มองแง่ดีโต 0.7% ปีนี้ได้สบาย ธปท.จับตาโอมิครอน-วัตถุดิบขาด-น้ำมันแพง

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ต.ค. และข้อมูลเร็วเดือน พ.ย.มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการทยอยผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว โดยลดวันกักตัวลง การส่งออกขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากความต้องการซื้อในต่างประเทศ ซึ่งเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายในประเทศ และการผลิตปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาคเอกชนในเดือน ต.ค.ชะลอลง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2254830

แบงก์ชาติจับตา “โอไมครอน” มั่นใจหลายประเทศรับมือได้ คงจีดีพีปีนี้โต 0.7%

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลกระทบของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ยังไม่ชัดเจนมากนักและหลายประเทศมีการออกมาตรการป้องกันรับมือได้อย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า แต่ต้องดูพัฒนาการของเชื้อไวรัสว่ามีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งทาง ธปท. ก็ได้จับตาดู รอความชัดเจนจากองค์การอนามัยโลกใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อจะมีการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และได้ประเมินจีดีพีไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ตามคาดการณ์อยู่ที่ 0.7% เมื่อพิจารณาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เริ่มมีทิศทางดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ จะยังไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ หากจะมีผลจริงจะอยู่ในช่วงต้นปี 2565 ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3066218

แบงก์มึนโควิดหนี้เน่า 2 ล้านล้าน ธปท.ช่วยประคองต่อลมหายใจ

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันสถาบันการเงินแบกรับภาระหนี้ก้อนใหญ่อยู่ประมาณ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเรียกว่าเป็นหน้าผาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินทั้งประเทศ แต่ไม่รวมสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยที่ผ่านมาต้องชื่นชมธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) และรัฐบาลที่ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการช็อกและล้มลง ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2250017

ห่วงไทยติดบ่วงหนี้รั้งฟื้นตัว แบงก์เร่งอุ้ม 2 ล้านล้านไม่ให้ตกหน้าผา

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า หลังจากไทยได้เริ่มเปิดประเทศประเด็นสำคัญคือจะฟื้นตัวต่อไปได้อย่างไร เพราะจากการขาดดุลเงินสดของรัฐบาล และปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันอยู่ที่ 90% ของจีดีพี มูลหนี้ 14.27 ล้านล้านบาท โดยเฉพาะหนี้เอสเอ็มอีที่ตอนนี้เป็นหนี้ที่มีปัญหาทั้งเอ็นพีแอล และใกล้จะเป็นเอ็นพีแอลรวมกันถึง 20% หรือ 1 ใน 5 ของหนี้เอสเอ็มอี โดยสถานการณ์โควิดทำให้สถาบันการเงินไม่รวมแบงก์รัฐ ต้องแบกรับภาระหนี้ 2 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นหน้าผาเอ็นพีแอลของสถาบันการเงิน ทั้งนี้ หนี้ 2 ล้านล้านบาทเป็นจุดเปราะบางสำคัญ […]

หนุนจูนเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจใหม่

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าบริบทของโลกที่เปลี่ยนไป หากไทยไม่เร่งยกระดับเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจ อาจทำให้เศรษฐกิจไทยโตในอัตราที่ชะลอลงเรื่อยๆ เนื่องจากเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจไม่แข็งแรงเหมือนเดิม สะท้อนจากการส่งออกที่พบว่าเวียดนามแซงหน้าไทยไปค่อนข้างมาก ขณะที่สินค้าของไทยยังไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงอาจไม่เป็นที่ต้องการของตลาดที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่ด้านการลงทุนโดยตรง 5 ปีที่ผ่านมา เงินลงทุนโดยตรงของเวียดนามสูงกว่าไทยเกือบ 2 เท่า ผลจากความน่าสนใจของไทยที่น้อยกว่าคู่แข่ง ในด้านต้นทุน คุณภาพแรงงาน โครงสร้างที่เข้าสู่สังคมสูงวัย และสิทธิประโยชน์ทางการค้า ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2245197

เศรษฐกิจไทยโตต่ำ! ผู้ว่าฯ ธปท. จี้ผนึกกำลังสร้าง “growth story”

