ส.อ.ท. ผวาน้ำมันดิบพุ่ง 150 เหรียญฯ ห่วงเงินเฟ้อ ของแพง ซ้ำเติมประชาชน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่าสถานการณ์เงินเฟ้อและสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้น น่าเป็นห่วงอย่างมาก ขณะที่ผลกระทบในทางอ้อมนั้น มีแน่นอน โดยหลังจากชาติตะวันตก นำโดยสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับรัสเซีย ทำให้มีผลต่อระบบทางการเงินธุรกรรมต่างๆ และการแช่แข็งสกุลเงินของรัสเซียที่อยู่ในต่างประเทศด้วย ทั้งนี้ เรื่องวิกฤตที่สุด คือราคาพลังงาน ปัจจุบันราคาน้ำมันโลกได้ทะลุเกินกว่า 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล และถ้าสถานการณ์ยังยืดเยื้อต่อไปอาจจะทะลุ 120 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล หรือ 150 เหรียญสหรัฐฯต่อ บาร์เรล ก็เป็นไปได้ และการที่รัสเซียปิดท่อแก๊สที่ส่งไปยังประเทศทางยุโรป อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลน […]

โอมิครอนทำพิษฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่าเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม ชะลอตัวลง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลงจากการระงับการลงทะเบียนเข้าประเทศผ่านระบบ Test & Go ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron ในหลายประเทศ โดยการบริโภคและลงทุนของภาคเอกชนปรับลดลง จากความกังวลต่อการระบาด รวมถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขจัดปัจจัยฤดูกาลแล้วปรับลดลง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงจากเดือนก่อน ที่มา : […]

ส.ผู้ค้าปลีกไทย ยันร่วมตรึงราคาสินค้า ยื่น 4 มาตรการ เติมเงินเข้าระบบศก.

นายญนน์ โภคทรัพย์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาที่เกิดจากราคาพลังงานและอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยที่เจอผลกระทบทั้งในเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้นและรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวจากโควิด-19  การตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ สมาคมฯ เสนอมาตรการช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในภาวะที่ค่าครองชีพสูงและเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ดังนี้ 1. ตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น 2. เตรียมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นให้กับประชาชน 3. ช่วยฟื้นฟู SMEs การจัดหาแหล่งเงินทุน ขณะที่มาตรการในส่วนของภาครัฐ 1.เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายของภาครัฐ ที่มีวงเงินงบประมาณถึง 3.1 ล้านล้านบาท 2.การพยุงราคาพลังงานให้คงที่ และ 3. กระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน ที่มา: […]

“หนี้ครัวเรือน” แตะ 15 ล้านล้าน รัฐเร่งสกัด-หวั่นฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย

กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัยศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าในปีนี้ คาดว่าหนี้ครัวเรือนไทยจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และมีโอกาสสูงกว่า 15 ล้านล้านบาท ส่วนในแง่สัดส่วนต่อ GDP หากปีนี้ GDP ออกมาขยายตัวสูงกว่าปี 2564 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนก็อาจจะต่ำกว่า 90-92% ที่เคยประเมินไว้ อย่างไรก็ดี แนวโน้มสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกดดันค่าใช้จ่ายหรือการบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะในครัวเรือนที่มีภาระหนี้อยู่แล้วในระดับสูง รายได้ค่อนข้างต่ำ และหากดูผลต่อเศรษฐกิจหนี้ที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้การเติบโตของการบริโภคโดยรวมเหมือนมีข้อจำกัด ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3199826

ธปท.ลุ้นศก.ไทยฟื้นตัว เทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโควิดต้นปีหน้า

