สสว. จับมือแบงก์รัฐ-เอกชน เดินหน้าเพิ่มเงินทุน เอสเอ็มอี ด้วย Factoring

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ 10 แบงก์รัฐ-เอกชน เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยสินเชื่อ Factoring รวมทั้งสินเชื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากตลาดภาครัฐ เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ที่สำคัญยังคงเป็นตลาดที่มีกิจกรรมการซื้อ จ้าง เช่า สินค้าและบริการต่างๆ จากผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง หวังช่วยขยายโอกาสให้ SME เข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่ได้คล่องตัว พร้อมเตรียมลงนามความร่วมมือในเร็วๆนี ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/944156

โควิดทุบธุรกิจ ‘ปิดกิจการ’ SME สายป่านสั้นเสี่ยงสูง

“พาณิชย์” เผยโควิดรอบ 3 เลิกกิจการมากขึ้น “หอการค้า” ห่วงธุรกิจสายป่านสั้นเสี่ยงเลิกกิจการ เร่งรัฐออกมาตรการต่อลมหายใจ ส.อ.ท.หวั่นโรงงานซัพพลายเชนธุรกิจท่องเที่ยวปิดตัวบางส่วน โดยการระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มมา 1 ปี เศษ ได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างรุนแรง และทำให้ส่วนหนึ่งต้องปิดกิจการลง ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่าช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 มียอดจดทะเบียนเลิกกิจการ 3,090 ราย ซึ่งถือว่าจำนวนปิดการลดลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปี 2563 ที่มีการปิดกิจการ 3,986 ราย แต่ถ้าพิจารณาทุนจดทะเบียนของกิจการที่ยื่นปิดช่วง […]

เล็งดึง 100 บริษัทยักษ์ ในตลาดหลักทรัพย์ รับซื้อหนี้การค้า คิดดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเอสเอ็มอี

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หารือกับบริษัทขนาดใหญ่ 100 อันดับแรกที่จดทะเบียนใน SET เพื่อเดินหน้าทำโครงการแฟคตอริ่ง หรือการรับซื้อหนี้การค้าเป็นสินเชื่อระยะสั้นที่สามารถเปลี่ยนบิล หรือเอกสารทางการค้า เพื่อช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ รวมถึงเตรียมเสนอแนวทางช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมรายชื่อเอสเอ็มอีที่ประสบปัญหาและไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ 2 ให้แก่สมาคมธนาคารไทยเพื่อประสานกับธนาคารพาณิชย์ในการพิจารณาเป็นรายกรณี ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2762678

รัฐบาลร่วมมือแบงก์เร่งช่วยเอสเอ็มอีจากพิษโควิด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงแนวทางการความช่วยเหลือและฟื้นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือเพื่อกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่ม SME ซึ่งมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูฯ คาดว่าจะอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารรัฐและเอกชนได้มีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำและโครงการพักทรัพย์พักหนี้ช่วย SME ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้รัฐยังเดินหน้าแก้ไขปัญหาและกระตุ้นเศรษฐกิจ การส่งออก การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศ และการบริโภคภายในประเทศ พร้อมรักษาระดับการจ้างงาน การช่วยเหลือนักศึกษาจบใหม่ให้มีงานทำ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846579

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ผลักดันปล่อยกู้ SME

สมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ 5 ธนาคารพาณิชย์ เพื่อเชื่อมโยงให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เข้าถึงแหล่งเงินทุนซอฟต์โลน ผ่าน Digital Factoring Platform ได้นรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น โดยได้เริ่มโครงการแซนด์บ็อกซ์ ร่วมกันระหว่างเซ็นทรัลรีเทล (CRC) และธนาคารกสิกรไทย โดยนำข้อมูลการทำธุรกิจซัพพลายเออร์ หรือคู่ค้าของ CRC เบื้องต้นกว่า 4,000 ราย เพื่อใช้พิจารณาสินเชื่อผ่านแพลตฟอร์มฯ และได้อนุมัติสินเชื่อให้ผู้ประกอบการแล้วกว่า 1,000 ราย วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท ซึ่งกว่า 70% […]

