กนอ.-ดับเบิ้ลพี แลนด์ จรดปากกาตั้งนิคมฯ ‘ฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้’ เล็งดูดลงทุนเพิ่มพื้นที่อีอีซี

กนอ. ลงนามสัญญาร่วมดำเนินงานกับ บริษัท ดับเบิ้ลพี แลนด์ จำกัด ในฐานะผู้ลงทุนพัฒนาเพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ เป็นนิคมอุตสาหกรรมลำดับที่ 67 รองรับการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ทั้งอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมและอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่คาดว่าหากมีการลงทุนเต็มพื้นที่แล้วจะก่อให้เกิดมูลค่าการลงทุนในนิคมฯ ประมาณ 33,200 ล้านบาท เกิดการจ้างงานประมาณ 8,300 คน โดยนิคมอุตสาหกรรมฉะเชิงเทรา บลูเทค ซิตี้ เน้นกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิตเป็นหลัก ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_6695161

ชมผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาฯ กระตุ้นศก.ไทยคึก

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า สนับสนุนการผ่อนคลายมาตรการสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดกระตุ้นในเกิดธุรกรรมซื้อขาย การจ้างงานและการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงหนึ่งปีข้างหน้า การประกาศมาตรการผ่อนคลายการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ชั่วคราวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้และต่อเนื่องไปถึงปีหน้า คาดว่า ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ภาคก่อสร้างและธุรกิจอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมทั้ง โรงแรมและรีสอร์ทในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่มีปัญหาสภาพคล่องและไม่สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้ จะถูกเปลี่ยนมือเป็นผู้ลงทุนรายใหม่ได้ง่ายขึ้น ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/666310

คุมเข้มกำกับดูแลลงทุน “คลัง-ก.ล.ต.-ธปท.” ลุยสินทรัพย์ดิจิทัล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการกำกับสินทรัพย์ดิจิทัลคริปโตเคอร์เรนซี เงินสกุลดิจิทัล ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายกำกับดูแลแล้ว แต่ยังมีหลายฝ่ายตั้งประเด็นสงสัยเกี่ยวกับบทบาทการกำกับดูแล ดังนั้น จึงต้องการให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทัน ลงทุนอย่างระมัดระวัง โดยปัจจุบันประเทศไทยมีบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 1.49 ล้านบัญชี ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/investment/2226870

สถานการณ์โรงแรมเห็นสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจน

นายอรรถนพ พันธ์กำเหนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทซิซซา กรุ๊ป เปิดเผยว่า นโยบายเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวจาก 46 ประเทศ เดินทางเข้ามาโดยไม่ต้องกักตัว หลังจากฉีดวัคซีนตามกำหนด นับเป็นเรื่องที่เกินคาดจากเดิมคิดว่าเพียง 10 ประเทศ โดยขณะนี้สถานการณ์โรงแรมในจังหวัดภูเก็ตเริ่มเห็นทิศทางการฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากการมีบุ๊กกิ้ง หรือการจองของนักท่องเที่ยวเข้ามามาก ซึ่งต่างรอคอยที่จะเข้ามาท่องเที่ยวและคาดว่าจะส่งผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในระยะถัดไป แต่สำหรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิดที่ผ่านมา ประเมินว่า ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตได้รับผลกระทบและเลิกกิจการไปกว่า 30% โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2226860

“ลีสซิ่ง” จี้ สคบ.รื้อดอกเบี้ยคุมเช่าซื้อ 15%

สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ค้าน สคบ.คุมสัญญาเช่าซื้อรถชี้ตีกรอบเพดานดอกเบี้ย 15% ไม่สอดคล้องต้นทุนธุรกิจเนื่องจากประเภทรถและอายุรถแตกต่างกัน เช่น กรณีรถอายุ 1 วัน กับอายุรถ 35 ปี มีความเสี่ยงและต้นทุนต่างกัน ที่ประชุมจึงเสนอให้มีการเสนอการคิดอัตราดอกเบี้ย แยกกันในส่วนรถยนต์ใหม่ รถยนต์เก่า และรถจักรยานยนต์  ทั้งนี้ยังแนะโครงการ “คืนรถจบหนี้” อาจทำธุรกิจเจ๊งแถมไม่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ “ติ่งหนี้” ร่วมจ่าย ทั้งนี้สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทยยังคาดการณ์หากยังดำเนินนโยบายตามเดิมยอดรีเจ็กต์จะพุ่งหวั่นซัพพลายเชนเจ๊งกระทบจ้างงานกว่า 5 แสนคน ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-787675

