ส.อ.ท. ผวาน้ำมันดิบพุ่ง 150 เหรียญฯ ห่วงเงินเฟ้อ ของแพง ซ้ำเติมประชาชน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่าสถานการณ์เงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้น น่าเป็นห่วงอย่างมาก ขณะที่ผลกระทบในทางอ้อมนั้น มีแน่นอน โดยหลังจากชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ทำให้มีผลต่อระบบทางการเงินธุรกรรมต่างๆ และการแช่แข็งสกุลเงินของรัสเซียที่อยู่ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ เรื่องวิกฤตที่สุด คือราคาพลังงาน ปัจจุบันราคาน้ำมันโลกได้ทะลุเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และถ้าสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อไปอาจจะทะลุ 120 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล หรือ 150 เหรียญสหรัฐฯต่อ บาร์เรล ก็เป็นไปได้ และการที่รัสเซียปิดท่อแก๊สที่ส่งไปยังประเทศทางยุโรป อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลน […]

‘จุรินทร์’ชี้ศึกรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลเงินเฟ้อ ไทยต้องประเมินอาจชะลอนำเข้า-ส่งออก

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ กล่าวถึงความตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน ว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ยอมรับว่าอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก-นำเข้าที่ต้องชะลอไปบ้าง ซึ่งเหตุผลเกิดจากค่าเงินรูเบิลยังไม่เสถียร มีความผันผวนของค่าเงิน ซึ่งต้องรอให้นิ่งก่อน ไม่เช่นนั้นการคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน ก็จะคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อค้าทั่วโลกรับรู้อยู่แล้ว หากค่าเงินยังไม่เสถียร ก็ต้องรอพิจารณาต่อว่าเป็นอย่างไร ส่วนผลกระทบทางอ้อมนั้น ก็จะต้องติดตามต่อไป แต่ที่เห็นชัดเจนที่สุด คือ ราคาน้ำมันที่ขึ้นไป 100 กว่าเหรียญแล้ว แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ ที่มาจากการคำนวณราคาสินค้าที่จำหน่ายจริงในตลาด ที่มา: https://www.naewna.com/business/639627

โอมิครอนป่วนธุรกิจโรงแรม

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย เปิดเผยว่า ผลสำรวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน ก.พ. 2565 มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจากผลของมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศของภาครัฐ และการกลับมาเปิดลงทะเบียน Test & Go ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.65 อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีสัดส่วนต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 จากการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน และการเดินทางเข้าพักมีต้นทุนสูง เช่น การตรวจ RT-PCR ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรมเดือน ก.พ.65 ได้สำรวจระหว่างวันที่ 11-23 ก.พ.65 […]

วิกฤติแรงงานขาดแคลน 7 แสนคน ส.อ.ท.ร้องรัฐเร่งแก้ก่อนกระทบเศรษฐกิจ

นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สายงานแรงงาน เปิดเผยว่า แม้รัฐบาลเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่ขณะนี้ธุรกิจที่ใช้แรงงานเข้มข้นทั้งภาคการผลิต ส่งออก และก่อสร้างยังคงประสบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานโดยรวม 700,000 คน โดย ส.อ.ท.ได้ทำหนังสือไปยังกระทรวงแรงงานเมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เพื่อให้เร่งแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด เนื่องจากหากภาคการท่องเที่ยวและบริการฟื้นตัว จะกดดันต่อปัญหานี้มากขึ้นและที่สุดจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2334447

สศอ. ชู ‘ไทย’ เป็นฮับอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ดำเนินโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย ตามแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวมทั้ง 3 มิติ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model โดยมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างและรูปแบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตจากภาคการเกษตรเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต โดยเฉพาะพืชที่มีความสำคัญต่อภาคการเกษตรและความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน ภายใต้แนวคิดของระบบไบโอรีไฟเนอรี่ (Biorefinery) ผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรี่มีมูลค่า 670,840 ล้านดอลลาร์ และในปี 2573 คาดว่าผลิตภัณฑ์ไบโอรีไฟเนอรี่จะมีมูลค่าสูงถึง 1,734,510 […]

FAO ชี้ ดัชนีราคาอาหารโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

BIOTHAI เปิดเผยรายงานข่าวองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาชาติ ( FAO ) เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 ที่ชี้ว่าราคาอาหารทั่วโลกยังพุ่งไม่หยุด โดยดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ของโลกอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เพิ่มขึ้นคิดเป็น 24.1% เมื่อเทียบกันปีต่อปี สูงกว่าดัชนีราคาอาหารเมื่อปี 2008 ซึ่งเป็นวิกฤตอาหารครั้งสำคัญของโลก (Global Food Crisis) สอดคล้องกับนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ […]

ไทยตั้งเป้าส่งออกข้าว 7 ล้านต้น ปักธงบุกตลาดซาอุฯ รับฟื้นสัมพันธไมตรี

นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 65 กรมฯ ได้ปรับแผนการทำตลาดข้าวไทย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังคงมีการแพร่ระบาดโควิด เพื่อผลักดันการส่งออกตามเป้าหมาย 7 ล้านตัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่ส่งได้ 6.1 ล้านตัน โดยจะเน้นกระชับความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนผู้นำเข้ารายสำคัญในจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ พร้อมใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อติดตามความต้องการของตลาด และมีแผนขยายตลาดข้าวไทยในซาอุดิอาระเบีย หลังจากมีการฟื้นความสัมพันธ์. ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/830561/

อคส.จับมือเอกชนเมียนมาตั้งคลังสินค้า

นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา อคส.ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท Maha Shwe Ngwe จำกัด จากเมียนมา เพื่อหาช่องทางร่วมลงทุนสร้างคลังกระจายสินค้าอุปโภค-บริโภคในเมียนมา รองรับการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์ในตลาดเมียน ถือเป็นการขยายสาขาคลังสินค้าในต่างประเทศของ อคส.เป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ยังมีแผนร่วมมือส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองกับเมียนมา ซึ่งไทยต้องนำเข้าปีละกว่า 2 ล้านตัน และกากถั่วเหลืองสำหรับผลิตอาหารสัตว์ อีกกว่าปีละ 2 ล้านตัน จะส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางด้านวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้กับเกษตรกรไทย โดยไม่ถือเป็นการทำการค้าแข่งกับภาคเอกชนของไทย เพราะไทยมีผลผลิตถั่วเหลืองน้อยมากไม่ถึงปีละ […]

สรท.ถกแบงก์ชาติ รับมือหลังรัสเซียถูกตัดออกจาก SWIFT

นายชัยชาญ  เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับกรณีสหรัฐและชาติพันธมิตรจะตัดรัสเซียออกจากเครือข่ายการชำระเงินชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือ SWIFT ว่า การตัดรัสเซียออกจากระบบ SWIFT กระทบต่อการชำระเงินทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั่งไทยโดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าต่อผู้ส่งออกของไทยอย่างแน่นอน แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลทันทีเพราะต้องรอการประชุม สมาคมโทรคมนาคมทางการเงินโลกหรือ SWIFT อย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลเมื่อไร อย่างไรก็ตามหากมีผลบังคับใช้จริงส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยเพราะการชำระเงินต้องผ่านระบบ SWIFT โดยผู้ส่งออกใช้ระบบการโอนเงินผ่าน SWIFT ระหว่างลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/990939

โอมิครอนทำพิษฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม ชะลอตัวลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงจากการระงับการลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ในหลายประเทศ โดยการบริโภคและลงทุนของภาคเอกชนปรับลดลง จากความกังวลต่อการระบาด รวมถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงจากเดือนก่อน ที่มา : […]