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หวั่นศักยภาพเศรษฐกิจไทยตกต่ำ ชี้แนวโน้มหลังพ้นวิกฤตโควิดไปแล้วอาจโตได้แค่ 3% ต่อปี ถูกเวียดนามแซงทั้งด้าน “ส่งออก-FDI” จี้ทุกฝ่ายร่วมมือกันสร้าง “growth story” ใหม่ หลังพึ่งพาโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ มากว่า 40 ปีไม่เปลี่ยน จะต้องปรับสู่โหมด facilitator ปล่อยให้กลไกตลาดทำงานเองมากขึ้น เพื่อสร้างระบบนิเวศหรือ ecosystem ที่สนับสนุนและผลักดันให้ภาคธุรกิจปรับตัว และเศรษฐกิจโตอย่างเข้มแข็ง โดยตั้งธง หรือวางทิศทางนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้ภาคธุรกิจเห็นภาพเดียวกันและวางแผนปรับตัวได้ และมีกลไกสนับสนุน โดยเฉพาะการปรับตัวเข้าสู่กระแสดิจิทัลและความยั่งยืนที่อาจต้องเพิ่มแรงจูงใจให้เร่งทำ […]

ธปท.คลายกฎ LTV รัฐบาลเปิดประเทศ ผู้ประกอบการมั่นใจ ปี65ธุรกิจอสังหาฟื้น

นายวิชัย วิรัชตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เผย ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปี 65 จะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากภาพรวมของโควิด-19 ในประเทศที่เริ่มดีขึ้น การเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงสิ้นปี 2565 ส่งผลให้ผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์มีความมั่นใจกลับมาเปิดโครงการใหม่มากขึ้น สิ่งที่ต้องติดตาม คือการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยจากธนาคารที่ราคาต่ำกว่า 2 ล้านบาท ยังปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 50-70% ขณะที่ระดับราคา 2-5 ล้านบาท พบว่าเพิ่มเป็น 20-30% ผู้ประกอบการมองว่าการปฏิเสธสินเชื่อที่สูงมาจากความเข้มงวดของธนาคาร อย่างไรก็ตามในปี […]

ธปท.ปลดล็อก! ให้แบงก์จ่ายเงินปันผลได้ ชี้สถานะยังแกร่งผ่านประเมินวิกฤติโควิด

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้กำหนดแนวทางการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2564 โดยพิจารณาจากผลการประเมิน เพื่อทดสอบระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ภายใต้ภาวะวิกฤติ (stress test) ในช่วงปี 2564-2566 พบว่าระบบธนาคารพาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่งเพียงพอรองรับสถานการณ์ดังกล่าวได้ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ได้เพิ่มความระมัดระวังด้วยการทยอยตั้งสำรองและสะสมเงินกองทุนมาโดยตลอด ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีอัตราการกันเงินสำรองสูงถึง 1.55 เท่าของสินเชื่อด้อยคุณภาพ และมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) 19.9% ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2564 ที่มา […]

ธปท.เผยบาทแข็งแค่ระยะสั้น ไม่กระทบส่งออกทั้งปี-ไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวถึงเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้ว่า เป็นสถานการณ์ในระยะสั้น เพราะหากเทียบกับต้นปี 64 เงินบาทในปัจจุบันได้อ่อนค่าลงไปกว่า 6-7% (ข้อมูล ณ 5 ม.ค.64 เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.90 บาท/ดอลลาร์) ดังนั้น จึงเชื่อว่าไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกไทยในปีนี้ ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/144459

ธปท.ส่องปล่อยกู้ ธุรกิจ-ครัวเรือนสะพัด รับคลายล็อกดาวน์โควิด-19

ธปท. เปิดผลสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ พบว่าความต้องการสินเชื่อในไตรมาส 4/64 คาดธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี มีแนวโน้มต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ธุรกิจในภาคการค้าต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นตามการดำเนินธุรกิจที่กลับมาเป็นปกติหลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง ในส่วนของสินเชื่อภาคครัวเรือน คาดความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกหมวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในไตรมาส 4 โดยปรับดีขึ้น หลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/970928