กสิกรฯ คาดใช้จ่ายอาหาร-เครื่องดื่มปี 65 โต 1.9-2.7% แตะ 2.5 ล้านลบ. ต้นทุนดันราคาสูงขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า มูลค่าการใช้จ่ายอาหารและเครื่องดื่มในประเทศปี 2565 อาจอยู่ที่ระดับ 2.57-2.59 ล้านล้านบาท หรือขยายตัว 1.9-2.7% เทียบกับปี 2564 ที่ขยายตัว 2.5% โดยปัจจัยหนุน ยังคงมาจากระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้นราว 3.1%YoY ตามต้นทุนการผลิตที่คาดว่าจะอยู่ในระดับสูง จากความไม่สงบในยูเครน ที่ซ้ำเติมปัญหาคอขวดห่วงโซ่อุปทานในตลาดโลก โดยกลุ่มสินค้าที่มีการเติบโตของระดับราคาสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่มาก ได้แก่ น้ำมันพืช เนื้อสัตว์และเครื่องดื่ม (ทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์) ที่มา: https://www.infoquest.co.th/2022/184155

เอสเอ็มอีเดือดร้อนต้นทุนเพิ่ม รับผลกระทบจากศึกรัสเซีย-ยูเครน

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เปิดเผยรายงานสถานการณ์และวิเคราะห์เตือนภัยเอสเอ็มอีเกี่ยวกับการสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครน ว่าสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทั้งเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ซึ่งเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบเนื่องจากรัสเซียเป็นหนึ่งในคู่ค้าสำคัญและเป็นประเทศเป้าหมายที่ไทยต้องการขยายความสัมพันธ์ทั้งการค้าการลงทุน เพราะเป็นประตูที่สามารถจะขยายไปสู่กลุ่มประเทศในภูมิภาคยูเรเซีย อีกทั้งยังเป็นตลาดหลักของการท่องเที่ยวไทย ขณะที่ยูเครน เป็นประเทศที่ไทยมีมูลค่าการส่งออก 134.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นส่วนของเอสเอ็มอี 15.10 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นกว่า 30% สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจประเทศโดยภาพรวม โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการประกอบการให้เพิ่มสูงขึ้น ที่มา: https://www.naewna.com/business/641876

ส.เลี้ยงไก่ไข่ ชงพาณิชย์ ขอขึ้นราคาไข่คละหน้าฟาร์ม โอดแบกต้นทุนต่อไม่ไหวแล้ว มีแต่เจ๊ง

วันที่ 13 มี.ค.2565 นายมาโนช ชูทับทิม นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2565 ที่ผ่านมา ได้ยื่นขอปรับขึ้นราคาไข่คละหน้าฟาร์มไปยังกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จากที่จำหน่ายที่ 3.10 บาท/ฟอง ซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกับว่า จะปรับขึ้นเป็นฟองละเท่าไหร่ สาเหตุที่ปรับขึ้นเนื่องจากแบกรับต้นทุนอาหารสัตว์ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาขึ้นไปถึง 13 บาท/ก.ก. อีกทั้งได้แนะนำให้เกษตรกรรายเล็กรายย่อยที่ปลดแม่ไก่ เพื่อลดปริมาณการเลี้ยงลง ด้านสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึงผลกระทบราคาข้าวจากกรณีการสู้รบระหว่างรัสเซีย และยูเครน ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่ของโลกว่า คาดว่าจะส่งผลให้ราคาข้าวไทยปรับเพิ่มสูงขึ้น […]

พาณิชย์หารือภาคเอกชน เช็คผลกระทบความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ กล่าวว่าจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ได้สั่งการให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหน้าที่ร่วมกับทุกส่วนราชการของกระทรวงพาณิชย์ ติดตามสถานการณ์ร่วมกับภาคเอกชนโดยใกล้ชิด สำหรับเรื่องราคาน้ำมันที่เป็นห่วงว่าจะพุ่งสูง อาจกระทบภาคการผลิตและราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคในประเทศไทยได้ และเรื่องค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ซึ่งมีความสำคัญต่อการนำเข้าส่งออกของไทย ถือว่ายังไม่เสถียร สำหรับรัสเซียขณะนี้กำลังพิจารณานำเข้าสินค้าจากไทยบางรายการ ต้องดูว่าค่าเงินยังมีความผันผวนมากน้อยแค่ไหน เมื่อค่าเงินรูเบิลมีความเสถียรแล้ว ทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ โดยในภาพรวมยังไม่กระทบอย่างมีนัยสำคัญ ที่มา: https://www.naewna.com/business/638530

พาณิชย์ วิเคราะต้นทุนการผลิตสินค้า หลังราคาน้ำมันแพง

กรมการค้าภายใน ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบต้นทุนน้ำมันดีเซลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า พบว่า มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าไม่มาก จึงไม่ใช่เหตุผลที่ผู้ผลิตจะใช้ในการปรับขึ้นราคา และได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไปก่อน โดยผลการวิเคราะห์ เช่น สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 1.45% ของใช้ประจำวัน เพิ่ม 1.1% วัสดุก่อสร้าง เพิ่ม 1.2% กระดาษและผลิตภัณฑ์ เพิ่ม 5% ปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เพิ่ม 0.5% เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการดูแลราคาสินค้าไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค กรมฯ […]

