พาณิชย์เร่งเจรจาขายข้าวดันส่งออกไทย

กรมการค้าต่างประเทศเดินหน้าเจรจาขายข้าวไทย ทั้งขายเองในรูปแบบจีทูจี พร้อมร่วมมือเอกชนเพิ่มโอกาสส่งออกโดยตลาดเป้าหมายที่ต้องเน้น ได้แก่ อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ เพราะที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติให้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการซื้อขายข้าว 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งต้องติดตามความคืบหน้า รวมถึงอิรัก ที่มีโอกาส เพราะได้เปิดโอกาสให้ไทยเข้าไปประมูลขายข้าวได้แล้ว และจีนที่มี MOU ซื้อขายข้าวค้างอยู่ เป็นของเก่า 3 แสนตัน ที่ต้องหาทางผลักดันให้จีนซื้อต่อไป ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940667

รัสเซีย-ยูเรเซียจ่อตัดจีเอสพีไทย ดีเดย์ 12ต.ค.นี้

รัสเซีย และอีก 4 ประเทศสมาชิกยูเรเซีย เตรียมตัดสิทธิจีเอสพีสินค้าไทย ตั้งแต่ 12 ต.ค.64 นี้ หลังพบไทยไม่เข้าเกณฑ์รับสิทธิ ทำไทยต้องกลับไปเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติจากในช่วงที่ได้รับจีเอสพี สินค้าที่ส่งออกจากไทยเสียภาษีนำเข้าต่ำเพียง 75% ของอัตราภาษีปกติ ซึ่งจะทำให้ราคาสินค้าไทยสูงขึ้นและเสียเปรียบประเทศคู่แข่งที่ไม่ถูกตัดสิทธิ  อย่างไรก็ตามด้านกรมการค้าต่างประเทศชี้กระทบส่งออกไทยไม่มากเพราะมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าวมีน้อย แต่การถูกตัดสิทธิจะมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในระดับหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยแข่งขันด้านราคาได้ยากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940675

นายกฯ ชี้แจง พ.ร.บ.งบฯ คาด GDP ปี 64 โต 2.5-3.5% ก่อนโตเป็น 4-5% ในปี 65

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีหลักการที่สำคัญดังนี้ มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ไม่เกิน 3.1 ล้านล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ทั้งนี้ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 65 นี้ อยู่บนสมมติฐานภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ว่าจะขยายตัวได้ 4-5% ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/91919

“สุริยะ” ดัน5กลไกช่วยผู้ผลิตฝ่าวิกฤตศก.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงศักยภาพภาคผลิตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้ การศึกษาผลิตภาพการผลิตรวมของภาคอุตสาหกรรมการผลิต พบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประสิทธิภาพการผลิตรวมของไทยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น1.45%ต่อปี โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคผลิตไทยจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งใน 5 กลไกสำคัญ คือ 1.การพัฒนาทักษะแรงงาน 2.การใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติ 3.การบริหารจัดการด้านต้นทุนและการเงิน 4.การยกระดับการผลิตไปสู่รูปแบบการผลิตแบบรับจ้างออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ และ 5.การลงทุนด้านเทคโนโลยีและวิจัย ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2750348

‘โรงงาน-โรงแรม-ห้าง-แบงก์’ ระดมหา ‘วัคซีน’ ฟื้นกิจกรรมเศรษฐกิจ

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ต้องการฉีดแรงงาน 1 ล้านคน เร่งด่วนสั่งผ่านราชวิยาลัยจุฬาภรณ์ 3 แสนโดส “สมาคมแบงก์” ประสาน กทม.-สาธารณสุข ฉีดพนักงานธนาคาร 2 กลุ่มเสี่ยง ภาคบริการ “ท่องเที่ยว-ค้าปลีก-ร้านอาหาร” เร่งฉีดพนักงาน โดยคาดว่าการฉีดวัคซีนเป็นแนวทางควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ดีที่สุดในขณะนี้ และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดงบประมาณดำเนินการ ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องในกิจกรรมเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้งกลุ่มบริการทั้งในกิจการขนส่งมวลชน การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า รวมถึงภาคการผลิตที่กำลังมีการระบาดในโรงงานอยู่ในปัจจุบัน ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/940894

จับตาส่งออก-ลงทุนไทยปี 2564 ตัวแปรพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

การส่งออกและการลงทุนในไทยปี 2564 เริ่มกลับมาส่งสัญญาณที่สดใสให้เห็นต่อเนื่อง โดยการส่งออกล่าสุดเดือน เม.ย. 64 มีมูลค่าอยู่ที่ 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 13.09% เป็นอัตราการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 36 เดือนหรือ 3 ปี นับจากเดือนเมษายน 2561 และเมื่อพิจารณาภาพรวมการส่งออก 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.64) การส่งออกมีมูลค่ารวม 85,577.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 4.78% การนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 84,879.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ […]

ดึงโมเดล EEC ปั้นเขตเศรษฐกิจใหม่ ดูดลงทุนหลังโควิด 4 แสนล้าน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขาฯอีอีซี) เผย ในช่วงที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นจังหวะดีที่ไทยจะใช้เวลานี้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและเตรียมพื้นที่เพื่อรอการลงทุนที่จะกลับมาหลังสถานการณ์ปกติ โดยการเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษ 21 เขต 9 กลุ่มทั่วไทยและใช้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้นแบบ พร้อมเสริมสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ศักยภาพสูงของแต่ละพื้นที่ โดยแผนนี้จะถูกผลักดันเข้าไปเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 13 (ปี 2566-2570) หวังดึงเงินลงทุนโดยตรง (FDI) กว่า 4 แสนล้านบาท ดัน GDP โตได้ถึง 4-5% ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-679526

รัฐบาลร่วมมือแบงก์เร่งช่วยเอสเอ็มอีจากพิษโควิด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงแนวทางการความช่วยเหลือและฟื้นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่ม SME ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารรัฐและเอกชนได้มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ช่วย SME ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้รัฐยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ พร้อมรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846579

กนอ.ปลื้มทุน ”ญี่ปุ่น” ไม่ทิ้งไทย ตบเท้าลงทุน “พลังงานสะอาด”

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM), บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท คันไซ อีเล็คทริค พาวเวอร์ คอร์เปอเรชั่น และอื่นๆ มีความสนใจที่จะมาลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมสมาร์ท ปาร์ค อ.มาบตาพุด จ.ระยอง โดยนักลงทุนญี่ปุ่นกลุ่มนี้ ต้องการเข้ามาลงทุนตั้งโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้พลังงานทางเลือก […]

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ผลักดันปล่อยกู้ SME

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ 5 ธนาคารพาณิชย์ เพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุนซอฟต์โลน ผ่าน Digital Factoring Platform ได้นรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มโครงการแซนด์บ็อกซ์ ร่วมกันระหว่างเซ็นทรัลรีเทล (CRC) และธนาคารกสิกรไทย โดยนำข้อมูลการทำธุรกิจซัพพลายเออร์ หรือคู่ค้าของ CRC เบื้องต้นกว่า 4,000 ราย เพื่อใช้พิจารณาสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มฯ และได้อนุมัติสินเชื่อให้ผู้ประกอบการแล้วกว่า 1,000 ราย วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท ซึ่งกว่า 70% […]