‘พิพัฒน์’ ลั่น 120 วันต้องเปิดประเทศ ชี้โควิดระบาดภาคกลางหนัก ชงดึงต่างชาติเที่ยวอีสาน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและสหกรณ์ ยอมรับว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่อนข้างรุนแรง เตรียมเปลี่ยนเป้าหมายที่เดิมจะเปิด 10 พื้นที่แถบภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีประชากรประมาณ 25% ของประชากรในประเทศ ขณะนี้มีการระบาดสูงสุดเป็นพื้นที่สีแดงเข้ม เป็นเชิญชวนต่างชาติไปเที่ยวแถวอีสานแทน เช่น จ.อุบลราชธานี บึงกาฬ หนองคาย ทั้งยอมรับว่าตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติไว้สูง ปี 2564 ประมาณ 3-4 ล้านคน แม้สภาพัฒน์จะออกมาคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพียง 5 แสนคน และแบงก์ชาติคาดว่ามี 6 […]

‘ททท.’ เปิดยอดจอง 3 เที่ยวบินจ่อเข้า ‘สมุย’ หลังเปิดรับต่างชาติวันแรก 15 ก.ค.นี้

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับรายงานการเปิดสมุยรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือสมุย พลัส โมเดล ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ โดยเป็นการเปิดพื้นที่นำร่อง 3 เกาะใน จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ซึ่งในวันแรก (15 กรกฎาคม) พบว่ามียอดจองเส้นทางบิน กรุงเทพฯ-สมุย ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ตั้งแต่ก.ค.-ต.ค. 2564 มีจำนวนผู้โดยสารจองตั๋วเครื่องบินเฉพาะขาเข้าสมุยแล้ว 80 คน […]

เอกชนสุดระทมโควิดซ้ำ 3 ระลอก สภานายจ้างฯชี้เศรษฐกิจเสียหาย 11 ล้านล้าน

สภาองค์การนายจ้างฯประเมินผลกระทบต่อโควิด–19 ตั้งแต่ระบาดรอบแรก เดือน ก.พ. 63 ลากยาวถึงขณะนี้ สร้างความเสียหาย ทำให้มูลค่าเศรษฐกิจไทยหายไปกว่า 11 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 65.3% ของจีดีพี เมื่อเทียบจากฐานปี 2562 โดยได้รับผลกระทบทั้งด้านการส่งออก และรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูญหายไปจำนวนมหาศาล โดยแม้ว่าส่งออก 5 เดือนแรกของ ปีนี้จะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจในประเทศก็ยังทรุดตัวต่อเนื่อง วอนรัฐเยียวยาเต็มที่ลดผลกระทบล็อกดาวน์รอบนี้ที่คาดจะลากยาวเกิน 14 วัน ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2139835

กรมศุลฯ ยกเว้นภาษีนำเข้าชุดตรวจโควิดเหลือ 0% เก็บแค่แวตเท่านั้น

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การนำเข้า ชุดตรวจโควิด-19 แบบตรวจหาแอนติเจนด้วยตัวเอง จะได้รับยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าเหลือ 0% ซึ่ง ครม.ได้ขยายเวลายกเว้นอากรศุลกากรสำหรับของที่นำเข้ามาใช้ในการรักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนถึงเดือน มี.ค.65 แต่ยังคงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ที่ 7% อย่างไรก็ตาม การนำเข้าต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/50701/

‘แบงก์ชาติ’ ผวาหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90.5%

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย ว่าที่ประชุมได้ประเมินสถานการณ์อย่างรอบด้านและให้น้ำหนักกับการดูแลความเสี่ยงใน 2 ประเด็นหลัก คือ 1.ปัญหาหนี้ครัวเรือนในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูงถึง 90.5% ของจีดีพี และวิกฤตโควิด-19 ได้ทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ และ 2.การสะสมความเสี่ยงในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะข้างหน้า ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/109527