“พาณิชย์” จับตาต้นทุนสินค้าพุ่ง อั้นได้ไม่เกิน 2 เดือนผู้ผลิตจ่อขึ้นราคา

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้ผลิตสินค้าจะตรึงราคาสินค้าได้อีก 1-2 เดือนเท่านั้น เพราะต้นทุนต่างๆ ปรับขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะราคาพลังงานว่า ราคาพลังงานเป็นต้นทุนเพียงส่วนหนึ่งของสินค้าเท่านั้น ไม่ได้เป็นต้นทุนทั้งหมด โดยธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่รัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือ เช่น ตรึงราคาดีเซลไม่เกินลิตรละ 30 บาท ส่วนราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ที่มีแนวโน้มปรับขึ้น ยืนยันว่าไม่มีผลต่อราคาอาหาร เพราะก๊าซ 1 ถัง (15 กก.) ปรุงอาหารได้มาก ผู้ค้าอย่าเอามาอ้าง โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือผู้ผลิตสินค้าตรึงราคาต่ออีกระยะหนึ่ง และยืนยันว่าได้พยายามตรึงราคาทั้งระบบ […]

ส.อ.ท.หวั่นต้นทุนการผลิตพุ่ง จนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจโพล ส.อ.ท.ภายใต้หัวข้อ “สินค้าแพง ต้นทุนพุ่ง กระทบเศรษฐกิจไทยแค่ไหน?” โดยสำรวจจากผู้บริหาร 160 คน พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจนส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า มาจากราคาน้ำมันและพลังงานโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูง ทำให้รายได้ของผู้ประกอบการลดลง 10-20% และคาดว่าแนวโน้มต้นทุนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมใน 3-6 เดือนข้างหน้าจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 10-20% จึงเสนอขอให้รัฐบาลช่วยเหลือในการพยุงราคาพลังงาน ลดค่าสาธารณูปโภคเพื่อบรรเทาผลกระทบทุกภาคส่วน ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/other/2255597

ราคาข้าวโพดพุ่งไม่หยุด โดมิโนต้นทุนคนเลี้ยงสัตว์

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย รายงานราคาข้าวโพดไทยเปรียบเทียบกับราคาตลาดโลก พบว่า ราคาเฉลี่ย ณ 2563 หน้าโรงงานอาหารสัตว์ไทย อยู่ที่ 8.97 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) แต่เมื่อเทียบกับราคาตลาดชิคาโก ซึ่งอยู่ที่ 4.54 บาทต่อกก. จะพบว่าราคาข้าวโพดไทยสูงกว่ามากเป็นเท่าตัว สถานการณ์ดังกล่าวกำลังส่งผลกระทบเป็นโดมิโนต่อเนื่องไปถึงเกษตรกรปลายน้ำอย่างเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลือง ปรับตัวสูงขึ้น 30% จากความต้องการเพิ่มขึ้นสูงของจีน ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ของโลก ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/969546

พิษน้ำท่วมทำคนเลี้ยงหมูทุกข์หนัก ผลผลิตเสียหาย-อาหารสัตว์พุ่ง

น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผย จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นและภาวะโรคในสัตว์ที่กระทบให้ผลผลิตสุกรเสียหาย เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรส่วนใหญ่ชะลอการนำสุกรชุดใหม่เข้าเลี้ยงออกไปก่อน ขณะที่ต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน อยู่ที่ 80.50 บาทต่อ กก. จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวโพดอาหารสัตว์ มีราคาถึง กก..ละ 11.35 บาท คาดจะผลิตสุกรขุนจำนวน 15 ล้านตัวต่อปี จากเดิมที่ 19-20 ล้านตัวต่อปี ลดลง 25% ขณะที่ปี 64 เกษตรกรได้มีการบริหารจัดการฟาร์มและพัฒนาระบบการเลี้ยงด้วยระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Biosecurity […]

ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงยังไม่ดันต้นทุนการผลิตสินค้าพุ่ง

ร้อยตรีจักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ได้ติดตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นว่าจะกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหรือไม่ พบว่ายังไม่มีผู้ผลิตสินค้ารายใดทำเรื่องขอปรับขึ้นราคาขายมายังกรม เพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ยังไม่ได้กระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า โดยสินค้า 1 รายการจะมีต้นทุนที่หลากหลาย ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าแรงงาน ค่าการตลาด ส่วนต่างกำไร ค่าขนส่ง ซึ่งในค่าขนส่งมีน้ำมันเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนเท่านั้น จึงไม่ได้มีผลมากนักต่อต้นทุนการผลิตโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/other/2210964