เอกชนสุดระทมโควิดซ้ำ 3 ระลอก สภานายจ้างฯชี้เศรษฐกิจเสียหาย 11 ล้านล้าน

สภาองค์การนายจ้างฯประเมินผลกระทบต่อโควิด–19 ตั้งแต่ระบาดรอบแรก เดือน ก.พ. 63 ลากยาวถึงขณะนี้ สร้างความเสียหาย ทำให้มูลค่าเศรษฐกิจไทยหายไปกว่า 11 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 65.3% ของจีดีพี เมื่อเทียบจากฐานปี 2562 โดยได้รับผลกระทบทั้งด้านการส่งออก และรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูญหายไปจำนวนมหาศาล โดยแม้ว่าส่งออก 5 เดือนแรกของ ปีนี้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจในประเทศก็ยังทรุดตัวต่อเนื่อง วอนรัฐเยียวยาเต็มที่ลดผลกระทบล็อกดาวน์รอบนี้ที่คาดจะลากยาวเกิน 14 วัน ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2139835

นายกฯ ชี้แจง พ.ร.บ.งบฯ คาด GDP ปี 64 โต 2.5-3.5% ก่อนโตเป็น 4-5% ในปี 65

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมีหลักการที่สำคัญดังนี้ มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายไว้ที่ไม่เกิน 3.1 ล้านล้านบาทสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยรับงบประมาณ และเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย ทั้งนี้ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 65 นี้ อยู่บนสมมติฐานภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ว่าจะขยายตัวได้ 4-5% ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2021/91919

ดึงโมเดล EEC ปั้นเขตเศรษฐกิจใหม่ ดูดลงทุนหลังโควิด 4 แสนล้าน

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขาฯอีอีซี) เผย ในช่วงที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นจังหวะดีที่ไทยจะใช้เวลานี้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและเตรียมพื้นที่เพื่อรอการลงทุนที่จะกลับมาหลังสถานการณ์ปกติ โดยการเพิ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษ 21 เขต 9 กลุ่มทั่วไทยและใช้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้นแบบ พร้อมเสริมสิทธิประโยชน์อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ศักยภาพสูงของแต่ละพื้นที่ โดยแผนนี้จะถูกผลักดันเข้าไปเป็นหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 13 (ปี 2566-2570) หวังดึงเงินลงทุนโดยตรง (FDI) กว่า 4 แสนล้านบาท ดัน GDP โตได้ถึง 4-5% ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-679526

กังวลกู้ 7 แสนล้าน ดันหนี้สาธารณะใกล้แตะเพดาน 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท…สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารการคลัง ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังไม่แน่นอนสูง” โดยระบุว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของไทยเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 60% ของ GDP เร็วขึ้น และจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 อยู่ที่ 54.3% ของ GDP ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ราว 58.7-59.6% ของ […]

กังวลกู้ 7 แสนล้าน ดันหนี้สาธารณะใกล้แตะเพดาน 60%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จัดทำบทวิเคราะห์ “พ.ร.ก.กู้เงินเพิ่มเติม 7 แสนล้านบาท…สร้างความยืดหยุ่นในการบริหารการคลัง ภายใต้สถานการณ์โควิดที่ยังไม่แน่นอนสูง” โดยระบุว่าการกู้เงินเพิ่มจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของไทยเข้าใกล้เพดานหนี้ที่ 60% ของ GDP เร็วขึ้น และจำเป็นต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะในระยะเวลาอันใกล้ ซึ่งระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2564 อยู่ที่ 54.3% ของ GDP ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า หนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ราว 58.7-59.6% ของ […]

สรุป ‘เศรษฐกิจไทย’ ไตรมาส1/64 GDP ขยับเป็น -2.6 จากเดิม -6.1

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 64 และแนวโน้มปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 โดยได้แรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้เมื่อดูค่า GDP ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนพบว่า GDP เติบโตที่สุดในอาเซียนคือ เวียดนามขยายตัวร้อยละ 4..5 โดยปัจจัยสำคัญคือนโยบายของการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้เร็วจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อีกครั้งภายหลังต้องหยุดชะงักไปจากการระบาดโควิด-19 ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939207