ธุรกิจโรงแรมร้องรัฐเยียวยาจ้างแรงงาน-ลดค่าไฟ-เร่งฉีดวัคซีน พ้อพูดซ้ำๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการระบาดโควิดเข้มข้นสูงสุดใน 10 จังหวัดเสี่ยงสูง จึงต้องการให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1.การชดเชยค่าจ้างแรงงานให้กับพนักงาน 2.ลดต้นทุนโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า 15% รวมถึงผ่อนชำระได้ จนถึงสิ้นปี 64 และ 3.เร่งฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว เน้นไปที่จังหวัดเสี่ยงสูง และจังหวัดท่องเที่ยวก่อน รวมถึงประชาชนในจังหวัดเหล่านั้นด้วย ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ก็เป็นข้อเรียกร้องให้ช่วยรูปแบบเดิมมากว่าปีครึ่งแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องเดิมที่พูดซ้ำๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง ส่วนภาพรวมธุรกิจโรงแรมน่าจะเปิดตัวประมาณ 50% โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ […]

TDRI คาดศก.ไทยปีนี้โต 1.5% แนะรัฐเยียวยา SME ภาคบริการเพื่อรักษาการจ้างงาน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 64 จะเติบโตได้ที่ 1.5% จากความไม่แน่นอนในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ซึ่งกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในปีนี้ให้ลดลงเหลือประมาณ 5 แสนคน จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1 ล้านคน ทั้งนี้ มีข้อเสนอต่อภาครัฐที่นอกเหนือจากการเยียวยาช่วยเหลือแจกเงินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว คือจะต้องมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และ SMEs ในภาคบริการ การช่วยพยุงธุรกิจให้สามารถอยู่ได้ และรักษาการจ้างงานไว้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินงานได้หลังจากคลายล็อคดาวน์ ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/105752

เชื่อนักลงทุนเข้าใจไทยล็อคดาวน์ดีกว่าปล่อยลากยาว

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะคอร์ปอเรชัน เผย มาตรการยกระดับควบคุมพื้นที่สูงสุด 10 จังหวัดที่เริ่มวันที่ 12 ก.ค. ของรัฐบาล เชื่อว่า จะกระทบระยะสั้นเท่านั้น และในสายตานักลงทุนต่างชาติเข้าใจถึงสถานการณ์เป็นอย่างดี ซึ่งหากไทยยังปล่อยให้มีการแพร่ระบาดและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากกว่า ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการด้านวัคซีนทั้งระบบ ทั้งในเรื่องการจัดหา แผนการกระจาย ให้ถึงมือประชาชนและครอบคลุมจำนวนประชากร 70% เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ควบคู่ไปด้วย ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/47803/

คาดล็อกดาวน์รอบนี้ ศก.สูญกว่า 4.9-6.3 หมื่นล้านบ. แนะรัฐเยียวยาเสมอภาค

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เสี่ยง และยกระดับมาตรการควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคมนั้น จะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณอย่างต่ำวันละ 3,500-4,500 ล้านบาท ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวมขั้นต่ำในระยะเวลา 2 สัปดาห์ประมาณ 49,000-63,000 ล้านบาท ผลกระทบทางด้านความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ครั้งนี้ น้อยกว่าการล็อกดาวน์ทั้งประเทศในช่วงปี 2563 ที่มา: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000067607

อสังหาฯ หวั่นเจ็บแต่ไม่จบแนะ 3 แผนสกัด

นายอธิป พีชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า มาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ รัฐบาลต้องวางแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่า ระหว่างล็อกดาวน์ 14 วัน โดยมี 3 วาระที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน คือ 1.จัดให้มีการตรวจคัดกรองให้มากที่สุด 70 -80% ของคนในพื้นที่ ของประชาชนให้้มีโอกาสได้ตรวจคัดกรองในราคาที่ไม่แพง 2.เร่งฉีดวัคซีนในพื้นที่สีแดง ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น และ 3.เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ จะดูแลอย่างไร เพราะสุดท้ายต้องกลับภูมิลำเนาทำให้เกิดการแพร่เชื้อในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/948347