ช่วยเยียวยาลูกหนี้ 7.5 แสนราย “ออมสิน” จัดเต็มพักหนี้สินเชื่อรายย่อย 6 เดือน

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ขณะนี้ออมสินได้ออกมาตรการ พักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.-ธ.ค.2564 เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ให้กับลูกหนี้รายย่อย ซึ่งจากฐานข้อมูลลูกค้าสินเชื่อของธนาคาร มีลูกหนี้ที่เป็นลูกหนี้รายย่อยราว 750,000 ราย รวมยอดหนี้ 50,000 ล้านบาท โดยเป็นมาตรการพักชำระหนี้สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายย่อยที่มีวงเงินกู้ไม่เกิน 200,000 บาท และไม่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบทำให้ต้องเลิกกิจการ ถูกเลิกจ้าง ขาดรายได้ ฯลฯ ที่มา : […]

รัฐทุ่มสุดตัวช่วยเอสเอ็มอี เยียวยา-พักหนี้ ธนาคารพร้อมดำเนินการ

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและรมว.กลาโหม ที่ให้ทุกภาคส่วนออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีความสามารถประคับประคองธุรกิจให้ก้าวข้ามความยากลำบากช่วงโควิด-19 โดยเฉพาะผู้ประกอบการSME ซึ่งขณะนี้ธนาคารรัฐและธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ได้ขานรับโดยออกมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นเวลา 2เดือน ช่วยSME และรายย่อย ที่ต้องปิดกิจการตามมาตรการของรัฐ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นความประสงค์ที่ธนาคารเจ้าหนี้ ได้ตั้งแต่วันที่19 กรกาคม ถึง 15 สิงหาคม และบางแห่งให้ถึง 31 สิงหาคม ที่มา: https://www.naewna.com/business/588607

ธุรกิจโรงแรมร้องรัฐเยียวยาจ้างแรงงาน-ลดค่าไฟ-เร่งฉีดวัคซีน พ้อพูดซ้ำๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลออกมาตรการควบคุมการระบาดโควิดเข้มข้นสูงสุดใน 10 จังหวัดเสี่ยงสูง จึงต้องการให้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1.การชดเชยค่าจ้างแรงงานให้กับพนักงาน 2.ลดต้นทุนโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า 15% รวมถึงผ่อนชำระได้ จนถึงสิ้นปี 64 และ 3.เร่งฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว เน้นไปที่จังหวัดเสี่ยงสูง และจังหวัดท่องเที่ยวก่อน รวมถึงประชาชนในจังหวัดเหล่านั้นด้วย ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้ก็เป็นข้อเรียกร้องให้ช่วยรูปแบบเดิมมากว่าปีครึ่งแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องเดิมที่พูดซ้ำๆ เหมือนแผ่นเสียงตกร่อง ส่วนภาพรวมธุรกิจโรงแรมน่าจะเปิดตัวประมาณ 50% โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ […]

TDRI คาดศก.ไทยปีนี้โต 1.5% แนะรัฐเยียวยา SME ภาคบริการเพื่อรักษาการจ้างงาน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 64 จะเติบโตได้ที่ 1.5% จากความไม่แน่นอนในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ซึ่งกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในปีนี้ให้ลดลงเหลือประมาณ 5 แสนคน จากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1 ล้านคน ทั้งนี้ มีข้อเสนอต่อภาครัฐที่นอกเหนือจากการเยียวยาช่วยเหลือแจกเงินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว คือจะต้องมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และ SMEs ในภาคบริการ การช่วยพยุงธุรกิจให้สามารถอยู่ได้ และรักษาการจ้างงานไว้ เพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินงานได้หลังจากคลายล็อคดาวน์ ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/105752

คาดล็อกดาวน์รอบนี้ ศก.สูญกว่า 4.9-6.3 หมื่นล้านบ. แนะรัฐเยียวยาเสมอภาค

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า จากการประเมินในเบื้องต้นคาดว่าการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่เสี่ยง และยกระดับมาตรการควบคุมโรคตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคมนั้น จะทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณอย่างต่ำวันละ 3,500-4,500 ล้านบาท ทำให้เกิดความเสียหายโดยรวมขั้นต่ำในระยะเวลา 2 สัปดาห์ประมาณ 49,000-63,000 ล้านบาท ผลกระทบทางด้านความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากการล็อกดาวน์ครั้งนี้ น้อยกว่าการล็อกดาวน์ทั้งประเทศในช่วงปี 2563 ที่มา: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000067607

