แบงก์ชาติยอมรับ อัตราเงินเฟ้อสูง เป็นปัจจัยกดดัน ให้ปรับดอกเบี้ย

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวยอมรับว่า ปัจจัยเศรษฐกิจตอนนี้ ยังมีความไม่แน่นอน (Uncertainty) ทำให้เศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องสร้างกันชน-ภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามปัญหาเงินเฟ้อจากเดิมที่เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมากจนไม่จำเป็นต้องสนใจเลย แต่หลังเกิดเหตุสงครามยูเครน-รัสเซีย ส่งผลให้พุ่งสูงขึ้นจนเกินเป้า คาดว่าจะถึงจุดสูงสุด(พีค)ในไตรมาส 3 ปีนี้ ทำให้เรื่องเงินเฟ้อเป็นโจทย์สำคัญมากต่อภาวะเศรษฐกิจนี้ ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed จะสะท้อนกับกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของไทย ควรเป็นแบบไทย ไม่ใช่ตามต่างชาติ ดังนั้นการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ช้าเกินไปก็ไม่ดี เร็วไปก็ไม่ดี เหมือนการเหยียบคันเร่งกับการแตะเบรก ที่ผ่านมานโยบายการเงินเราผ่อนปรนมากหากเทียบกับภูมิภาค ระยะต่อไปเราจึงต้องค่อยๆถอดคันเร่งแล้ว การขึ้นดอกเบี้ยแม้จะส่งผลกระทบต่อประชาชนก็ต้องดูแล […]

ลุ้นจ้างงานสหรัฐ-เงินเฟ้อยุโรป-โฟลว์ไหลเข้า กดเงินบาทขยับแข็งค่า

ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่ากรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า (วันที่ 30 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2565) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.00-34.40 บาทต่อดอลลาร์ โดยประเด็นที่ต้องติดตาม จะเป็นเรื่องสงครามรัสเซียที่อียูจะมีการประกาศการแบนการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ซึ่งจะทำให้ตลาดมีความผันผวนและเห็นค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่า ส่งผลต่อเงินบาทขยับแข็งค่าได้ อีกทั้งสำหรับทิศทางกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) สัปดาห์หน้าจะเริ่มเห็นแรงเทขายเพื่อ Take Profit บ้างแล้ว แต่ตลาดหุ้นยังมีลุ้นหากเศรษฐกิจดีขึ้น จะส่งผลต่อตลาดเกิดใหม่ EM มีเงินไหลเข้าสุทธิได้ ซึ่งจะช่วยกดดันบาทแข็งค่าได้ ซึ่งระหว่างสัปดาห์อาจเห็นเงินบาทลงมาเทสแข็งค่าในระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ได้ […]

กระทรวงพาณิชย์ รับสินค้า 279 รายการ ทยอยขึ้นราคา หลังเลิกตรึงดีเซล

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทย เดือนเมษายน 65 อยู่ที่ 4.65% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และมีอัตราลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 65 ซึ่งอยู่ที่ 5.73% เนื่องจากฐานการคำนวณเงินเฟ้อเดือนเมษายน ปีก่อนสูงจึงทำให้เงินเฟ้อขยับขึ้นน้อยกว่า แต่ราคาสินค้ายังคงปรับราคาขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น เนื่องจากราคาพลังงานสูงขึ้น 21.07 ส่งผลให้ ค่าขนส่งเพิ่มขึ้นที่ 10.73% รวมทั้งอาหารยังปรับราคาสูงขึ้นที่ 4.83% โดยเฉพาะกลุ่มปศุสัตว์ อาทิ ไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด […]

รัฐต่อเวลาลดภาษีดีเซล หนักแน่! ราคาน้ำมัน-สินค้าขึ้นอีกยกแผง

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ในเดือน พ.ค.นี้ จะมีการหารือถึงภาพรวมภาวะอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากระดับราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่สูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของไทยในระยะต่อไป โดยเฉพาะแรงซื้อต่อประชาชน ดังนั้นจึงเห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการในการช่วยเหลือและดูแลผลกระทบไว้รองรับ ทั้งระยะสั้นและยาว แนะต่ออายุยืดลดภาษีลิตรละ 3 บาท ออกไปอีก 3 เดือน พร้อมไม่ค้านหากรัฐจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในปีนี้ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/oil/2376081