อีไอซี หั่นจีดีพีเหลือ 2% ชี้คุมโควิดไม่อยู่ 3 เดือน สร้างความเสียหาย 2.4 แสนล้าน

อีไอซี ปรับประมาณการจีดีพีปี 64 เหลือโต 2.0% จาก 2.6% จากผลกระทบโควิด-19 ระลอก 3 แม้จะได้รับแรงสนับสนุนจากภาคส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตดีกว่าคาดและเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ด้านต่างประเทศเข้มงวดเปิดประเทศ กดนักท่องเที่ยวทั้งปีเหลือ 1.5 ล้านคน เสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยซ้ำสองครึ่งปีหลัง ทั้งนี้อีไอซีระเมินว่าหากมีมารตรการที่เข้มงวดและใช้เวลาคุมโรค 3 เดือน จะสร้างความเสียหาย 2.4 แสนล้านบาท หรือ 1.5% ของจีดีพี ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-663920

“ธปท. ห่วงวัคซีนไม่เข้าเป้า ฉุด GDP ขยายตัวต่ำ/ตกงานพุ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า หากภาครัฐสามารถจัดหาและกระจายวัคซีนเพิ่มเติมได้ตามเป้าหมายที่ 100 ล้านโดสในปี 2021 จะส่งผลให้ GDP ไทย ขยายตัวได้ 2% ในปี 2021 และ 4.7% ในปี 2022 (ยังไม่รวมมาตรการภาครัฐที่อาจออกมาเพิ่มเติม) แต่ในกรณีเลวร้าย หากภาครัฐจัดหาและกระจายวัคซีนได้ช้ากว่าแผนเดิม จะส่งผลให้ GDP ไทยขยายตัวเพียง 1% ในปี 2021 และ 1.1% ในปี […]

สุพัฒนพงษ์ เฉือนงบเงินกู้โควิด จูงใจคนมีเงินออมจับจ่าย ดันจีดีพี 4%

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน  เล็งออกมาตรการการดึงเงินคนออม 2-3 แสนล้าน ปั๊มจีดีพีโต 4 % เพราะเงินฝากที่มีอยู่ 5-6 แสนล้านบาท เท่ากับจีดีพี 3 % ซึ่งการดึงเงินออมออกมาใช้จ่ายจะให้เป็นแรงจูงใจ (Incentive) ไม่ใช่การลดหย่อนภาษี “อ้อน คนรวย ใช้จ่ายเพื่อชาติ” อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคมจะอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและมีผลในเดือนมิถุนายนมีผลบังคับงบประมาณที่ใช้มาจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ณ ขณะนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังเป็นไปตามแผน “สิ่งที่เร่งด่วนตอนนี้ที่รัฐบาลต้องทำคือการสร้างความเชื่อมั่นในการควบคุมการระบาดระลอกใหม่ให้ได้และทุกอย่างก็จะคลี่คลายมากขึ้น” สุพัฒนพงษ์กล่าว […]

คลังยังไม่มีแผนกู้เพิ่ม 1 ล้านล้าน มาดูแลโควิด

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เผยถึงกระแสข่าวกระทรวงการคลังเตรียมกู้ฉุกเฉินเยียวยาโควิดอีก 1 ล้านล้านบาทว่า ยังไม่ทราบนโยบายดังกล่าว แต่ปัจจุบัน พ.ร.ก.กู้เงิน1 ล้านล้าน สามารถใช้ได้จนถึง 30 ก.ย.นี้ ทั้งนี้ยังต้องมีการหารือในคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังเพื่อขยายกรอบเพดานการก่อหนี้สาธารณะ เนื่องจากสัดส่วนหนี้สาธารณะของงบประมาณนี้ คาดอยู่ที่ประมาณ 57-58% ต่อจีดีพี แต่หากจะกู้เพิ่มขึ้นอาจสูงกว่ากรอบที่กำหนดไว้ไม่เกิน 60% ต่อจีดีพี อย่างไรก็ตาม หนี้สาธารณะที่ปรับสูงขึ้นป็นทิศทางเดียวกันกับประเทศอื่นทั่วโลก ซึ่งทุกประเทศได้ก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายดูแลแก้ปัญหาโควิด ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/839321