คลาย ส่วนการขนส่งผลไม้ทางเรือจากแหลมฉบับมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน มีสายการเดินเรือเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นหลายสายเช่น Evergreen หยังหมิง KMTC Cosco Wan Hai TSL CNC CK และมีการประกาศค่าระวางล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคมที่ผ่านมา ลดค่าระวางจาก 6 พันดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ เป็นเหลือ […]

ไทยแฉ‘อินเดีย’ตั้งกำแพง กีดกันนำเข้าแอร์/ร้อง‘WTO’ช่วย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมเปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศอินเดียกำหนดมาตรการห้ามนำเข้าเครื่องปรับอากาศที่บรรจุสารทำความเย็น ออกกฎระเบียบการนำเข้าเคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี และระงับการตรวจประเมินโรงงานผลิตสินค้าในต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ รวมทั้งเคมีภัณฑ์ของไทย จึงได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หยิบยกประเด็นดังกล่าวเข้าในการประชุม Committee on TBT เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยต่อไป จากกรณีดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกซึ่งต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการที่ต้องจ้างโรงงานในประเทศอินเดียบรรจุสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ ในขณะที่การผลิตในอินเดียสามารถบรรจุสารทำความเย็นและจำหน่ายได้ทันที ที่มา: https://www.naewna.com/business/629075

กลุ้มใจเหลือเกิน ค่าครองชีพที่ลด 3 เดือนติด สวนทางราคาสินค้าพุ่ง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในเดือนธ.ค.64 ครัวเรือนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของราคาอาหารและเครื่องดื่ม กดดันให้ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 อยู่ที่ 33.9 จาก 34.7 ในเดือนพ.ย. ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังคงมีความเปราะบาง มาตรการภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น การตรึงราคาสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตจึงมีความจำเป็นอย่างมาก และจากการสำรวจเพิ่มเติมในปี 2564 ที่ผ่านมาครัวเรือนได้มีการทำอาชีพเสริม/มีอาชีพที่สองเพิ่มขึ้น (28%) โดยส่วนใหญ่เป็นการขายสินค้าออนไลน์ ขณะที่มากกว่าครึ่งหนึ่งมีความสนใจที่จะทำแต่ยังไม่ได้เริ่มทำ บ่งชี้ว่าโควิด-19 ยังคงกระทบตลาดแรงงานต่อเนื่อง และในอนาคตอาจเห็นแนวโน้มการทำอาชีพเสริมมากขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/673102

ธุรกิจแบงก์ปีหน้า ผจญความเสี่ยง กสิกรไทยฟันธง กำไร1.86แสนล้าน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่าความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 กลับมาอีกครั้งในช่วงรอยต่อระหว่างปี 2564 เข้าสู่ปี 2565 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยแล้ว ยังมีนัยต่อเนื่องมายังการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์(ธพ.)ในปี 2565 หากสามารถควบคุมการระบาดของโอมิครอนได้ดีและทันท่วงที ธนาคารพาณิชย์ก็จะยังคงมีเวลาพลิกฟื้นรายได้จากธุรกิจหลักและผลการดำเนินงานในภาพรวมกลับมาได้ แต่ระดับกำไรสุทธิ และความสามารถในการทำกำไร จะฟื้นตัวในกรอบจำกัด และจะยังอยู่ต่ำกว่าระดับในช่วงก่อนโควิด โดยคาดว่า กำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธ.พ. ไทย) ในปี 2565 จะอยู่ที่ราว 1.86 แสนล้านบาทในปี 2565 ต่ำกว่าระดับกำไรสุทธิเฉลี่ยช่วงก่อนโควิดที่ทำได้สูงกว่า 2.00 แสนล้านบาทต่อปี ที่มา: https://www.naewna.com/business/624222

‘อาคม’ ชี้เร็วเกินไปประเมินผลกระทบ ‘โอไมครอน’ จ่อชง ครม.เปิดลงทะเบียน ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอย่างใกล้ชิด จึงยังไม่อยากให้ตื่นตกใจมากจนเกินไป ขณะที่กิจกรรมที่ระงับ เช่น ไทยแลนด์พาส มองว่าเป็นการระงับชั่วคราวเพื่อรอประเมินสถานการณ์ และเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวตามที่คาดไว้ ที่ 4% กรณีที่ ธปท.มีการปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2565 ขยายตัวลดลงนั้น มองว่าอาจเร็วเกินไป เพราะยังต้องรอดูผลกระทบของสายพันธุ์โอไมครอนก่อนว่าจะแพร่เร็วและรุนแรงเหมือนสายพันธุ์เดลต้ามากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ในการประชุม ครม.สัปดาห์หน้า (28 ธันวาคม) จะเสนอหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ แต่จะยังไม่เสนอแพคเกจเพิ่มเติม เนื่องจากต้องรอให้เปิดลงทะเบียนให้ทราบจำนวนที่แน่ชัด ก่อนจะจัดสรรมาตรการเข้าไป […]

กนง.คงดอกเบี้ย 0.50% จับตาโอมิครอนความเสี่ยงศก.

คณะกรรมการนโยบาย การเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่องขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลัก แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการเงินเฟ้อโลกและการส่งผ่านต้นทุน การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 0.9% ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น การฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มา […]

“ทอท.” ปรับแผนฝ่า “โอมิครอน” ลุยไฟหารายได้-ไม่ทิ้งสายการบิน-ร้านค้า

นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. (AOT) เปิดเผยว่า ในปี 2565 ถือเป็นปีท้าทายของอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากสถานการณ์ของอุตสาหกรรมการบินได้เปลี่ยนแปลงไปหลังจากเกิดโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัวใหม่อย่างหนัก โดยได้ประกาศแผนทำธุรกิจรับปีเสือไฟ ตั้งเป้าฝ่าวิกฤติโอมิครอนได้อย่างปลอดภัย หารายได้เพิ่มจากธุรกิจที่หลากหลาย และให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่และสายการบินที่มาใช้บริการอย่างเต็มที่ ยกระดับแพลตฟอร์ม รุกให้บริการส่วนตัว–อีคอมเมิร์ซ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2271385

ทำงบประมาณแบบขาดดุลกอบกู้เศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2566-2569 โดยรัฐบาลยังต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัว ผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและประชาชนที่มีผลต่อเนื่องถึงภาคการคลัง ทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลังของไทย อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงได้อีก จนส่งผลกระทบให้ภาครัฐต้องดำเนินมาตรการ เพื่อบรรเทาผลกระทบเพิ่มเติมอีกในอนาคต ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2271380