ตลาดแรงงานฟื้นแล้ว หลังคลายล็อก/รับรง.ติดเชื้อ 6.7 หมื่นคน

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดแรงงานไทยจะค่อยๆ ฟื้นตัวมากขึ้นหลังจากที่รัฐได้ผ่อนคลายมาตรการ แต่ยังคงเปราะบางเนื่องจากตลาดแรงงานส่วนหนึ่งอยู่ในภาคการค้าบริการและการท่องเที่ยวที่มีแรงงานกว่า 18 ล้านคน ที่อาจต้องใช้เวลาถึงปี 2566 จึงจะกลับไปสู่ภาวะปกติช่วงก่อนการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสะท้อนจากการนำเข้าสินค้าทุนเดือนก.ค.ที่ผ่านมาขยายตัว 35.4% สูงสุดในช่วง 7 เดือน ทำให้การจ้างงานเริ่มกลับมา พร้อมเสนอว่ารัฐควรจำเป็นต้องเร่งอัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายปีนี้เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการจับจ่าย ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ศบค.อก. วันที่13 ก.ย. 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสถานประกอบกิจการโรงงาน ทั้งสิ้น 67,281 คนรักษาหายแล้ว […]

ผลกระทบช่วงการ LOCKDOWN กรกฎาคม -สิงหาคม 2564

สถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจผลกระทบช่วงการ Lockdown กรกฎาคม -สิงหาคม 2564 จากกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 284 ราย และกลุ่มตัวอย่างภาคประชาชนจำนวน 1,164 ราย ผลการศึกษา ดังนี้ 1. ผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ได้รับผลกระทบทางลบมากถึงร้อยละ 74.16 โดยที่ระหว่างการ Lockdown กับการเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรเปิดให้ดำเนินการธุรกิจ/เศรษฐกิจ ร้อยละ 77.32 มาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือประชาชนในช่วง COVID […]

ไทยเฮ!‘IMF’จัดสรรเงินช่วย แนะใช้1.4แสนล้านบ.สู้โควิด

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF มีมติให้จัดสรรเงินจากกองทุน SDRs จำนวนมากถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับประเทศสมาชิก ขณะที่ไทยที่ได้รับเงินจัดสรรด้วยในวงเงินราว 1.4 แสนล้านบาทหรือ 4.4 พันล้านดอลลาร์ ขณที่ รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า รัฐบาลควรหารือกับ ธปท. เพื่อนำเงิน SDRs ที่ได้รับการจัดสรรมาใหม่จำนวนนี้มาใช้ด้านการคลัง โดยมุ่งไปที่การเยียวยาผู้ว่างงานและลงทุนทางการศึกษา การจัดซื้อวัคซีนและการลงทุนทางด้านสาธารณสุข เห็นควรใช้ SDRs ไปแลกกับเงินสกุลหลักเพื่อนำมาจัดซื้อวัคซีน […]

ความเชื่อมั่นอุตฯหัวทิ่ม กังวลโควิดระบาด-ศก.แย่-การเมืองร้อน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 76.8 ลดลงจากระดับ 78.9 ในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 16 เดือน นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาคและทุกขนาดอุตสาหกรรม ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ คือ ภาครัฐยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเป็น 29 จังหวัด บังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ตลอดเดือนสิงหาคม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่คลี่คลายทำให้กำลังการผลิตลดลงและการส่งมอบสินค้าล่าช้าโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก […]

พาณิชย์แนะธุรกิจขนส่ง ปรับตัวรับเทรนด์ใหม่ของโลก

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เผยว่า การศึกษาการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ พบว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและธุรกิจบริการโลจิสติกส์มีการขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งสินค้า ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการรับส่งเอกสารและสิ่งของตามการเติบโตของการค้าออนไลน์ โดยแนะให้เร่งปรับตัวโดยเฉพาะธุรกิจรับส่งเอกสารและสิ่งของจะต้องปรับโมเดลธุรกิจ โดยแนะให้ลงทุนด้านเครือข่ายเพิ่มขึ้น และต้องมีความยืดหยุ่นหากเกิดการจำกัดและปรับเวลาการเดินรถ อีกทั้งควรหาช่องว่างทางธุรกิจ โดยการปรับตัวให้สอดคล้องกับการให้บริการสังคมสูงอายุ ที่มีแนวโน้มการขยายตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ควรใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ อาทิ  เทคโนโลยีที่ใช้โรบอทเข้ามาควบคุมการทำงานวางแผนกำลังการจัดการคลังสินค้า ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/250881/

