นักวิชาการห่วง!! ดอกเบี้ยขึ้นกดศก.ถดถอย ห่วงคนไทยก่อหนี้เพิ่ม

นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึงการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสูงว่า ตามปกติจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว เพราะดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นคนทั่วไปจะไม่ถอนเงินฝากออกมาใช้ ส่งผลภาวะเศรษฐกิจฝืดลง ขณะเดียวกันคนที่จะขอเงินกู้ก้อนใหม่ก็ต้องเสียดอกเบี้ยแพงขึ้น ทำให้กู้น้อยลงด้วย นอกจากนี้ผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ย คือ หนี้ครัวเรือน สถานะเครดิตของคนไทยมีปัญหาไม่ชำระหนี้หรือหนี้เสียเพิ่มขึ้น ล่าสุดภาครัฐได้เดินหน้ามหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ช่องทางออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน – 30 พฤศจิกายน และมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึง มกราคม 2566 ถือเป็นแนวทางที่ดี […]

ดอกเบี้ยขาขึ้นระเบิดหนี้ครัวเรือน เกียรตินาคิน ห่วงกลุ่มรายได้น้อย จี้ปฏิรูปโครงสร้างศก.

รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) เปิดเผยรายงานคาดการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น อาจจุดชนวนระเบิดหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาใหญ่ของไทย โดยกลุ่มที่มีความน่ากังวลมาก คือ หนี้ภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของจีดีพี และสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งเกิดจากการมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท และมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงและหนักกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุด ทั้งนี้ได้เสนอแนะเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจผ่าน 2 แนวทาง คือ 1.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข่งขันและเติบโตได้ในระยะยาว […]

ดอกเบี้ยขาขึ้นระเบิดหนี้ครัวเรือน เกียรตินาคิน ห่วงกลุ่มรายได้น้อย จี้ปฏิรูปโครงสร้างศก.

รายงานข่าวจากฝ่ายวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) เปิดเผยรายงานคาดการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น อาจจุดชนวนระเบิดหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาใหญ่ของไทย โดยกลุ่มที่มีความน่ากังวลมาก คือ หนี้ภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นเกิน 90% ของจีดีพี และสูงเป็นลำดับที่ 11 ของโลก ซึ่งเกิดจากการมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อยที่สุด 20% มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ 12,000 บาท และมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงินเพื่อบริโภค นอกจากนี้อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจรุนแรงและหนักกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งสูงที่สุด ทั้งนี้ได้เสนอแนะเร่งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจผ่าน 2 แนวทาง คือ 1.การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข่งขันและเติบโตได้ในระยะยาว […]

แนะเพิ่มรายได้หนุนเศรษฐกิจไทยโต ธปท.ห่วงพิษหนี้ครัวเรือนทำไทยระส่ำ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดงาน Analyst Meeting เพื่อชี้แจงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป โดยนายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง พร้อมยอมรับถึงความกังวลเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือน หนี้เสียที่พุ่งสูงต่อเนื่อง แต่เชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวต่อเนื่อง แม้สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำสะดุดไปบ้าง ด้านนายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. กล่าวว่า คาดปีนี้เศรษฐกิจไทยโต 3.4% ส่งออกขยายตัว 7% คนว่างงาน และเสมือนว่างงาน 2.9 […]

ธปท.ออกโรงยันฐานะยังแกร่ง หนี้ครัวเรือนทำ S&P หั่นเรตติ้ง 4 แบงก์

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า S&P มีมุมมองว่า หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งกฎเกณฑ์ของทางการเอื้อให้การช่วยเหลือลูกหนี้ของไทยทำได้มากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ทำให้มีลูกหนี้ภายใต้มาตรการช่วยเหลือจานวนมาก นอกจากนี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบาง อย่างไรก็ดี S&P จัดให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 4 แห่ง ตั้งแต่ไทยพาณิชย์ กสิกรไทย กรุงไทย และทีเอ็มบีธนชาต มีแนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือคงที่ (stable outlook) เนื่องจากยังมีความแข็งแกร่งด้านเงินกองทุนและมีเงินสำรองในระดับสูง ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/finance/2348562

