เอกชนภูเก็ตหวังทั้งเดือน มีต่างชาติเที่ยว 1.5 หมื่นคน แม้ยังไม่ถึง 50% ที่เคยแตะ 4.5 หมื่นคนต่อวัน

สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวภูเก็ต เปิดเผยว่า ความคืบหน้าภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ เชื่อว่าทั้งเดือนก.ค.64 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาจำนวน 14,000-15,000 คนได้จริง เนื่องจากในรอบ 28 วัน มีนักท่องเที่ยวสะสมแล้วกว่า 12,395 คน โดยหากเทียบกับในอดีต พบว่ามีนักท่องเที่ยว จำนวน 45,000 คนต่อวัน ซึ่งเมื่อเทียบแล้วรวมยังไม่ถึง 50% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยเดินทางเข้ามา แต่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ที่ดี โดยหากภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์สามารถกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่ ทั้งผู้ประกอบการและแรงงาน ทำให้เศรษฐกิจภูเก็ตเดินหน้าได้อีกครั้ง ถือว่าภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์จะเป็นโมเดลตั้งต้นที่น่าสนใจให้กับอีกหลายๆ พื้นที่ ที่ใช้การท่องเทียวเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มา: […]

เบรกเที่ยวข้ามเกาะจากภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ในช่วง 2 วันมานี้ ซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมกันมากถึง 61 ราย ซึ่งอาจกระทบต่อการทำโครงการสมุยพลัสโมเดล โดยหากพบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอีก ก็ต้องออกมาตรการมาควบคุมเข้มข้นขึ้นหรือชะลอโครงการไปก่อน แต่ที่แน่นอนที่สุดคือการชะลอ การเปิดสมุยพลัสเชื่อมโยงกับภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ในรูปแบบ 7+7 คืออยู่ในภูเก็ต 7 วันก่อนถึงจะเดินทางมาสมุยได้ เพราะต้องประเมินสถานการณ์ให้แน่ใจอีกครั้ง ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/105251/

ค้าชายแดน-ผ่านแดนคึกคัก ครึ่งปีแรกเงินสะพัด 8.23 แสนล.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ เปิดเผยถึงการค้าชายแดนและผ่านแดนว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยในช่วงเ ดือนม.ค.-มิ.ย. 64 มี มูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 823,172 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 31% โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 64 เพียงแค่เดือนเดียวมีมูลค่าการค้ารวมสูงถึง146,094 ล้าน บาท เมื่อพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่าในเดือนมิ.ย. 64 โดยเฉพาะมาเลเซียมีมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุด 24 ,849 ล้านบาท ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ การค้าขยายตัวคือ 1.การทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนระหว่างกระทรวงพาณิชย์กับเอกชน 2.มีการทำเป้าหมายร่วมกันว่าจะเร่งเปิดจุดผ่านแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้การค้าชายแดนคล่องตัวขึ้น […]

เศรษฐกิจ-ส่งออกฟื้น ดันตั้งธุรกิจใหม่ในอีอีซีพุ่ง 6%

สถิติการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ ครึ่งปีแรก 2564 ในพื้นที่ EEC มีทั้งสิ้น 3,445 ราย เพิ่มขึ้น 6.07% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ประเภทธุรกิจที่มีการจดทะเบียนสูงสุด3อันดับแรก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้างอาคารทั่วไป และขนส่ง สำหรับปัจจัยที่ทำให้การจัดตั้งธุรกิจใหม่ในอีอีซีเพิ่มขึ้น มาจากภาคการส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก โดยมีมูลค่า 4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.59 % จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 […]

คลัง เผยเศรษฐกิจไม่ติดลบ ยัน พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้าน ยังเหลือ ถ้าไม่พอพร้อมกู้เพิ่มทันที

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 ก.ค.64 จะประกาศตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 64-65 ใหม่อีกครั้ง ซึ่งยอมรับว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย จะมีโอกาสที่เศรษฐกิจจะขยายตัวติดลบ แต่ยังมีปัจจัยบวกจากภาคการส่งออกที่คาดว่าทั้งปีจะขยายตัวได้มากกว่า 10% ส่วนการรับมือการระบาดโควิดในปีนี้ ยืนยันว่าเม็ดเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ยังมีเพียงพอ โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีแผนการกู้เตรียมความพร้อมทันที หากมีความต้องการใช้เงิน สำหรับการประมาณการเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมาเดือน เม.ย. […]

