แบงก์ชาติแจงเศรษฐกิจไทยไม่มีปัญหา stagflation แค่ฟื้นตัวช้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ยังมีความเปราะบางและไม่เท่าเทียมกัน ลักษณะ K-SHAPE ประชาชนยังไม่รู้สึกเหมือนก่อนโควิด เพราะรายได้และการจ้างงานยังไม่เหมือนเดิม เพราะการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้และการจ้างงาน ดังนั้น โจทย์หลักของ ธปท. คือ ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด และ ห้ามสะดุด โดยปีนี้ความเสี่ยงที่จะสะดุดอยู่ 4 เรื่อง คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะโอมิครอน อัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) สถานการณ์โลก […]

ผู้ว่าฯ ธปท.มั่นใจเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง จับตา 4 ปัจจัยที่อาจทำให้ศก.สะดุด

ผู้ว่าฯ ธปท.มั่นใจเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง จับตา 4 ปัจจัยที่อาจทำให้ศก.สะดุด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Meet the Press ว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น เชื้อ เนื้อหมู ราคาน้ำมันนั้น ธปท.มองว่าไม่น่าเป็นห่วง และยังเชื่อว่าทั้งปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ร้อยละ1-3% อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากจนหลุดกรอบก็มีมาตรการที่พร้อมจะนำออกมาใช้ดูแล อีกทั้งยังต้องจับตา […]

ลุ้น! “โอมิครอน” จบใน 6 เดือน ธปท.ใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายกู้เศรษฐกิจ

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานประชุมนักวิเคราะห์ ครั้งที่ 4/64 ว่า เศรษฐกิจไทยปี 65 มีแนวโน้มดีขึ้นจากปี 64 คาดจะขยายตัว 3.4% แต่ยังมีความเสี่ยงที่สะสมอยู่ โดยต้องจับตาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และการฟื้นตัวที่แตกต่างกันของแต่ละภาคธุรกิจ เพื่อประเมินภาพในการใช้นโยบายและการออกมาตรการแก้ไข อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/feature/2285016

กนง.ส่องเศรษฐกิจไทยปี65ฟื้น หวัง‘โอมิครอน’กระทบครึ่งแรก

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องในภาพรวม แต่ในระยะสั้นต้องจับตาโควิด โอมิครอน รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกัน ตลาดแรงงานยังเปราะบาง และยังได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกและในประเทศ ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญในปีนี้ ทำให้ กนง. ปรับลดจีดีพีมาเหลือ 3.4% จาก 3.9%  อย่างไรก็ตามแม้ประเมินว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว แต่รายได้แรงงานยังคงฟื้นตัวช้า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่สามารถกลับมาสู่ระดับปกติ ทำให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมา รวมถึงรูปแบบการจ้างงานต่างๆที่จะเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบโควิด-19 ทำให้รายได้แรงงานยังไม่กลับมาฟื้นตัวล้อไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/981877

ธปท.คาดปัญหาการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน คลี่คลายครึ่งปีหลัง

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดมากขึ้นทั่วโลก อาจทำให้ปัญหาการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน (global supply chain disruption) กลับมารุนแรงอีกครั้งหลังจากที่ได้คลี่คลายลงบ้างในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ธปท. คาดว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนจะจำกัดอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งน่าจะทำให้ปัญหา supply chain disruption ทยอยคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี แต่หากการแพร่ระบาดรุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้น หรือเกิดการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่รุนแรง ก็อาจส่งผลให้ปัญหา global […]

ผู้ประกอบการสภาพคล่องตึงตัว แบกภาระต้นทุนสูงอุปสรรคการทำธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือนธันวาคม 2564 ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 49.0 ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีฯของภาคการผลิตใกล้เคียงเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีฯ ของภาคที่มิใช่การผลิตปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ได้รับผลดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค แม้โดยรวมดัชนีฯ จะปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron กดดันให้ดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ เช่น ดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการที่ปรับดีขึ้น แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่องตึงตัว ขณะที่ข้อจำกัดด้านต้นทุนสูงยังเป็นอุปสรรคอันดับแรกสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่มา : […]

