‘กรุงศรี’ ปรับลด GDP ปีนี้ โตเหลือ 2.8 % พิษน้ำมัน-ศึกยูเครน

ศูนย์จัยกรุงศรีประเมินในกรณีฐานหากสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน มีการสู้รบยืดเยื้อไปจนถึงไตรมาส 2/2565 จึงปรับลดคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตชะลอลงเหลือ 2.8% จากเดิมคาด 3.7% โดยปรับลดมูลค่าการส่งออก ขยายตัวอยู่ที่ 2.6% จากเดิมคาด 5% นอกจากนี้ภาพการส่งออกที่อ่อนแอลง ขณะที่ราคานำเข้าที่พุ่งสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาพลังงาน ประกอบกับรายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลง ล่าสุด วิจัยกรุงศรี ปรับลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้อยู่ที่ 5.5 ล้านคน จากเดิมคาด7.5 ล้านคน ที่มา: https://www.naewna.com/business/64306

ธปท.ออกโรงยันฐานะยังแกร่ง หนี้ครัวเรือนทำ S&P หั่นเรตติ้ง 4 แบงก์

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า S&P มีมุมมองว่า หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งกฎเกณฑ์ของทางการเอื้อให้การช่วยเหลือลูกหนี้ของไทยทำได้มากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้มีลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือจานวนมาก นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง อย่างไรก็ดี S&P จัดให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง ตั้งแต่ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงไทย และทีเอ็มบีธนชาต มีแนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือคงที่ (stable outlook) เนื่องจากยังมีความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนและมีเงินสำรองในระดับสูง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2348562

“บิ๊กตู่” ชง 10 มาตรการช่วยคนไทย ทุ่ม 7 หมื่นล้านสกัดน้ำมันแพง-ค่าครองชีพพุ่ง

นายกฯประกาศ 10 มาตรการ ใช้เงิน 70,000 ล้านบาท ลดผลกระทบค่าพลังงานแพงให้ประชาชน เป็นเวลา 3 เดือน หลังประเมินสงครามรัสเซีย-ยูเครนยุติช้า ให้เร่งนำเข้า ครม.โดยเร็วที่สุด สาหรับมาตรการช่วยเหลือ ช่วยผู้ถือบัตรสวัสดิการ หาบเร่ ซื้อก๊าซหุงต้ม ช่วยค่าน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 250 บาทสาหรับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ลดค่าเอฟทีลง 22 สตางค์ต่อหน่วย ตรึงดีเซล 30 บาทต่อลิตร ไปจนถึงสิ้น เม.ย. และลดเงินนำส่งประกันสังคม ที่มา […]

“โลจิสติกส์ไทยโต” แรงหนุน RCEP พร้อมเตรียมรับรถไฟจีน-ลาว

ทิศทางธุรกิจโลจิสติกส์ไทยขยายตัวและมีการเติบโต โดยในเดือน ม.ค. มีการเปิดกิจการใหม่ 39.6%YoY โดยธุรกิจด้านการบริหารจัดการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าโตอย่างต่อเนื่อง สาหรับธุรกิจโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนเปิดกิจการใหม่กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 444 ราย และ 3 อันดับที่เปิดกิจการมากที่สุดคือ 1.การขนส่งและขนถ่ายสินค้า 2.การขนส่งสินค้าทางถนน 3.กิจกรรมตัวแทน รับจัดส่งสินค้า ทั้งนี้ “RCEP” เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยผลักดันและหนุนการส่งออกไทยให้ขยายตัวมากขึ้นและเปิดตลาดให้ไทยเพิ่มเติมในธุรกิจบริการด้านการขนส่ง อย่างไรก็ตาม ส่วนที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะการขยายการค้ากับกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP และการขยายตัวของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อเตรียมพร้อมรองรับรถไฟจีน-ลาว ที่มา: https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/168575

รมว.คลัง คาดเงินเฟ้อปีนี้อาจแตะ 5-7% หากราคาน้ำมันเฉลี่ย 100-150 ดอลลาร์/บาร์เรล

กระทรวงพลังงาน ได้มีการประเมินสถานการณ์ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเฉลี่ยทั้งปีนี้ไว้ 3 ระดับ ซึ่งจะมีผลต่ออัตราเงินเฟ้อในปีนี้ ประกอบด้วย กรณีแรก ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล กรณีที่สอง ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 120 ดอลลาร์/บาร์เรล และกรณีที่สาม ราคาน้ำมันดิบทั้งปีเฉลี่ยที่ 150 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งใน 3 กรณี คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ ขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5-7% ได้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ ได้อนุมัติมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดภาระค่าครองชีพที่เกิดจากปัญหาราคาน้ำมันแพง […]