ชาวไร่ลุ้นอ้อยทะลุพันบาทต่อตัน อานิสงส์ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขาขึ้น

ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้นเห็นได้ จากราคาน้ำตาลส่งมอบล่วงหน้าเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 18.35 เซนต์ต่อปอนด์ และในช่วงปี 2564 ราคาก็สูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากบราซิลผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่สุดของโลกประสบปัญหาภาวะภัยแล้งทำให้หลายฝ่ายมองว่าผลผลิตจะลดต่ำลงจึงทำให้ราคาตลาดโลกปรับขึ้น ทั้งราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นอาจทำให้บราซิลนำน้ำตาลปรับไปผลิตเอทานอลแทน จะทำให้ราคาน้ำตาลทรายสูงขึ้นไปอีก และการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกน้ำตาล จากระดับราคาดังกล่าว คาดว่า จะส่งผลให้แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูกาลผลิตปี’64/65 ราคาเกินระดับ 1,000 บาทต่อตัน สอดรับกับที่โรงงานน้ำตาลทราย ประกาศราคารับซื้ออ้อยสดเข้าหีบฤดูกาลผลิต ที่ราคาขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อตัน ถือเป็นการพ้นช่วงต่ำสุดมาแล้ว ที่มา: https://www.naewna.com/business/611075

“จุรินทร์” ประกาศยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ดันไทยเบอร์ 1 โลก

“จุรินทร์”ประกาศยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทยปี 64-67 และมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา เป้าหมายเพื่อยกระดับการส่งออก ราคามันมีเสถียรภาพ สำหรับยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทย มีวิสัยทัศน์ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางด้านการผลิตและการค้ามันสำปะหลังคุณภาพอันดับหนึ่งของโลกอย่างต่อเนื่อง โดยมีอายุ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2567 ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์พร้อมเตรียมจัดงานมันสำปะหลังโลกไตรมาสแรกปี 65 วางแผนแก้ปัญหาส่งออกแป้งมันไปจีนล่วงหน้า ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-788017

สารพัดปัจจัย รุมเร้าเศรษฐกิจไทย

การระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่ยาวนานเกือบ 2 ปี ส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรง โดยกระทบกับสังคมทุกระดับ ซึ่งทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าอาจต้องใช้เวลาถึงปี 2566 เป็นอย่างน้อย กว่าที่ทุกอย่างกลับมาอยู่ในระดับปกติ ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยทรุดหนักในรอบ 20 ปี โดยไตรมาส 2/63 เศรษฐกิจไทยต้องติดลบถึง 12.2% อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันสูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อรายจ่ายและกำลังซื้อของผู้บริโภค ซึ่งทำให้กำลังซื้อมีแนวโน้มลดลงในภาวะที่รัฐบาลต้องการแรงผลักดันจากเครื่องจักรทุกตัวเพื่อช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/967726

สวนดุสิตโพลเผย”คนละครึ่ง”เฟส 3 โดนใจปชช.มากสุด ช่วยเยียวยาครึ่งปีหลังได้

สวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีมาตรการช่วยเหลือของรัฐในช่วงโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง 1,309 คน พบว่าในช่วงครึ่งปีหลัง 64 ประชาชนได้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่งเฟส 3 มากที่สุด 78.61% รองลงมาคือมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ 34.76% มองว่ามาตรการต่าง ๆ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายได้บ้าง 62.10% เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังมีมาตรการก็ยังใช้จ่ายรายเดือนเท่าเดิม 43.45% ทั้งนี้ จากผลการสำรวจจะเห็นได้ว่าประชาชนเทใจให้มาตรการ “คนละครึ่ง” เพราะอย่างน้อยก็เป็นเงินที่เข้ากระเป๋าโดยตรง ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/138371

พาณิชย์เผย 8 เดือนแรกปี 64 ยอดส่งออกภายใต้สิทธิ FTA-GSP เพิ่มขึ้น 36.46%

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือน ส.ค.64 ว่า มีมูลค่ารวม 7,341 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 18.29% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ก.ค.64 ที่มีมูลค่า 6,206.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ รมว.พาณิชย์ ได้ผลักดันมาตรการสนับสนุนการส่งออก และการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างต่อเนื่องของกรมฯ ทำให้การใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA เพิ่มขึ้น 36.50% […]