“หนี้ครัวเรือน” แตะ 15 ล้านล้าน รัฐเร่งสกัด-หวั่นฉุดรั้งเศรษฐกิจไทย

กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัยศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่าในปีนี้ คาดว่าหนี้ครัวเรือนไทยจะยังคงเติบโตต่อเนื่องในระดับที่ใกล้เคียงและสอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง และมีโอกาสสูงกว่า 15 ล้านล้านบาท ส่วนในแง่สัดส่วนต่อ GDP หากปีนี้ GDP ออกมาขยายตัวสูงกว่าปี 2564 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนก็อาจจะต่ำกว่า 90-92% ที่เคยประเมินไว้ อย่างไรก็ดี แนวโน้มสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง จะเป็นปัจจัยกดดันค่าใช้จ่ายหรือการบริโภคในครัวเรือน โดยเฉพาะในครัวเรือนที่มีภาระหนี้อยู่แล้วในระดับสูง รายได้ค่อนข้างต่ำ และหากดูผลต่อเศรษฐกิจหนี้ที่ยังค้างอยู่ในระดับสูง ก็จะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำให้การเติบโตของการบริโภคโดยรวมเหมือนมีข้อจำกัด ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3199826

สภาพัฒน์ฯห่วง หนี้ในครัวเรือน เพิ่มหลัง’โควิด’

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าไทยยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน เช่น หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งต้องเร่งเข้าไปแก้ไขดูแลด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ เจรจาหนี้ เพื่อให้รายย่อยไม่ต้องถูกยึดบ้าน  ประกอบอาชีพต่อไปได้ เพราะปัญหาโควิด-19 กระทบรายย่อยอย่างมาก จึงต้องเร่งแก้ไขไม่ให้ส่งผลในระยะยาว  รวมถึงปัญหาสงครามทางการค้าระหว่างประเทศ การกีดกันทางการค้ารุนแรงมากขึ้น จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงฉุดรั้งการขยายตัวเศรษฐกิจในอนาคต จึงต้องปรับการพึ่งพาเศรษฐกิจจากการดึงเงินลงทุนต่างชาติและผลิตเพื่อการส่งออก หันมาพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ ที่มา: https://www.naewna.com/business/634445

โควิดทำ “หนี้ครัวเรือน” เพิ่ม อันดับหนึ่งคือหนี้บ้าน และการเสริมสภาพคล่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ ไตรมาส 3/64 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ 14.35 ล้านล้านบาท ขยับขึ้นราว 4.2% (YoY) ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 5.1% (YoY) ในไตรมาส 2/64 โดยลักษณะการก่อหนี้ของครัวเรือนในไตรมาส 3/64 แตกต่างจากช่วงไตรมาสก่อนๆ ตรงที่มีสัญญาณของการก่อหนี้เพิ่มเพื่อเสริมสภาพคล่อง และ/หรือรองรับรายจ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขยับขึ้นของหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล และหนี้เพื่อการประกอบอาชีพตามลำดับ ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 65 ไว้ที่กรอบ 90-92% ต่อ GDP […]

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803

แบงก์ชาติห่วงหนี้ครัวเรือนถ่วงเศรษฐกิจไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ทาง ธปท.ได้เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่าง คณะกรรมการการนโยบายการเงิน (กนง.) และ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 64 เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยที่ประชุมเห็นว่าระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนเงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง และสามารถทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนความต้องการสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลได้ออกมาตรการเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงินและช่วยเหลือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงิน และเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไปนั้น ควรเร่งผลักดันมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่มีภาระหนี้สูงอย่างต่อเนื่อง ที่มา : https://bit.ly/3DTgkJN