แบงก์ชาติชี้ศก.ไทยยังเสี่ยงเงินเฟ้อจ่อทะลุ 5%

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า กนง. ในการประชุมเมื่อปลายเดือนมี.ค. 2565 ได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ อยู่ที่ 3.2% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.4% และปี 2566 อยู่ที่ 4.4% จากคาดการณ์เดิมที่ 4.7% จากปัจจัยเสี่ยงหลัก คือ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน, ปัญหา global supply disruption ที่อาจรุนแรงกว่าคาด […]

เงินเฟ้อกลับสู่ปกติสิ้นปี แบงก์ชาติยันไม่เกิด Stagflation

ท่ามกลางภาวะ เงินเฟ้อทั่วไป (ดัชนีราคาผู้บริโภค) เดือนมีนาคม ที่พุ่งกระฉูดขึ้นไปถึง 5.73% ทำสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี จากราคาพลังงานที่แพงขึ้นจากสงครามรัสเซียยูเครนทำให้ราคาข้าวปลาอาหารแพงขึ้นไปหมด จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครัวเรือน ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงถึงอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยใน 12 เดือนข้างหน้าว่า แม้จะมีแนวโน้มสูงกว่ากรอบเป้าหมาย แต่จะกลับเข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมายตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นไป ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2370322

กกร.หั่นGDPปีนี้โตแค่2.5-4% จี้ใช้‘คนละครึ่ง-เที่ยวด้วยกัน’กระตุ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการประชุม กกร. ประจำเดือนเม.ย.65 ว่าเศรษฐกิจไทยได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อ โดยจากคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปของธปท.ที่ 4.9% ซึ่งเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมากจะเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์และกำลังซื้อในประเทศ ทั้งนี้แม้เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงรอบด้านแต่ยังคาดว่าจะเติบโตได้ จากความมุ่งมั่นของภาครัฐและเอกชนในการปรับตัวให้อยู่กับโควิด-19 แบบปกติ ดังนั้น ที่ประชุม กกร. จึงปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 ขยายตัวได้ในกรอบ 2.5%-4.0% จากเดิมประมาณการขยายตัวในกรอบ 2.5%-4.5% ที่มา : https://www.naewna.com/business/645924

“สงคราม-เงินเฟ้อ” ทุบซ้ำความเชื่อมั่นโรงแรมเดือน มี.ค.65

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า จากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน มี.ค.2565 โดยร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าโรงแรม 79% เปิดกิจการปกติ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.พ.อยู่ที่ 72% ส่วนโรงแรมที่ปิดกิจการชั่วคราวมีสัดส่วน 2% ทั้งนี้ในเดือน มี.ค.2565 โรงแรมส่วนใหญ่ยังมีรายได้อยู่ในระดับต่ำ โดยมีรายได้กลับมาไม่ถึง 30% เมื่อเทียบกับก่อนวิกฤติโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ โดยมีแรงหนุนจากโครงการ […]

คลังขยาดกู้เงินหวั่นต่างชาติหั่นเครดิตประเทศ ขอลดออกมาตรการช่วยประชาชน – มั่นใจเงินเฟ้อทั้งปีอยู่ในกรอบ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดการขยายตัวเศรษฐกิจปี 2565 ลดลงเหลือ 3.2% จาก 3.4% และปี 2566 ลดลงเหลือ 4.4% จากเดิม 4.7% ไม่ได้หมายความรัฐบาลต้องกู้เงินเพิ่มมากระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้เท่าเดิมเสมอไป และเงินจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ก็ยังเหลืออยู่ 5-7 หมื่นล้านบาท ที่ยังพอดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งการกู้เงินเกินตัวถือว่าไม่จำเป็น และเป็นการลดเครดิตของประเทศ ซึ่งตอนนี้เศรษฐกิจขยายตัวได้แล้ว […]

ธปท.เตรียมทำจดหมายเปิดผนึกถึงคลังแจงเงินเฟ้อหลุดเป้า

นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน และในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงกว่า 5% ในไตรมาสที่ 2 และ 3  ในปีนี้ ซึ่งมาจากราคาพลังงานและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก ทั้งนี้คาดว่าทั้งปีนี้เงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มอยู่ที่ 4.9%  บนสมมติฐาน ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล  ถัดไปในปีหน้าจะปรับลดลงอยู่ที่ 1.7% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาการราคาพลังงานและอาหารจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นต่อในช่วง 1 ปี ยกเว้นจะมีPrice Shockต่อเนื่องจากราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มา: […]