สศช.เคาะศก.โต2.7-3.2% การบริโภค-ท่องเที่ยว-ส่งออกขยายตัว

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีในไตรมาส 2 ของปี 2565 ขยายตัว 2.5% ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัว 2.3% ในไตรมาสก่อนหน้า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2565 อยู่ที่ 0.7% รวมในครึ่งแรกของปีนี้ ขยายตัว 2.4% สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัว 2.7-3.2% ปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า […]

ธนาคารไทยพาณิชย์ขยับเป้าจีดีพีโต 2.9%

นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า EIC ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 65 ขึ้นเป็น 2.9% จากเดิม 2.7% ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและภาคบริการ ผ่านการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวของไทย และการผ่อนคลายมาตรการผ่านแดนในหลายประเทศทั่วโลก โดยประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้ จากเดิม 5.7 ล้านคน ขณะที่กิจกรรมในภาคบริการในประเทศยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการกลับออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ส่วนภาคเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แต่ยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงสุดในรอบ 24 ปี […]

สศค.ตั้งเป้า 2.49 ล้านล้าน ชี้จีดีพีปี 66 ฟื้น! ดันรัฐจัดเก็บรายได้เพิ่ม

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้คาดการณ์การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2566 ว่า จะเพิ่มขึ้น 3.8% จากปีงบประมาณ 2565 และคาดว่าจีดีพี ปี 66 จะฟื้นตัวชัดเจน โดยรายได้หลักมาจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร-ศุลกากร และรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่รวม 7 เดือนปี 65 จัดเก็บรายได้ได้เกินเป้าหมาย 3.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5% ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2417360

“คลัง” ยอมลด จีดีพี ปีนี้ลงเหลือ 3-4%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ปรับลดกรอบการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปี 65 เหลือ 3-4% จากเดิม 3.5-4.5% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 4% เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัจจัยในประเทศและต่างประเทศ ทั้งการแพร่ระบาดไวรัสโควิด ราคาน้ำมันตลาดโลกขึ้นราคา การสู้รบระหว่างยูเครนกับรัสเซีย แต่ถือว่าจีดีพีปีนี้ยังคงมีอัตราการเติบโตสูงกว่าปีที่ผ่านมา เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป เมื่อรัฐบาลทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโควิด จะทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทยเพิ่มขึ้น ขณะที่คนไทยก็เดินทางท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้นด้วย ก่อให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2370207

กกร.หั่นGDPปีนี้โตแค่2.5-4% จี้ใช้‘คนละครึ่ง-เที่ยวด้วยกัน’กระตุ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการประชุม กกร. ประจำเดือนเม.ย.65 ว่าเศรษฐกิจไทยได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยจากคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปของธปท.ที่ 4.9% ซึ่งเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศ ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงรอบด้านแต่ยังคาดว่าจะเติบโตได้ จากความมุ่งมั่นของภาครัฐและเอกชนในการปรับตัวให้อยู่กับโควิด-19 แบบปกติ ดังนั้น ที่ประชุม กกร. จึงปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัวได้ในกรอบ 2.5%-4.0% จากเดิมประมาณการขยายตัวในกรอบ 2.5%-4.5% ที่มา : https://www.naewna.com/business/645924

ธนาคารโลก หั่นจีดีพีไทยปี 65 โตเหลือ 2.9% อย่างแย่ 2.6% ชี้สงครามยูเครนกระทบราคาพลังงาน

ธนาคารโลก แถลงก่อนการเผยแพร่รายงาน ตามติดเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ฉบับเดือนเมษายน 2565 โดยปรับลดคาดการณ์การเติบโตของจีดีพี ปี 2565 นี้ลงเหลือ 2.9 เปอร์เซ็นต์ หรือแย่ที่สุดอยู่ที่ 2.6 เปอร์เซ็นต์ ลดลงจากเดิมที่ 3.9 เปอร์เซ็นต์ ผลจากสงครามในยูเครนที่ส่งผลให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ภาวะเงินเฟ้อ อยู่ที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์สูงกว่าที่คาดหมาย ขณะที่หนี้สาธารณะอยู่ที่ 62 เปอร์เซ็นต์ต่อจีดีพี คาดนักท่องเที่ยวเข้าไทยปีนี้ 6.2 ล้านคนช่วยการท่องเที่ยวกระเตื้อง ที่มา: https://www.matichon.co.th/foreign/news_3272296

เอสซีบีคาดเงินเฟ้อปีนี้พุ่ง 6.3%

นายยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจหรืออีไอซีได้ปรับลดประมาณการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ในปี 65 เป็น 2.7% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.2% เนื่องจากผลกระทบของสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเฉลี่ยทั้งปีจะเร่งตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 4.9% และหากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนยืดเยื้อ จีดีพีของไทยในปีนี้จะลดลงอีก 1-2% และเงินเฟ้อปรับเพิ่มจาก 4.9% เป็น 6.3% “การใช้จ่ายในประเทศจะฟื้นตัวในอัตราที่ชะลอลงกว่าที่ประมาณการไว้เดิม โดยเฉพาะการบริโภคที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบทั้งจากกำลังซื้อของครัวเรือนที่ลดลงตามราคาพลังงานและอาหารที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น และจากการฟื้นตัวของค่าจ้างแรงงานที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ […]

กระทรวงการคลังรับสภาพจ่อปรับลดจีดีพี

จากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อ ขณะที่การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภค และการใช้จ่ายในประเทศไทยลดลงนั้น ทำให้กระทรวงการคลังจะต้องทบทวนการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.5-4.5% คาดว่าจะประกาศตัวเลขการคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ในเดือน เม.ย.2565 ทั้งนี้ การปรับประมาณการทางเศรษฐกิจครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของปี และเป็นไปตามรอบทุกๆเดือนจะมีการทบทวนการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2352426

KKP หั่น GDP เหลือ 3.2% หวั่นราคาน้ำมันสูง กระทบเศรษฐกิจไทยหนัก

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ปรับการคาดการณ์ GDP ปี 2022 ในกรณีฐานเหลือ 3.2% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3.9% โดยประเมินว่าความไม่แน่นอนต่อภาพแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีสูงขึ้นมาก จากผลกระทบของสถานการณ์ยูเครนและรัสเซีย และปรับประมาณการเงินเฟ้อเฉลี่ยจากที่เคยคาดไว้ที่ 2.3% โดยผลจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนในปัจจุบัน ทำให้ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกสูงขึ้น และเศรษฐกิจไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเนื่องจากมีการพึ่งพาพลังงานในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/993868

รัฐบาลแจงกู้เงิน1.5ล้านล้านบาท เพื่อสู้โควิดกู้เศรษฐกิจ

นายอาคม กล่าวว่า หนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 และ 2564 เนื่องจากเจอวิกฤตโควิด-19 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีล่าสุดเดือน ธ.ค. 2564 อยู่ที่ 59.57% เนื่องจากต้องออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ครั้ง จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท โดยมีการปรับเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% ต่อจีดีพี เป็น 70% ต่อจีดีพี ในปีที่ผ่านมา รองรับการกู้หนี้ที่เพิ่มมากขึ้น จากทั้งการกู้ชดเชยการขาดดุล ทั้งนี้ ความจำเป็นการกู้เงิน […]