‘บลจ.กรุงศรี’ ชี้ศก.ปี 65 ฟื้นตัวได้ดี หลังการท่องเที่ยวกลับมา-ส่งออกยังโตต่อ

นายศิระ คล่องวิชา ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มการลงทุน บลจ.กรุงศรี เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2565 การฟื้นตัวมีแนวโนมชะลอตัวลงจากปี 2564 โดยเฉพาะในตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป แม้ความกังวลการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีน้อยลง โดยเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดว่าจะกลับมาขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและจากอัตราการฉีดวัคซีนที่เพิ่มสูงขึ้น จนสามารถกลับมาเปิดเศรษฐกิจได้เป็นปกติ โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว ส่วนการส่งออกจะยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากผลของฐานต่ำหมดไป ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_3142640

เศรษฐกิจไทยปีนี้ ต้องติดตามทุกไตรมาสตลอดทั้งปี

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด คาดเศรษฐกิจไทยในปี 2565 จะเติบโต 3.3% อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่ต้องติดตามตลอดทั้งปี โดย 4 ไตรมาส 4 ปัจจัยสำคัญต้องติดตาม ไตรมาสที่ 1 : การท่องเที่ยวของไทย ต้องจับตามองว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่ออุตฯ การท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน, ไตรมาสที่ 2 : เป็นช่วงของการทบทวนประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2565 ว่าจะมีจำนวน 5-10 ล้านคนตามที่คาดการณ์ไว้ได้หรือไม่, ไตรมาสที่ 3 : อาจจะเกิดความผันผวนในตลาดการเงินอันเป็นผลมาจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับธนาคารกลางอื่นในโลก, […]

เวิลด์แบงก์หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 3.9% ศก.โลก 4.1% จากพิษโควิด

ธนาคารโลก หรือ เวิลด์แบงก์ ปรับลดตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวทาง เศรษฐกิจของไทย ในปีนี้ (2565) สู่ระดับ 3.9% โดยลดลง 1.2% จากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมิ.ย.2564 และปรับลดคาดการณ์การขยายตัวในปีที่แล้ว (2564) สู่ระดับ 1.0% ลดลง 1.2% จากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้เช่นกัน เนื่องจากไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวอย่างมาก ทำให้เศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวกลับคืนสู่ระดับก่อนเกิดโควิด-19 จนกว่าจะถึงปี 2566 ที่มา : https://www.thansettakij.com/world/509977

ธุรกิจผวาพิษ “โอมิครอน” ทำจังหวะเศรษฐกิจฟื้นสะดุด

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธ.ค.64 อยู่ที่ระดับ 86.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 85.4 ในเดือนพ.ย.64 ถือเป็นการปรับตัวเพิ่มเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน สะท้อนความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศภายหลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้นทั้งภาคการผลิต การค้า และการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนด้วยมีการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการยังเผชิญกับแรงกดดันจากต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้นทั้งจากราคาพลังงานและราคาวัตถุดิบ ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/982067

แบงก์ชาติแจงเศรษฐกิจไทยไม่มีปัญหา stagflation แค่ฟื้นตัวช้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2565 ยังมีความเปราะบางและไม่เท่าเทียมกัน ลักษณะ K-SHAPE ประชาชนยังไม่รู้สึกเหมือนก่อนโควิด เพราะรายได้และการจ้างงานยังไม่เหมือนเดิม เพราะการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น ซึ่งเป็นตัวสร้างรายได้และการจ้างงาน ดังนั้น โจทย์หลักของ ธปท. คือ ทำให้การฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด และ ห้ามสะดุด โดยปีนี้ความเสี่ยงที่จะสะดุดอยู่ 4 เรื่อง คือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะโอมิครอน อัตราเงินเฟ้อ การเพิ่มขึ้นของหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) สถานการณ์โลก […]

ผู้ว่าฯ ธปท.มั่นใจเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง จับตา 4 ปัจจัยที่อาจทำให้ศก.สะดุด

ผู้ว่าฯ ธปท.มั่นใจเงินเฟ้อปีนี้ไม่น่าเป็นห่วง จับตา 4 ปัจจัยที่อาจทำให้ศก.สะดุด เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Meet the Press ว่า สถานการณ์เงินเฟ้อของประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากราคาสินค้าที่สูงขึ้น เชื้อ เนื้อหมู ราคาน้ำมันนั้น ธปท.มองว่าไม่น่าเป็นห่วง และยังเชื่อว่าทั้งปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ร้อยละ1-3% อย่างไรก็ดี หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมากจนหลุดกรอบก็มีมาตรการที่พร้อมจะนำออกมาใช้ดูแล อีกทั้งยังต้องจับตา […]

กนง.ส่องเศรษฐกิจไทยปี65ฟื้น หวัง‘โอมิครอน’กระทบครึ่งแรก

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องในภาพรวม แต่ในระยะสั้นต้องจับตาโควิด โอมิครอน รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกัน ตลาดแรงงานยังเปราะบาง และยังได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่มาจากปัจจัยภายนอกและในประเทศ ถือเป็นความเสี่ยงที่สำคัญในปีนี้ ทำให้ กนง. ปรับลดจีดีพีมาเหลือ 3.4% จาก 3.9%  อย่างไรก็ตามแม้ประเมินว่าเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัว แต่รายได้แรงงานยังคงฟื้นตัวช้า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังไม่สามารถกลับมาสู่ระดับปกติ ทำให้รายได้ภาคการท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมา รวมถึงรูปแบบการจ้างงานต่างๆที่จะเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบโควิด-19 ทำให้รายได้แรงงานยังไม่กลับมาฟื้นตัวล้อไปกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/981877

ลลิลฯเผย5ปัจจัยหนุนอสังหาฯปี65โต10% เดินหน้าเปิด10-12โครงการมูลค่า7-8พันล.

ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ฯ มั่นใจอสังหาฯปี65 ขยายตัวอย่างต่ำ 10% ชี้ 5 ปัจจัยบวก 1.มาตรการรัฐ 2.จีดีพี ขยายตัว 3-4% 3.อาการผู้ติดเชื้อโอมิคอรนไม่รุนแรง 4.ดอกเบี้ยยังต่ำ 5.ราคาบ้านยังไม่ปรับขึ้น ดีมานด์อั้นสะสมกว่า2 ปี หนุนตลาดโตต่อเนื่อง เผยแผนลงทุนปี65 เปิดตัว 10-12โครงการมูลค่ารวม 7,000 – 8,000 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขาย8,500 ล้านบาท รับรู้รายได้ 7,200 ล้านบาท […]

คลังเกาะติด”โอมิครอน”เชื่อกิจกรรมเศรษฐกิจเดินต่อได้

กระทรวงการคลังจะติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เบื้องต้น ประเมินว่ามาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19(ศบค.) ประกาศออกมา จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ ขณะที่ นักท่องเที่ยวต่างประเทศก็ยังคงเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศได้ผ่านพื้นที่นำร่องและการคัดกรองเชื้อไวรัสอย่างเข้มงวดของรัฐบาล สำหรับการระงับการลงทะเบียนประเภท Test and Go คาดว่า จะส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทยในระยะสั้นเท่านั้น และจะค่อยๆกลับมาฟื้นตัวได้หลังจากที่มีการผ่อนคลายการระงับมาตรการดังกล่าว ซึ่งกระทรวงการคลังจะมีการประเมินและคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2565 อย่างเป็นทางการในวันที่ 28 ม.ค.นี้ ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/981632

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803