ไทยไม่พร้อมล็อกดาวน์! ชี้จุดอ่อนรัฐจ่ายชดเชยล่าช้า

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เผย หากภาครัฐยกระดับการล็อกดาวน์จะกระทบต่อการบริโภคในช่วงที่เหลือของปีนี้ และหากล็อกดาวน์ทั้งประเทศ จะมีผลกระทบรุนแรงมาก เพราะจากการระบาดระลอก 3 คือ รัฐบาลใช้จ่ายเงินค่อนข้างช้า เม็ดเงินน้อย และไม่ตรงจุด ซึ่งนี่คือจุดอ่อนที่ไม่สามารถล็อกดาวน์ได้ เพราะภาครัฐสนับสนุนได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นจึงเห็นว่าหากปิดเมืองเพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อจะต้องดูเรื่องเศรษฐกิจไปควบคู่กัน หากเกิดล็อกดาวน์ ต้องมีการชดเชยจากภาครัฐ การเติมสภาพคล่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยเร็ว เพราะที่ผ่านมาพบว่า การปล่อยสินเชื่อซอฟต์โลน มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ทำได้ล่าช้ามาก ที่มา: https://www.dailynews.co.th/news/31787/

ทนไม่ไหว“รถทัวร์ท่องเที่ยว”ร้องรมว.ท่องเที่ยว-คมนาคมช่วยด่วน

วันที่ 24 มิถุนายน 2564 สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย (สปข.) ได้ยื่นหนังสือขอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาหาทางช่วยเหลือสมาชิกผู้ประกอบการรถขนส่งซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปี ที่ผ่านมา เช่น การยกเว้นการเก็บภาษีประจำปีสำหรับรถโดยสารไม่ประจำทาง การยกเว้นเบี้ยปรับ การสนับสนุนเงินชดเชย /เงินซ่อมบำรุง รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการเดินทางเป็นหมู่คณะของหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ตลอดถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นทุกระดับ เช่น ส่งเสริมการจัดประชุม สัมมนา ดูงาน ให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอันจะทำให้เกิดรายได้แก่ผู้ประกอบการ โดยกระทรวงคมนาคมยินดีที่จะรับทราบปัญหาและจะได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาเพื่อหาทางช่วยเหลือต่อไป ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/business/485254

กสิกรไทยอัด 15,000 ล้าน ช่วยลูกค้าธุรกิจสู้โควิด หนุนสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่อง

จากวิกฤตโควิด-19 ระลอก 3 เกิดขึ้น ธนาคารกสิกรไทยจึงร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยให้การช่วยเหลือลูกค้าของธนาคาร ผ่าน 2 มาตรการช่วยเหลือ ดังนี้ 1.มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู เป็นสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โดยลูกค้าปัจจุบันจะกู้ได้สูงสุด 30% ลูกค้าใหม่จะขอกู้ได้สูงสุด 20 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุด 7 ปี พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย นานสูงสุด 24 เดือน 2.มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ คือมาตรการรับโอนหลักประกันเพื่อชำระหนี้ธุรกิจ โดยลูกค้ายังมีสิทธิ์เช่าทรัพย์นั้นเพื่อดำเนินธุรกิจต่อได้ และมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์คืน ทั้งนี้ได้เตรียมวงเงินสินเชื่อกว่า 15,000 […]

‘ท่องเที่ยว’ กระอักเลือด หลังต่างชาติหายไปปีเศษ ชงรัฐแบ่งเงินกู้ 7 แสนลบ. หยิบเยียวยา-ฟื้นฟูเพิ่ม

สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว เปิดเผยว่าภาพรวมภาคการท่องเที่ยวที่ผ่านมา ประเทศไทยอาศัยรายได้จากตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก และหลังจากการระบาดโควิดระลอกแรกจนถึงปัจจุบัน ผ่านมามากกว่า 1 ปีแล้ว ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติหายไป 100% ทั้งนี้ จากกระแสข่าวที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาร่างพระราชกาหนด (พ.ร.ก.) เงินกู้เพิ่มเติมวงเงิน 700,000 ล้านบาทนั้น เบื้องต้นมองว่า ในก้อน 2.7 แสนล้านบาท ที่ใช้ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น หากมีเงินส่วนที่เหลือจากการใช้ดาเนินโครงการต่างๆ ก็อยากให้นามาใส่เป็นงบประมาณในภาคการท่องเที่ยว ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2732600

ส.อ.ท.ผนึก 163 บริษัท เร่งจ่ายค่าสินค้าเติมสภาพคล่องเอสเอ็มอี

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  ขณะนี้ได้ฟื้นโครงการ “FTI Faster Payment Phase 2” ซึ่งได้จับมือกับ 163 บริษัทที่เป็นสมาชิก เพื่อเข้ามาช่วยเหลือสภาพคล่อง โดยได้ดำเนินโครงการ FTI Faster Payment (ส.อ.ท. ช่วยเศรษฐกิจไทย) ชำระหนี้ค่าสินค้าหรือบริการให้เอสเอ็มอี ภายใน 30 วัน โดยมีซัพพลายเออร์ไม่ต่ำกว่า 20,000 กิจการที่ได้รับประโยชน์ มีมูลค่าการซื้อขาย ในซัพพลายเชนอย่างน้อย 4,300 ล้านบาทต่อเดือน […]