ส.อ.ท.ผนึก 163 บริษัท เร่งจ่ายค่าสินค้าเติมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  ขณะนี้ได้ฟื้นโครงการ “FTI Faster Payment Phase 2” ซึ่งได้จับมือกับ 163 บริษัทที่เป็นสมาชิก เพื่อเข้ามาช่วยเหลือสภาพคล่อง โดยได้ดำเนินโครงการ FTI Faster Payment (ส.อ.ท. ช่วยเศรษฐกิจไทย) ชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้เอสเอ็มอี ภายใน 30 วัน โดยมีซัพพลายเออร์ไม่ต่ำกว่า 20,000 กิจการที่ได้รับประโยชน์ มีมูลค่าการซื้อขาย ในซัพพลายเชนอย่างน้อย 4,300 ล้านบาทต่อเดือน […]

“ดีป้า”หนุนเอสเอ็มอี-เกษตรกรฝ่าโควิดผ่าน53 โครงการ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เร่งช่วยเหลือผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ร้านค้า ตลอดจนเกษตรกร ฟันฝ่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่กำลังส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจโดยด่วน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้มาตรฐานจากเครือข่ายดิจิทัลสตาร์ทอัพไทยที่เชื่อถือได้ ต่อเนื่อง หวังช่วยยกระดับขีดความสามารถการดำเนินธุรกิจ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ จำนวน 53 โครงการ จะมีส่วนช่วยให้ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี ร้านค้า และเกษตรกรสามารถฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ ได้อย่างมั่นคง และเติบโตได้อย่างยั่งยืน พร้อมมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ เพื่อความอยู่ดีมีสุขของภาคประชาชน ก่อนเดินหน้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต่อไป ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/843065

“ซอฟต์โลน” ทะลักเขื่อนแตก ลูกหนี้เอสเอ็มอีพักชำระเงินต้นได้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานความคืบหน้าการปล่อยสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู (ซอฟต์โลน) โครงการ 2 ที่ได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ง่าย และได้เปิดให้สถาบันการเงินเข้ามาขอรับสินเชื่อเพื่อปล่อยกู้ต่อให้กับเอสเอ็มอีเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ซึ่งพิจารณาค่าเฉลี่ยของวงเงินที่เอสเอ็มอีได้รับอยู่ที่ 2.1 ล้านบาทต่อราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยอยู่ที่ 1.3 ล้านบาทต่อราย โดยเฉพาะภาคการพาณิชย์ อุตสาหกรรมการผลิต และภาคการก่อสร้าง ด้านผู้อำนวยการธนาคารออมสินกล่าวว่าลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถขอพักชำระเงินต้นเป็นการชั่วคราว และชำระเฉพาะดอกเบี้ย ไปจนถึงวันที่ 31 ธ.ค. ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2090846

วิ่งสู้ฟัดต่อชีพจร “เอสเอ็มอี” เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้เข้าพบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำเสนอ แนวทางเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุน และช่องทางการค้าขาย ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่กับธนาคารพาณิชย์ โดยธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ จะนำเอาระบบเทคโนโลยี มาช่วยคัดกรองและให้ข้อมูลลูกค้าเอสเอ็มอี ที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ และเป็นผู้ผลิตสินค้า (ซัพพลายเออร์) กับธนาคารพาณิชย์ โดยให้เอสเอ็มอีใช้ใบคำสั่งซื้อ หรือใบส่งของ ที่มีกับธุรกิจค้าปลีก มาเป็นหลักค้ำประกัน ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/market/2088826

ลุ้นวันนี้ ครม.เคาะมาตรการดูแลโควิด แจกเงินเยียวยา

การประชุม ครม.ในวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คาดจะมีการพิจารณาแนวทางมาตรการเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ชุดใหญ่ เช่น การให้เงินเยียวยาประชาชนที่เดือดร้อนทุกกลุ่มตามนโยบาย เช่น อย่างแรงงานในสถานประกอบการที่ถูกสั่งปิด ผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น นอกจากนี้ จะให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ปล่อยกู้ฉุกเฉินให้ประชาชนวงเงินอีกกว่าหมื่นล้านบาท และขยายเวลาพักหนี้ รวมถึงยังมีมาตรการลดค่าใช้จ่าย เช่น การลดค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น ซึ่งวงเงินจะอยู่ในกรอบ พ.ร.ก.กู้เงิน ที่เหลืออีก 2.3 แสนล้านบาท ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/841328