4-5 มิ.ย.นี้ ไทยร่วมวงเอเปก ถกฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคจากวิกฤตโควิด-19

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ จะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปกกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปก (APEC Business Advisory Council: ABAC) ผ่านระบบการประชุมทางไกลในวันที่ 4-5 มิ.ย.นี้ โดยมีประเด็นการหารือ เช่น การรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน การรับมือและการฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงการระบาดของโควิด พร้อมหนุนการค้าพหุภาคี ทั้งนี้ในปี 63 การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มเอเปก มีมูลค่า 9.8 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นส่งออกมูลค่า 5.1 […]

‘ผู้ว่าธปท.’คาดเศรษฐกิจฟื้นเท่าก่อนโควิด อาจรอไตรมาสแรก’66

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา คาดเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงไตรมาสแรกของปี 66 กว่าจะกลับมาสู่ระดับเดิม ขณะเดียวกันต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี โดยภาครัฐและ ธปท ได้ออกมาตรการฟื้นฟู ส่วนสถาบันการเงิน มีบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ในการประสานความช่วยเหลือกับคู่ค้ารายย่อย และปรับแนวทางการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีควรปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและยกระดับการจัดการธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพราะนอกจากจะนำมาใช้บริหารต้นทุน กำไร ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถานะทางการเงินธุรกิจอีกด้วย ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846888

พาณิชย์เร่งเจรจาขายข้าวดันส่งออกไทย

กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าเจรจาขายข้าวไทย ทั้งขายเองในรูปแบบจีทูจี พร้อมร่วมมือเอกชนเพิ่มโอกาสส่งออกโดยตลาดเป้าหมายที่ต้องเน้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เพราะที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการซื้อขายข้าว 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้า รวมถึงอิรัก ที่มีโอกาส เพราะได้เปิดโอกาสให้ไทยเข้าไปประมูลขายข้าวได้แล้ว และจีนที่มี MOU ซื้อขายข้าวค้างอยู่ เป็นของเก่า 3 แสนตัน ที่ต้องหาทางผลักดันให้จีนซื้อต่อไป ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940667

รัสเซีย-ยูเรเซียจ่อตัดจีเอสพีไทย ดีเดย์ 12ต.ค.นี้

รัสเซีย และอีก 4 ประเทศสมาชิกยูเรเซีย เตรียมตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย ตั้งแต่ 12 ต.ค.64 นี้ หลังพบไทยไม่เข้าเกณฑ์รับสิทธิ ทำไทยต้องกลับไปเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติจากในช่วงที่ได้รับจีเอสพี สินค้าที่ส่งออกจากไทยเสียภาษีนำเข้าต่ำเพียง 75% ของอัตราภาษีปกติ ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้นและเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ไม่ถูกตัดสิทธิ  อย่างไรก็ตามด้านกรมการค้าต่างประเทศชี้กระทบส่งออกไทยไม่มากเพราะมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวมีน้อย แต่การถูกตัดสิทธิจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยแข่งขันด้านราคาได้ยากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940675

นายกฯ ชี้แจง พ.ร.บ.งบฯ คาด GDP ปี 64 โต 2.5-3.5% ก่อนโตเป็น 4-5% ในปี 65

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีหลักการที่สำคัญดังนี้ มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ไม่เกิน 3.1 ล้านล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ทั้งนี้ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 65 นี้ อยู่บนสมมติฐานภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ว่าจะขยายตัวได้ 4-5% ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/91919

“สุริยะ” ดัน5กลไกช่วยผู้ผลิตฝ่าวิกฤตศก.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงศักยภาพภาคผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ การศึกษาผลิตภาพการผลิตรวมของภาคอุตสาหกรรมการผลิต พบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพการผลิตรวมของไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น1.45%ต่อปี โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคผลิตไทยจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งใน 5 กลไกสำคัญ คือ 1.การพัฒนาทักษะแรงงาน 2.การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ 3.การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน 4.การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ และ 5.การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัย ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2750348

‘โรงงาน-โรงแรม-ห้าง-แบงก์’ ระดมหา ‘วัคซีน’ ฟื้นกิจกรรมเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต้องการฉีดแรงงาน 1 ล้านคน เร่งด่วนสั่งผ่านราชวิยาลัยจุฬาภรณ์ 3 แสนโดส “สมาคมแบงก์” ประสาน กทม.-สาธารณสุข ฉีดพนักงานธนาคาร 2 กลุ่มเสี่ยง ภาคบริการ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก-ร้านอาหาร” เร่งฉีดพนักงาน โดยคาดว่าการฉีดวัคซีนเป็นแนวทางควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดีที่สุดในขณะนี้ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดงบประมาณดำเนินการ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องในกิจกรรมเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้งกลุ่มบริการทั้งในกิจการขนส่งมวลชน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงภาคการผลิตที่กำลังมีการระบาดในโรงงานอยู่ในปัจจุบัน ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940894

จับตาส่งออก-ลงทุนไทยปี 2564 ตัวแปรพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

การส่งออกและการลงทุนในไทยปี 2564 เริ่มกลับมาส่งสัญญาณที่สดใสให้เห็นต่อเนื่อง โดยการส่งออกล่าสุดเดือน เม.ย. 64 มีมูลค่าอยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.09% เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือนหรือ 3 ปี นับจากเดือนเมษายน 2561 และเมื่อพิจารณาภาพรวมการส่งออก 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.64) การส่งออกมีมูลค่ารวม 85,577.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.78% การนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 84,879.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ […]

ดึงโมเดล EEC ปั้นเขตเศรษฐกิจใหม่ ดูดลงทุนหลังโควิด 4 แสนล้าน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขาฯอีอีซี) เผย ในช่วงที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นจังหวะดีที่ไทยจะใช้เวลานี้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและเตรียมพื้นที่เพื่อรอการลงทุนที่จะกลับมาหลังสถานการณ์ปกติ โดยการเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษ 21 เขต 9 กลุ่มทั่วไทยและใช้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้นแบบ พร้อมเสริมสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ศักยภาพสูงของแต่ละพื้นที่ โดยแผนนี้จะถูกผลักดันเข้าไปเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 13 (ปี 2566-2570) หวังดึงเงินลงทุนโดยตรง (FDI) กว่า 4 แสนล้านบาท ดัน GDP โตได้ถึง 4-5% ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-679526

รัฐบาลร่วมมือแบงก์เร่งช่วยเอสเอ็มอีจากพิษโควิด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงแนวทางการความช่วยเหลือและฟื้นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่ม SME ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารรัฐและเอกชนได้มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ช่วย SME ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้รัฐยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ พร้อมรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846579