คลัง ชี้เศรษฐกิจไทยยังโดนโควิดกระทบ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน 2564 ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2564 ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สะท้อนจากการใช้จ่ายของภาคเอกชนที่มีสัญญาณชะลอลง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน ทั้งนี้เครื่องชี้วัดอื่นอย่างการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มชะลอลง อยู่ระดับ 5% ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงเหลือ 43.1% ส่วนการส่งออกขยายตัว 43.8% สูงสุดในรอบ 11 ปี ทั้งนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ต่อปี และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะอยู่ที่ร้อยละ 55.4 […]

“ล็อกดาวน์” กดเศรษฐกิจไทยลบ 2% ธปท.อ้ำอึ้งลดประมาณการ-แบงก์คาดปีนี้ติดลบ

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ทำการประเมิน “ส่องเศรษฐกิจไทยในวิกฤติโควิด” เนื่องจากโควิด สายพันธุ์เดลตา กลายเป็นสายพันธุ์หลักในประเทศไทย และส่งผลให้การควบคุมการแพร่ระบาดยากขึ้น ประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ลดลง จำนวนวัคซีนที่คาดว่าจะจัดหาได้ต่ำกว่าที่คาด ซึ่งทาง ธปท.ประเมินภาพความเสียหายจากล็อกดาวน์ กรณีแย่ที่สุด คือหากการระบาดยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยสามารถควบคุมให้การระบาดลดลงได้เพียง 20% ถึงภายในช่วงสิ้นปีนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง 2% ขณะที่แบงก์กสิกรไทยและไทยพาณิชย์ มองกรณีเลวร้ายเศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2147853

ศบศ.ปรับแผน “แซนด์บ็อกซ์” เริ่ม 1 ส.ค.ไฟเขียว อยู่ภูเก็ต 7 วันไปสมุย-กระบี่-พังงา

นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะโฆษกประจำ ศบศ.เปิดเผยว่า ผลการประชุม ศบศ. ล่าสุดได้เห็นชอบมาตรการให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าร่วมภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ เดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับพื้นที่นำร่องอื่น ในรูปแบบ 7+7 โดยนักท่องเที่ยวพำนักภายในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเป็นเวลา 7 วัน และสามารถเดินทางท่องเที่ยวและต้องพำนักในพื้นที่อื่นๆอีกเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า) จังหวัดกระบี่ (เกาะพีพี เกาะไหง และไร่เลย์) และจังหวัดพังงา (เขาหลัก เกาะยาวน้อย […]

EIC หั่น GDP ปีนี้ ลงมาอยู่ที่ 0.9% พิษโควิดรุนแรง

EIC (Economic Intelligence Center) ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประมาณการเศรษฐกิจปีนี้ จากเดิม 1.9% มาอยู่ที่ 0.9% เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายตัวในวงกว้าง ซึ่งจะกระทบต่อการอุปโภค-บริโภค มาจากมาตรการล็อกดาวน์ ความกังวลของประชาชนในการใช้จ่ายภายใต้ความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น และแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกขึ้น ขณะที่เงินช่วยเหลือจากภาครัฐยังไม่เพียงพอและทั่วถึง ด้านธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย คาดเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ 5% ในปี 64 นี้ และขยายตัวที่ 4.5% ในปี 65 ซึ่งได้แรงหนุนจากภาคธุรกิจบางส่วนที่เริ่มกลับมาเปิดใหม่ […]

จี้รัฐช่วยพักต้น-พักดอก 6 เดือน เอสเอ็มอีเสนอ 6 มาตรการต้องรอด!

สมาพันธ์และภาคีพันธมิตรเครือข่าย 24 องค์กร ได้เสนอมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาจากผลกระทบการล็อกดาวน์ 13 จังหวัดรวม 6 มาตรการ ประกอบด้วย 1) มาตรการพักต้น พักดอกเบี้ยเป็นเวลา 6 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการพักต้น สำหรับกลุ่มลูกหนี้เอสเอ็มอีเดิม 2) มาตรการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แบ่งเป็น 2.1 เอสเอ็มอี ลูกหนี้เดิมที่ไม่เป็นเอ็นพีแอล ให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 5% ให้เหลือ 4% และ 2.2 เอสเอ็มอีที่มีสินเชื่ออยู่กับแหล่งเงินกู้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) […]