ตลาดข้าวถุงไม่ฟื้น ‘มาบุญครอง’ ลุยส่งออกสู้

สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เผยตลาดข้าวถุงยังไม่คึกคักสถานการณ์ตลาดข้าวตั้งแต่ต้นปีจนกระทั่งถึงการระบาดระลอก 3 ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า ตลาดข้าวถุงชะลอตัวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะยอดขายข้าวถุงผ่านห้างโมเดิร์นเทรดลดลงถึง 25-35% ร้านอาหารลดลงมากกว่า 50% โดยมีปัจจัยจากมาจากร้านอาหารถูกปิดให้บริการ-นักท่องเที่ยวหาย-ผู้บริโภคหันไปหาอาหารประเภทอื่นคาดต้องใช้เวลาหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงอีกไม่ต่ำกว่า 2 เดือนและจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติน่าจะใช้ระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีทีเดียว ปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวของตลาดข้าวถุงก็คือ การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรให้ได้ 70% จนสามารถเปิดประเทศได้ถึงตอนนั้นกำลังซื้อจะกลับมา ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-756151

ส่งออกปีนี้ส่อโต12% ‘สรท.’ห่วง6ปัจจัยเสี่ยงฉุด

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 64 โต 10-12% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1.การฟื้นตัวอย่าแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก และ 2 ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวสูงกว่าปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 2.ปัญหาการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 3.การยกระดับมาตรการคุมเข้มในการตรวจหาเชื้อโควิดในต่างประเทศ 4.การขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต 5.ค่าเงินบาทแข็งค่า และ 6.ปริมาณปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอและต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 1,000 บาท/คน สำหรับโรงงานที่เข้าร่วม Factory […]

คต.เตือนผู้ส่งออกมันเข้มงวดสิ่งปนเปื้อน

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งข้อกังวลของภาคเอกชนเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้มงวดการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือใหญ่เดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามันสำปะหลังจากไทยไปจีน ที่ไม่มีใบรับรองการตรวจโควิด-19 อาจถูกปฏิเสธให้เรือเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรมีมาตรการรองรับเพื่อให้ประเทศปลายทางมั่นใจได้ว่าพนักงานบนเรือของตนปราศจากเชื้อโควิด-19 เพื่อให้การขนส่งสินค้าระหว่างกันเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 ไทยส่งออกสินค้ามันสำปะหลังรวม 6.361 ล้านตันมูลค่า 2,330.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 43% และ 48% ตามลำดับ จากช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 ที่มีปริมาณส่งออกรวม 4.441 ล้านตัน มูลค่า 1,573.38 […]

กรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันขยับเป้าจีดีพีหลังโควิดพ้นจุดพีก

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ได้มีมติ เห็นชอบปรับประมาณการการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ ติดลบ 0.5-1% จากก่อนหน้านี้คาดไว้อยู่ในกรอบ ติดลบ 0.5-0% เนื่องจากช่วงปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีปัจจัยบวกที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย จากแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น และแนวโน้มการติดเชื้อเริ่มผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2183145

เศรษฐกิจก.ค. สาหัส-เอกชนงดบริโภค ลงทุน ด้านส่งออกเริ่มแผ่ว แบงก์ชาติไม่การันตี คลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย. คนจะเชื่อมั่นเพิ่ม

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในเดือนก.ค. 64 ได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยการบริโภคภาคเอกชนลดลงตามกำลังซื้อที่อ่อนแอ และมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม รายได้ครัวเรือน และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนก็ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเช่นกัน  ด้านการส่งออกแผ่วลงจากอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัวตามการแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นในบางประเทศ และการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งกระทบต่อการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า แม้จะมีการคลายล็อกดาวน์ 1 ก.ย. ก็ยังคาดว่าจะเริ่มคลี่คลายช่วงปลายไตรมาส 3/64 แต่ก็ยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่นๆ และจะปรับประมาณการอีกครั้งในรอบต่อไป ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6594028