ผอ.สนค.หวั่นโอไมครอนติดง่าย ทำห่วงโซ่การผลิตชะงักกระทบเศรษฐกิจ

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ ห่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน หากประมาทและไม่มีการป้องกันที่ดี เกิดการติดเชื้อในสายการผลิตขนาดใหญ่ อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิตสินค้า ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างทำให้ภาคการผลิตต้องหยุดชะงัก มีผลกระทบกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในที่สุด ซึ่งเศรษฐกิจไทยเวลานี้กำลังค่อยๆปรับฟื้นตัว หากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19ซ้ำเติมอีกครั้งจะยิ่งทำให้สถานการณ์ราคาสินค้าในประเทศมีต้นทุนสูงขึ้นและอัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ที่มา : https://news1005.mcot.net/view/620324bae3f8e40731ff9625

สนค.เปิดผลสำรวจ ร้านโชห่วยยังจำเป็น ลดค่าครองชีพชุมชน ส่งเสริมศก.ฐานราก

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในช่วงเดือนต.ค. 2564 ทั่วประเทศ โดยส่วนใหญ่ 87% คิดว่าร้านโชห่วยมีความจำเป็นต่อการซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และผู้ที่มีรายได้ไม่สูงมากนักซึ่งจะซื้อสินค้าเล็กๆ น้อยๆ และค่อนข้างบ่อย ในวงเงินไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง ข้อดี คือ สะดวกในการเดินทาง ราคาถูก และมีสินค้าแบ่งขาย ขณะที่ข้อบกพร่อง คือ สินค้าไม่หลากหลาย จำนวนน้อย การจัดวาง ความสะอาด และการให้บริการ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ยกระดับร้านค้าโชห่วย/ร้านค้าชุมชนมาตลอด […]

ชี้ช่องส่งออกสินค้า 4 กลุ่ม

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า สนค.ได้จัดทำโครงการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของไทยสู่เศรษฐกิจและการค้ายุคใหม่ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการค้าและบริการ ในสินค้าเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ ยาและยาชีววัตถุ เครื่องมือแพทย์ อาหารทางเลือก (โปรตีนจากจิ้งหรีด) และสมุนไพร เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ และมีแนวโน้มเติบโตในตลาดโลก อีกทั้ง ยังสอดคล้องกับนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2244114

พาณิชย์ชี้ศก.ไทยมีสัญญาณบวก จากส่งออก-ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้น

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยความเคลื่อนไหวของราคาสินค้า และค่าบริการที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อล่าสุด เดือนก.ย. 64 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัว 1.68% ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศอื่น “ในทางตรงกันข้าม มีสัญญาณทางบวก จากทั้งการส่งออก และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/137413

ดัชนีเชื่อมั่นทะยาน 2 เดือนติด รับอานิสงส์ลดเคอร์ฟิวราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมในเดือน ก.ย.64 พบว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต เป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ดีขึ้นตามลำดับ ประกอบกับภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการควบคุม ทั้งการปรับลดเวลาเคอร์ฟิว คลายล็อกดาวน์ให้ผู้ประกอบการเปิดดำเนินการได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น และยังมาจากปัจจัยจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญๆปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เช่น ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2216302

ผักแพงยอดจับจ่าย “กินเจ” วูบ 40% “พาณิชย์” ห้ามพ่อค้า-แม่ค้าอ้างน้ำมันพุ่งขึ้นราคา

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือน ก.ย.64 ว่า เท่ากับ 101.21 เทียบกับเดือน ส.ค.64 เพิ่มขึ้น 1.59% ส่วนเทียบเดือน ก.ย.63 เพิ่มขึ้น 1.68% ขยายตัวอีกครั้งหลังจากติดลบ 0.02% ในเดือน ส.ค.64 ขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 64 เพิ่มขึ้น […]

เงินเฟ้อ‘ก.ย.’ขยับ1.68% รับน้ำมันแพง/มาตรการลดค่าไฟสิ้นสุด

นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ย. 2564 เท่ากับ 101.21 เทียบกับเดือนส.ค. 2564 เพิ่มขึ้น 1.59% และหากเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 1.68% เป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้ง หลังจากหดตัวในเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐบาลทั้งการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาที่สิ้นสุดไปตั้งแต่เดือนส.ค. 2564 ที่ผ่านมา และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงขยับสูงขึ้นต่อเนื่อง ที่มา: https://www.naewna.com/business/606826

พาณิชย์แนะธุรกิจขนส่ง ปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ของโลก

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า การศึกษาการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจบริการโลจิสติกส์มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการรับส่งเอกสารและสิ่งของตามการเติบโตของการค้าออนไลน์ โดยแนะให้เร่งปรับตัวโดยเฉพาะธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของจะต้องปรับโมเดลธุรกิจ โดยแนะให้ลงทุนด้านเครือข่ายเพิ่มขึ้น และต้องมีความยืดหยุ่นหากเกิดการจำกัดและปรับเวลาการเดินรถ อีกทั้งควรหาช่องว่างทางธุรกิจ โดยการปรับตัวให้สอดคล้องกับการให้บริการสังคมสูงอายุ ที่มีแนวโน้มการขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ อาทิ  เทคโนโลยีที่ใช้โรบอทเข้ามาควบคุมการทำงานวางแผนกำลังการจัดการคลังสินค้า ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/250881/

คนไทยแห่ช้อปออนไลน์ จ่ายกระหน่ำ7.5หมื่นล้านต่อเดือน

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่าได้ทำการสำรวจความเห็นของประชาชน จำนวน 7,499 คน ทั่วประเทศ เกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-มี.ค.64) ใน พบว่ามีมูลค่าการใช้จ่ายสูงถึง 75,000 ล้านบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้น 45.05% จากที่เคยสำรวจช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่มีมูลค่า 52,000 ล้านบาทต่อเดือน และมีการซื้อออนไลน์เพิ่มขึ้น 68.97% จากการสำรวจครั้งก่อน สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New […]

เปิดเทรนด์”อาหาร”มาแรงแห่งยุค ฮาลาล-ออร์แกนิก-ฟังก์ชันฟู้ด

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยสินค้ากลุ่มอาหารที่มีโอกาสขยายตัวสดใส ได้แก่ อาหารฮาลาล อาหารมังสวิรัติ อาหารออร์แกนิก อาหารฟังก์ชัน อาหารผู้สูงอายุและผู้ป่วย ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่ต้องการและเป็นกระแสใหม่ของโลก โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยควรให้ความสำคัญ วางแผนผลิต และทำตลาดส่งออกให้เพิ่มขึ้น ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตคือจำนวนประชากรและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศมุสลิม โดยข้อมูลปี 53–93 ประชากรการขยายตัวเร็วและคาดจะเพิ่มขึ้น 73% เป็น 2.8 พันล้านคนในปี 93 คิดเป็นสัดส่วน 29.67% ของประชากรโลกทั้งหมด และในปี 62 […]