พาณิชย์โดดช่วยชาวสวนลำไย ดันราคา หลังจีนชะลอนำเข้า เวียดนามผลผลิตทะลัก

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าลำไยจากไทยรายใหญ่คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกลำไยของไทยประมาณร้อยละ 70-80 มีการชะลอตัวของการสั่งซื้อ จากการบริโภคในประเทศปลายทางลดลง ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564 ดังนี้ 1) มาตรการสนับสนุนความช่วยเหลือด้านตลาดรองรับในประเทศ โดยรับซื้อผ่านสัญญาข้อตกลง ระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับห้างค้าส่ง-ค้าปลีก (บิ๊กซี เดอะมอลล์ โลตัส แม็คโคร) ตลาดกลางสินค้าเกษตร โรงงานแปรรูป รวมถึงช่วยกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต เพื่อจำหน่ายในตลาดปลายทางทั่วประเทศ  ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-747035

คลังปั๊ม ‘GDP’ ปีหน้าโต 4-5% ทยอยเปิดกิจกรรมเศรษฐกิจกระตุ้น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลังกล่าวในงานสัมมนา Thailand Focus 2021: Thriving in the Next Normal เมื่อวันที่ 25 ส.ค.64 ในหัวข้อ “สร้างความพร้อมประเทศไทย สู่โอกาสทางเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19”ว่า ในปีหน้ารัฐบาลมีแผนที่จะทุ่มสรรพกำลังและทรัพยากรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่ผ่านมาใช้โมเดลภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ และสมุยพลัส ที่ขณะนี้ขยายไปครอบคลุมนักท่องเที่ยวจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ของไทย การระบาดที่ลดลงจะทำให้รัฐบาลสามารถหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4-5% ได้ภายในปีหน้า ที่มา : https://www.naewna.com/business/597578

จับตา ศบค. คลายล็อกดาวน์ เดินทางข้ามจังหวัดสีแดงเข้ม นั่งทานในร้าน 50%

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก และน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกรัฐบาล เผย ศบค.จ่อ คลายล็อกดาวน์ 1 กันยายน นี้ ไฟเขียวเดินทางข้ามจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้ม นั่งทานอาหารในร้าน 50% แต่ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข เช่น การเว้นระยะห่าง พนักงานต้องได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม หรือ ตรวจคัดกรองโควิดด้วยชุดตรวจ ATK ทุก 3 วัน หรือ 7 วัน ขณะเดียวกันผู้รับบริการต้องแสดงหลักฐานใบรับรองการฉีดวัคซีนแล้ว […]

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ชูมาตรการความปลอดภัยขั้นสูงสุด เตรียมความพร้อมเปิดเมือง 1 ก.ย.นี้

ตามที่สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการกลุ่มการค้าปลีกและบริการ หอการค้าไทย หารือเรื่องการเตรียมเปิดธุรกิจอย่างปลอดภัยเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการของสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 64 และยังได้รับความคิดเห็นจากกรมอนามัย และกรมควบคุมโรค และในวันที่ 24 ส.ค. 64 สมาคมฯ ยังได้เข้าร่วมหารือเพิ่มเติมกับคณะกรรมการสภาความมั่นคงแห่งชาติในเรื่องการเตรียมเปิดเมืองอย่างปลอดภัย และได้สรุปเป็นมาตรการเพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาของศบค. ต่อไป ทั้งนี้ สมาคมฯ จึงขอนำเสนอมาตรการผ่อนผันเร่งด่วนให้ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ และร้านค้าต่างๆ สามารถเปิดบริการแก่ประชาชนเป็นปกติได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 ที่มา […]

หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นทะลุ 14 ล้านล้านบาท เกิน 90% ของจดีพี

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสอง ปี 2564 ในส่วนของหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น และยังต้องเฝ้าระวังคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงโดยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.1ในไตรมาสก่อน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.5 ต่อ GDP ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการเลื่อนและพักชำระหนี้ที่ทำให้ยอดหนี้คงค้างไม่ลดลง รวมทั้งครัวเรือนที่ไม่ได้รับผลกระทบมีการก่อหนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่คุณภาพสินเชื่อยังต้องเฝ้าระวัง โดยสัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.92 เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 2.84 […]

สธ.รับข้อเสนอผู้ประกอบการร้านอาหาร ชงศบค.ผ่อนคลาย

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยหลังผู้แทนสมาคมภัตตาคารไทยและอีก 8 สมาคม เข้าพบนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นข้อเสนอให้ผ่อนคลายมาตรการสำหรับร้านอาหารให้เปิดบริการได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกหลักการที่ต้องมีการดำเนินการเพื่อความปลอดภัย 3 ส่วน ได้แก่ 1.)การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เว้นระยะห่าง ไม่แออัด อากาศถ่ายเทได้ดี 2.)พนักงานต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม หากไม่ครบ 2 เข็ม ต้องตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ทุก 3-7 […]

เปิดเหตุผล “ครม.” คง “VAT” 7% ถึงปี 66 หวังเพิ่มจับจ่าย – ลงทุน

มติ ครม.ในวันที่ 24 ส.ค.2564 ตัดสินใจคง VAT 7% ออกไปอีกและเป็นการอนุมัติรวดเดียว 2 ปี ในปี 64-66 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 และในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ยังคงได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับหลายประเทศทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นวงกว้าง การบริโภาคภาคเอกชน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลง ประกอบกับรายได้ของภาคการท่องเที่ยวที่ยังหดตัวสูง ทั้งนี้หากมีการปรับเพิ่มขึ้นของ VAT ทุกๆ 1% จะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ […]

เอกชนยังหวั่นปัญหาโควิด ฉุดตั้งธุรกิจใหม่เดือน ก.ค. 64 ลดลง 0.11%

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยการจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 พบว่ามีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ จำนวน 5,661 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 13,543.18 ล้านบาท ลดลง 0.11% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน และลดลง 7% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า การลดลงของจำนวนการจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งใหม่ และการเพิ่มขึ้นของจำนวนการจดทะเบียนเลิกธุรกิจนั้น มีผลมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ส่งผลให้รัฐบาลต้องมีมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-746367

วิจัยกรุงศรีแนะรัฐจัด6มาตรการ ทุ่ม7แสนล้านประคองศก.ขยายตัว3.25%

วิจัยกรุงศรีได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ในประเทศต่างๆ พบว่า 1.มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว 2.มาตรการรักษาระดับการจ้างงาน 3.มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ 4.มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน 5.มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ และ 6.มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน นับเป็น 6 มาตรการที่มีความสำคัญและนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจยังไม่เพียงพอ โดยทั้ง 6 มาตรการดังกล่าวมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาท ในช่วง6 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้คาดว่าการใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25%จากช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 อยู่ที่ 3.5%และเทียบกับ 3.0% หากไม่มีมาตรการ ที่มา: https://www.naewna.com/business/597327

“พจน์” ผนึก 3 สมาคม ถกผู้ว่าสมุทรสาครเร่งแก้ไขปัญหาโควิด คลัสเตอร์โรงงาน

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้นำคณะผู้บริหารสมาคมการค้า เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร (นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี) เพื่อหารือถึงแนวทางดำเนินการ จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (Factory Accommodation Isolation : FAI) ตลอดจนแนวทางการจัดการและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 ในกลุ่มคลัสเตอร์โรงงาน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการระงับการแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดและป้องกันให้ขบวนการผลิตถูกขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิ หากภาคการผลิตหยุดชะงักจะนำมาซึ่งการชะงักของระบบเศรษฐกิจโดยรวมในขณะนี้ ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-745257