เอกชนห่วงราคาน้ำมัน-ค่าระวางเรือยังพุ่ง ตัวแปรส่งออกข้าวไทย

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวว่าแม้ตลาดส่งออกข้าวจะกลับมาคึกคักจากความต้องการข้าวในต่างประเทศดีขึ้น ประกอบกับราคาข้าวไทยอยู่ในระดับที่แข็งขันได้ โดยราคาข้าวไทย ณ ตอนนี้ ราคา FOB ข้าว5% อยู่ที่ 415-420 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทำให้หลายประเทศในแถบเอเชียหันมาซื้อข้าวไทยไม่ว่าจะเป็นจีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์มากขึ้น เฉลี่ยต่อเดือนไทยส่งออกข้าวไปแล้ว 7 แสนตัน แต่อย่างไรก็สิ่งที่เอกชนเป็นห่วงคือ ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งกระทบกับต้นทุนการขนส่ง ประกอบกับค่าระวางเรือที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะลดลง รวมถึงตู้คอนเทนเนอร์ที่ยังมีปัญหาขาดแคลน ที่มา : https://www.thansettakij.com/economy/518426

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 33.46 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทในระยะสั้นยังคงผันผวน มีแนวต้านอยู่ใกล้โซน 33.60-33.75 บาท/ดอลลาร์ ผู้ส่งออกต่างมารอขายในช่วงดังกล่าว ขณะที่แนวรับจะอยู่ในช่วง 33.00-33.20 บาท/ดอลลาร์ สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามสถานการณ์สงครามรวมถึงการเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมถึง การประชุมระหว่างผู้นำสหรัฐฯ,พันธมิตร NATO, กลุ่มประเทศยุโรป รวมถึง กลุ่มประเทศ G7 ว่าจะมีท่าทีต่อสถานการณ์สงครามอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ที่มา : https://www.thansettakij.com/money_market/518420

ครม. สั่งเกษตรฯ หารือคลัง อุ้มหนี้สมาชิกกฟก. 50,621 ราย วงเงิน 9.28 พันล้าน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจาสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) สำหรับลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อชำระหนี้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50,621 ราย ยอดหนี้เงินต้นจานวน 9,282.92 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี นับจากวันที่ครม. […]

เปิดแฟ้ม ครม.22 มี.ค.เตรียมเคาะอุดหนุนก๊าซหุงต้ม-เบนซินเฉพาะกลุ่ม

ทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าในวันนี้ (22 มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมครม.ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาลรัฐบาล โดยที่ประชุมฯจะยังคงหารือถึงสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ ล่าสุดราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นเกินกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลอีกครั้ง ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพเพื่อลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยมาตรการจะใช้ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม ได้แก่การให้ความช่วยเหลือราคาก๊าซหุงต้มสำหรับครัวเรือนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 100 บาทต่อ 3 เดือน และการช่วยเหลือก๊าซหุงต้มสำหรับร้านค้าที่ขายอาหารที่ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่ง นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุข เสนอร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2566-2570 ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/994963

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ชี้ Food Delivery สัญญาณชะลอตัว หลังกำลังซื้อลด-ต้นทุนเพิ่ม-แข่งขันสูง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ดัชนีชี้วัดปริมาณการจัดส่งอาหารไปยังที่พัก (Food Delivery) ในช่วงครึ่งแรกปี 2565 อาจจะให้ภาพที่ไม่เร่งตัวเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2564 เท่าใดนัก แต่คงจะขยายตัวได้ราว 19% จากปัจจัยเรื่องฐานที่ต่ำในช่วงปีก่อน โดยในช่วงต้นปี 2565 เริ่มปรากฏสัญญาณที่สะท้อนถึงการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านความถี่ ราคา และประเภทอาหารที่สั่ง ซึ่งหากมองต่อไปในช่วงข้างหน้า ซึ่งมีผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนเข้ามาเพิ่มเติม ทำให้ไม่เพียงแต่ต้นทุนธุรกิจจะขยับสูงขึ้นโดยที่การปรับราคาอาหารคงทำได้จำกัด แรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ยังอาจส่งผลกระทบต่อการใช้บริการ และยอดคำสั่งซื้อของผู้บริโภค ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2022/185045