จับตามาตรการลดQE ขึ้นดบ.สกัดภาวะฟองสบู่

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า สัญญาณฟองสบู่แตกแบบวิกฤตการณ์สินเชื่อซับไพร์มอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากฟองสบู่ในตลาดการเงินโลกที่สะสมมาอย่างยาวนานตลอดช่วงเวลาของการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE กระตุ้นเศรษฐกิจ สภาพคล่องล้นเกินเหล่านี้ได้ไหลเข้าสู่ตลาดการเงินมากกว่าภาคการผลิตและภาคเศรษฐกิจจริงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ตลอดจนการขยายตัวของการลงทุนแบบเก็งกำไรใน “คริปโตเคอร์เรนซี่” และ “สินทรัพย์ดิจิทัล” อาจก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดการเงินโลกรุนแรงและเกิดฟองสบู่ตลาดการเงินแตกได้ในช่วงปี 2565-2566 ได้ ทั้งนี้การลด QE และขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้วอาจไม่สามารถหยุดภาวะฟองสบู่ในตลาดการเงินได้ จึงเสนอเก็บภาษีทุนในระดับโลกเพื่อลดความผันผวนและความเสี่ยงฟองสบู่ของตลาดการเงินโลก รวมทั้ง ลดความเหลื่อมล้ำอย่างมหาศาลในระบบทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ที่มา : https://www.naewna.com/business/624785

‘อาคม’ ชี้เร็วเกินไปประเมินผลกระทบ ‘โอไมครอน’ จ่อชง ครม.เปิดลงทะเบียน ‘บัตรคนจน’ รอบใหม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอย่างใกล้ชิด จึงยังไม่อยากให้ตื่นตกใจมากจนเกินไป ขณะที่กิจกรรมที่ระงับ เช่น ไทยแลนด์พาส มองว่าเป็นการระงับชั่วคราวเพื่อรอประเมินสถานการณ์ และเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะขยายตัวตามที่คาดไว้ ที่ 4% กรณีที่ ธปท.มีการปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจในปี 2565 ขยายตัวลดลงนั้น มองว่าอาจเร็วเกินไป เพราะยังต้องรอดูผลกระทบของสายพันธุ์โอไมครอนก่อนว่าจะแพร่เร็วและรุนแรงเหมือนสายพันธุ์เดลต้ามากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ในการประชุม ครม.สัปดาห์หน้า (28 ธันวาคม) จะเสนอหลักเกณฑ์ในการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ แต่จะยังไม่เสนอแพคเกจเพิ่มเติม เนื่องจากต้องรอให้เปิดลงทะเบียนให้ทราบจำนวนที่แน่ชัด ก่อนจะจัดสรรมาตรการเข้าไป […]

เศรษฐกิจ – คลังจ่อกระตุ้นศก.-ของขวัญปีใหม่ แบงก์ชาติห่วงหนี้ครัวเรือน-ฉุดเติบโต3ปีข้างหน้า

กระทรวงคลังจ่อกระตุ้นศก.-ของขวัญปีใหม่ ขณะนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เป็นของขวัญปีใหม่ ในส่วนของกระทรวงการคลังดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ส่วนภาพรวมหลังเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ย. การจัดเก็บรายได้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สูงกว่าประมาณการ และสูงกว่าปีก่อนราว 1 หมื่นกว่าล้านบาท อีกทั้งภาพรวมการส่งออกที่เติบโตได้อย่างมีศักยภาพจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ว่าปีนี้ภาพรวมการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นราว 16-17% ด้านเสถียรภาพระบบการเงินไทยแบงก์ชาติประเมินยังแข็งแกร่ง แต่ห่วง 2-3 ปีข้างหน้าหนี้ครัวเรือนอาจส่งผลกระทบเติบโต แนะรัฐเร่งช่วยเหลือรายย่อย ที่มา : […]

แบงก์ชาติห่วงหนี้ครัวเรือนถ่วงเศรษฐกิจไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ทาง ธปท.ได้เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการการนโยบายการเงิน (กนง.) และ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 64 เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยที่ประชุมเห็นว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง และสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลได้ออกมาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและช่วยเหลือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงิน และเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปนั้น ควรเร่งผลักดันมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่มีภาระหนี้สูงอย่างต่อเนื่อง ที่มา : https://bit.ly/3DTgkJN