ธปท.เตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงคลังแจงเงินเฟ้อหลุดเป้า

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 และ 3  ในปีนี้ ซึ่งมาจากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ทั้งนี้คาดว่าทั้งปีนี้เงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มอยู่ที่ 4.9%  บนสมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล  ถัดไปในปีหน้าจะปรับลดลงอยู่ที่ 1.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาการราคาพลังงานและอาหารจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นต่อในช่วง 1 ปี ยกเว้นจะมีPrice Shockต่อเนื่องจากราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มา: […]

ธปท.ออกโรงยันฐานะยังแกร่ง หนี้ครัวเรือนทำ S&P หั่นเรตติ้ง 4 แบงก์

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า S&P มีมุมมองว่า หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งกฎเกณฑ์ของทางการเอื้อให้การช่วยเหลือลูกหนี้ของไทยทำได้มากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้มีลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือจานวนมาก นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง อย่างไรก็ดี S&P จัดให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง ตั้งแต่ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงไทย และทีเอ็มบีธนชาต มีแนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือคงที่ (stable outlook) เนื่องจากยังมีความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนและมีเงินสำรองในระดับสูง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2348562

ธปท.จับตาเงินเฟ้อพุ่ง กระทบผู้มีรายได้น้อย ยันเศรษฐกิจไทย ‘แกร่ง’

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ปัจจุบัน ยังเผชิญกับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวเท่าก่อนโควิด โดยมองว่าการฟื้นตัว ไปสู่ระดับนั้นอาจเห็นได้ในปลายปี หรือต้นปีหน้า อีกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังมีความไม่ทั่วถึง ยังเป็นลักษณะ K-Shaped Recovery ดังนั้นในด้านการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังคงมีความแตกต่างกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง ธปท. ยืนยันไม่จำเป็น ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย ตามทิศทางดอกเบี้ยโลก หวังเป็นมาตรการสำคัญดูแลเศรษฐกิจฟื้นตัว ในด้านของเงินเฟ้อพุ่งเป็นปัจจัยชั่วคราว เกิดจากซัพพลายช็อคในต่างประเทศ แต่ผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัด ห่วงผู้มีรายได้น้อยลำบาก […]

สรท.ถกแบงก์ชาติ รับมือหลังรัสเซียถูกตัดออกจาก SWIFT

นายชัยชาญ  เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยภายหลังการหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับกรณีสหรัฐและชาติพันธมิตรจะตัดรัสเซียออกจากเครือข่ายการชำระเงินชำระเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือ SWIFT ว่า การตัดรัสเซียออกจากระบบ SWIFT กระทบต่อการชำระเงินทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั่งไทยโดยเฉพาะการชำระค่าสินค้าต่อผู้ส่งออกของไทยอย่างแน่นอน แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลทันทีเพราะต้องรอการประชุม สมาคมโทรคมนาคมทางการเงินโลกหรือ SWIFT อย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งต้องติดตามว่าจะมีผลเมื่อไร อย่างไรก็ตามหากมีผลบังคับใช้จริงส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยเพราะการชำระเงินต้องผ่านระบบ SWIFT โดยผู้ส่งออกใช้ระบบการโอนเงินผ่าน SWIFT ระหว่างลูกค้าต่างประเทศอยู่แล้ว ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/990939

“ธปท.” แจง แซงชั่นรัสเซียไม่กระทบระบบชำระเงินไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรตะวันตก ประกาศที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมด้วยการตัดบรรดาธนาคารรัสเซียหลายแห่งออกจากระบบสมาคมธุรกิจโทรคมนาคมทางการเงินระหว่างธนาคารทั่วโลก หรือ สวิฟต์ (SWIFT) ว่า ธปท. กำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นมองว่าประเด็นดังกล่าวยังไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการชำระเงินของไทย ทั้งนี้ มีการประเมินผลกระทบในระยะสั้นจะเกิดผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ ความผันผวนในตลาดการเงิน ความผันผวนในตลาดการเงิน  เศรษฐกิจโลกอาจจะชะลอตัวลง ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/676921

