ความเชื่อมั่นอุตฯหัวทิ่ม กังวลโควิดระบาด-ศก.แย่-การเมืองร้อน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 76.8 ลดลงจากระดับ 78.9 ในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคและทุกขนาดอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ คือ ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็น 29 จังหวัด บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ตลอดเดือนสิงหาคม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่คลี่คลายทำให้กำลังการผลิตลดลงและการส่งมอบสินค้าล่าช้าโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก […]

เหล็กไทยยังไปโลดสวนโควิด รัฐหนุนเมดอินไทยแลนด์ดันอุตสาหกรรมคึกคัก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.) ความต้องการใช้เหล็กในภูมิภาคต่างๆของโลกและประเทศไทยมีการปรับตัวในทิศทางบวกแม้ส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้การลงทุนภาครัฐ ปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.7% ด้วยงบประมาณปี 2564 ซึ่งมีงบลงทุน 4.2 แสนล้านบาท และไตรมาสหนึ่ง ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.-ธ.ค.2564) อีก 1.0 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญให้มีความต้องการใช้เหล็กมากขึ้น ทั้งนี้ส.อ.ท.แนะรัฐสนับสนุนโครงการ MiT เพื่อมุ่งหวังช่วยสร้างความเข้มแข็งรวมทั้งการส่งเสริมให้เพิ่มการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าไทยได้มากขึ้น โดยเฉพาะโอกาสในการเข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีมูลค่าสูงถึงปีละ […]

ส.อ.ท.แนะรัฐปรับ Factory Sandbox ป้องคลัสเตอร์ภาคผลิตรับออร์เดอร์ส่งออกพุ่ง

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงมีมาต่อเนื่อง หลังจากเศรษฐกิจต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะจากคู่ค้าหลักทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมถึงจีนเพื่อป้องกันการผลิตไม่ให้สะดุดในการขับเคลื่อนการส่งออกที่เหลือของไทยในช่วงท้ายปีนี้ ภาครัฐควรปรับโครงการนำร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ที่ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากมุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้ผลิตเพื่อส่งออกขนาดใหญ่ (แรงงาน500คนขึ้นไป) 4 ประเภท ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ 3.อาหาร และ 4.อุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องมองให้ครบกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำหรือคลัสเตอร์ อื่น ๆ ด้วย ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000086334

‘ล็อกดาวน์’ไร้ผล สอท.ชี้เหตุปล่อยต่างด้าวหนีเข้าเมือง

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 9 ในเดือนส.ค. 64 ภายใต้หัวข้อ “Lockdown อย่างไร เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และสาธารณสุข” พบว่าผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนั้น สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ได้ในขอบเขตที่จำกัด สาเหตุนั้นเกิดจากความไม่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น กรณีการลักลอบเข้าเมืองของแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย นอกจากนี้ ยังเสนอให้ภาครัฐเร่งใช้งบประมาณในการจัดหาและสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 Antigen […]

ความเชื่อมั่นอุตฯร่วง ล็อกดาวน์ฉุดกำลังซื้อรายได้หาย

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ค.64 อยู่ที่ระดับ 78.9 ลดลงจากเดือนที่แล้วที่ระดับ 80.7 ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และต่ำสุดในรอบ 14 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 63 ส่วนดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 89.3 ปรับตัวลดจากที่คาดไว้อยู่ที่ระดับ 90.8 เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ สอท. เสนอภาครัฐให้เร่งตรวจเชิงรุกในกลุ่มพื้นที่สีแดงเข้ม เพื่อแยกผู้ติดเชื้อออกจากกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ เร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 ในสถานประกอบการ […]

กำลังผลิตลดกระทบการส่งออก โควิดทำแรงงานอุตฯขาด

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll เดือนก.ค. 64 ภายใต้หัวข้อ “การจัดการปัญหาแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19” พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น จนส่งผลทำให้กำลังการผลิตลดลงและกระทบต่อการส่งออกของไทย ที่มา: https://www.naewna.com/business/592181

ส.อ.ท.ห่วงโควิดพุ่งไม่หยุด เกิดซัพพลายดิสรัปชัน สินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลนหนัก

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่าหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ประเทศไทยอาจประสบกับภาวะซัพพลายดิสรัปชัน คือ ภาวะสินค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงการระบาดโควิด-19 รอบ 1 และรอบ 2 โดยอาจเกิดขึ้นได้ช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งจากความต้องการของประชาชน และการผลิตที่ไม่มากพอ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดภายในโรงงาน ทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาได้ ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2860008

บิ๊ก 3 สถาบันจ่อถกความเสียหายศก.หลังขยายล็อคดาวน์อีกเดือน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องรอประเมินสถานการณ์ล่าสุดที่ศบค.ออกมาประกาศเพิ่มพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดง) จาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด ต่ออีก 1 เดือน จึงจะนำมาหารือกันในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบด้วยส.อ.ท. หอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย  หรือกกร.  เบื้องต้นกำหนดการประชุมวันที่ 4 ส.ค. นี้ว่า จะมีการปรับเป้าตัวเลขเศรษฐกิจหรือไม่ จากเดิมในเดือนก.ค.คาดการณ์ว่า ปี […]

ส.อ.ท.จ่อเสนอ ศบศ. สู้ต่อลุ้นอุ้มเอสเอ็มอี 4 แนวทาง

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. และสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยจะเสนอแนวทางการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพิ่มเติมต่อที่ประชุมศูนย์ บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ในวันที่ 22 ก.ค.นี้ รวม 4 แนวทาง ได้แก่ 1.ให้พิจารณาเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็น 60% 2.พิจารณาให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์เอ็นพีแอลให้ไม่มีประวัติข้อมูลในเครดิตบูโร 3.ผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยกู้ลง โดยให้เป็นดุลพินิจของสถาบันการเงิน และ 4.จัดหา Rapid Test Kit ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี. […]

เอกชนเซ็งเลื่อนวัคซีนโควิด-19 ซ้ำเติมธุรกิจ – หวั่นฉุดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้านำไปสู่การปิดกิจการ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผย เอกชนมีความกังวลแผนการบริหารการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของภาครัฐที่เลื่อนออกไปพร้อมมูลข่าวสารต่างๆ ที่สร้างความสับสนให้ประชาชน จนอาจกระทบต่อเป้าหมายที่ต้องการฉีดให้ประชาชน 100 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 70% ภายในสิ้นปีนี้ และการเปิดประเทศก็ยิ่งชะลอออกไปจะซ้ำเติมเอสเอ็มอี เพราะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าก็อาจนำไปสู่การปิดกิจการในที่สุด ซึ่งขณะนี้เอกชนมีความกังวลการเลื่อนฉีดวัคซีนแก่ผู้ประกันตนม.33 บางส่วนออกไป ซึ่งเป็นแรงงานประมาณ 5-6 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6452820