รับมือ Q1 เงินเฟ้อเร่งตัวสูงสุด 4% สารพัดปัจจัยซ้ำเติมค่าครองชีพ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินว่า แรงกดดันจาก “หมวดพลังงาน” โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เงินเฟ้อในปี 2565 ยังคงอยู่ในระดับสูง จากสภาพภูมิอากาศที่หนาวมากกว่าปกติ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ทั่วโลกมีความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันไม่สามารถปรับเพิ่มกำลังการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงสร้างแรงกดดันเพิ่มเติมต่อราคาน้ำมันโดยเฉพาะในช่วงต้นปีนี้ ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันด้านสูงจากฝั่งอุปทาน (cost-push) ทั้งหมด ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากปี 2564 ทำให้ ttb analytics ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยเร่งตัวสูงสุด 4% ในไตรมาสแรกปีนี้ ที่มา: https://www.prachachat.net/columns/news-860175

ทิสโก้แนะจับตา3ปัจจัยเสี่ยง กดดันระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี’65

นายคมศร ประกอบผล หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ เปิดเผยว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2565 มี 3 ปัจจัย คือ 1.ไวรัส COVID-19 ยังคงระบาดต่อเนื่องและยืดเยื้อ ประเด็นนี้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน อาจจำเป็นต้องกลับมาประกาศใช้มาตรการ Lockdown ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของโลกและทำให้ปัญหาเงินเฟ้อยืดเยื้อต่อไปอีก 2.เงินเฟ้อทรงตัวในระดับสูงตลอดทั้งปีสาเหตุหลักมาจากปัญหาด้านการผลิตที่ไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ 3.นโยบายการเงินที่เข้มงวด ที่มา: https://www.naewna.com/business/623687

เดิมพัน…เร่งเปิดประเทศ หนุนเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วขึ้น

หลังจากรัฐบาลเปิดเมือง-เปิดประเทศ คลายล็อกกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น แม้ว่าการระบาดของโควิด-19 ยังคงมีอยู่ แต่ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้ดีขึ้นศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) ชี้ว่า การเปิดประเทศได้เร็ว อัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้น และแรงกระตุ้นต่อเนื่องจากมาตรการภาครัฐ เป็นปัจจัยบวกหนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจโค้งสุดท้ายของปี จะทำให้จีดีพีในปี 2564 ขยายตัวได้ที่ 1.0% ดีกว่าเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 0.3% และด้วยปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกด้านมีแรงส่งมากขึ้นจะดันให้เศรษฐกิจไทยปี 2565 โตต่อเนื่องที่ 3.6% ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-803717