ธปท.ลุ้นศก.ไทยฟื้นตัว เทียบเท่าช่วงก่อนเกิดโควิดต้นปีหน้า

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหาภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องและคาดว่าจะกลับสู่ระดับ Pre-Covid ในช่วงต้นปี 2566 อย่างไรก็ดีการระบาดยังมีความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันการฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ในส่วนของการระดมทุนผ่านสินเชื่อและตราสารหนี้ขยายตัวตามความต้องการเงินทุนของภาคธุรกิจจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2565 เงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นและมีความเสี่ยงสูงมากขึ้น โดยอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมายในช่วงแรกของปีแต่โดยรวมทั้งปียังต่ำกว่า 3% ส่วนการเพิ่มของราคาสินค้ายังไม่ได้กระจายตัวเป็นวงกว้าง ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันมีผลกระทบสูงกว่าหมวดอื่นจากสัดส่วนการบริโภค ที่มา : https://www.naewna.com/business/637733

ร้องเรียนผลิตภัณฑ์การเงินพุ่ง 92% ปี 63 คนแห่ขอแก้หนี้-แจ้งเบาะแสถูกหลอกลวง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานปริมาณเรื่องร้องเรียนทางการเงินผ่านช่องทางผู้ให้บริการทั้งหมดในปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 565,430 รายการ เพิ่มขึ้น 15% จากสิ้นปีก่อน ขณะที่เรื่องร้องเรียนผ่านช่องทางศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ของ ธปท. ปี 2563 มีทั้งสิ้น 59,649 รายการ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 92% เป็นการขอคำปรึกษา 56,556 รายการ เพิ่มขึ้น 87% เป็นการขออนุเคราะห์ […]

ธนาคารแห่งประเทศไทยช่วยลูกหนี้ 5.6 ล้านบัญชี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานผลการช่วยเหลือลูกหนี้ ในการปรับโครงสร้างหนี้ และให้สินเชื่อใหม่ ล่าสุด ตามโครงการช่วยเหลือต่างๆที่ได้ดำเนินการไปก่อนหน้า โดยในส่วนของการช่วยเหลือลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่านสถาบันการเงินโดยตรง ณ วันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีจำนวนบัญชีที่ได้รับความช่วยเหลือรวม 5.66 ล้านบัญชี คิดเป็นยอดหนี้ 3.53 ล้านล้านบาท เป็นความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงิน และบริษัทให้สินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) 1.80 ล้านบัญชี วงเงินสินเชื่อรวม 2.03 ล้านล้านบาท และเป็นความช่วยเหลือผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 3.86 […]

‘กนง.’ชี้เงินเฟ้อปี’65แตะ1.7% ‘กรุงศรี’เชื่อธปท.ส่อตรึงดบ.ยาว

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 8ก.พ.2565 รับทราบรายงานภาวะ และแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ตามราคาหมวดพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น และปี 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ร้อยละ 1.4 โดยเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวจากปัญหา โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ขณะที่ วิจัยกรุงศรี ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนแรกของปีนี้อยู่ที่  3.23% […]

โอมิครอนฉุดดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจร่วง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (REPORT ON BUSINESS SENTIMENT INDEX)ในเดือนมกราคม 2565 ดัชนีฯ ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 47.2 จาก 49.0 ในเดือนก่อนหน้าจากองค์ประกอบด้านต้นทุน คำสั่งซื้อและปริมาณการผลิต/การค้า/การบริการ โดยการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเร็วและกระจายทั่วประเทศ ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของทุกธุรกิจ ในภาคที่มิใช่การผลิตลดลง โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมและร้านอาหารที่ดัชนีฯ ลดลงจากองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อและการบริการเป็นสำคัญ ที่มา: https://www.naewna.com/business/632850