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและคาดว่าจะกลับสู่ระดับ Pre-Covid ในช่วงต้นปี 2566 อย่างไรก็ดีการระบาดยังมีความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันการฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ในส่วนของการระดมทุนผ่านสินเชื่อและตราสารหนี้ขยายตัวตามความต้องการเงินทุนของภาคธุรกิจจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2565 เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น โดยอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปีแต่โดยรวมทั้งปียังต่ำกว่า 3% ส่วนการเพิ่มของราคาสินค้ายังไม่ได้กระจายตัวเป็นวงกว้าง ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันมีผลกระทบสูงกว่าหมวดอื่นจากสัดส่วนการบริโภค ที่มา : https://www.naewna.com/business/637733

สภาพัฒน์ฯ คาดเศรษฐกิจไทยปี 65 โตได้ 4%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/64 ขยายตัวได้ 1.9% เทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ 1.6% โตกว่าที่คาดเดิมว่าจะขยายตัวได้ 1.2% สำหรับเศรษฐกิจปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4% อยู่ภายใต้สมมติฐาน 1.การแพร่ระบาดของโอมิครอน มีการฉีดวัคซีนมาก ทำให้การเสียชีวิตลดลงมาก แม้จะมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น สาธารสุขรองรับได้ 2.ลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลดลง เนื่องจากการฟื้นตัวช้า มีปัจจัยเงินเฟ้อสูงของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 3.ค่าเงินไทยอยู่ที่ […]

รัฐบาลแจงกู้เงิน1.5ล้านล้านบาท เพื่อสู้โควิดกู้เศรษฐกิจ

นายอาคม กล่าวว่า หนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 และ 2564 เนื่องจากเจอวิกฤตโควิด-19 โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีล่าสุดเดือน ธ.ค. 2564 อยู่ที่ 59.57% เนื่องจากต้องออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ครั้ง จำนวน 1.5 ล้านล้านบาท โดยมีการปรับเพดานหนี้สาธารณะจาก 60% ต่อจีดีพี เป็น 70% ต่อจีดีพี ในปีที่ผ่านมา รองรับการกู้หนี้ที่เพิ่มมากขึ้น จากทั้งการกู้ชดเชยการขาดดุล ทั้งนี้ ความจำเป็นการกู้เงิน […]

รัฐบาลคาดโควิดไม่สะเทือนเศรษฐกิจปี 65 โต 4%

ปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยยังไม่มีจุดสิ้นสุด แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเริ่มอยู่ในวงจำกัดจากผลของมาตรการด้านสาธารณสุขและการเร่งกระจายวัคซีนที่มีความครอบคลุมมากขึ้นบวกกับผลของมาตรการทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยจึงมีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงการคลังคาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จะขยายตัวที่ 1.2% ต่อปี กลับมาขยายตัวเป็นบวกหลังจากหดตัวที่ -6.1% ในปี 2563 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ฟื้นตัวได้ดีจากการส่งออกสินค้า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งนี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ 4.0% ต่อปี สูงกว่าก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี […]

“สภาพัฒน์” ชี้ 3 ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทย แนะเร่งปรับโครงสร้าง เพิ่มโอกาสเติบโต

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันถือว่ายังมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดี แต่กำลังเผชิญกับข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยนอกจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางมากขึ้นจากหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัว ตลอดจนโครงสร้างประชากรที่จะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2578 ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/987702

สุพัฒนพงษ์”ชี้งานเศรษฐกิจรัฐบาลมาถูกทาง ปัจจัยญี่ปุ่นมั่นใจลงทุนไทย

สุพัฒนพงษ์ ​พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงผลสำรวจของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ(JCCB) นักลงทุนญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทย มองเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2565 เป็นบวกค่อนข้างมาก และถือว่าเป็นมุมมองที่ดีที่สุดในรอบ 7 ปีสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นดีขึ้นกว่าเดิมมาก ด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ชี้นโยบายอุตฯเป้าหมายมาถูกทาง ความเชื่อมั่นลงทุนในอีอีซีพุ่ง ปัจจัยกระจายฐานการผลิตหนุน สอท.แนะรัฐบาลเร่งโรดโชว์ดึง EV – อุตฯไฮเทคลงทุน ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/986199