หนุนลงทุนอุตสาหกรรมพลังงาน “โอเลโอเคมีคัล” เพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมัน

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผย มีมติเห็นชอบการกำหนดผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมายเพิ่มเติมจากที่ได้รับการส่งเสริม จาก 6 ผลิตภัณฑ์เป้าหมายเดิมเป็น 8 ผลิตภัณฑ์ การเพิ่มผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีคัลเป้าหมายที่ 7 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ กรีนดีเซล (Bio Hydrogenated Diesel: BHD) และผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่ 8 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ไบโอเจ็ต (Biojet fuels) จะเป็นการดูดซับการใช้น้ำมันปาล์มและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบอีกทั้งยังขับเคลื่อนตามมาตรการและแนวทางการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มจะเป็นการยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม กระตุ้นให้เกิดการลงทุนยกระดับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมให้ภาคอุตสาหกรรม ตอบสนองกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-866744

ส.อ.ท.ชี้ขึ้นค่าขนส่ง กระทบราคาสินค้าแน่

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า กรณีที่ภาคขนส่งออกมาเรียกร้องในเรื่องของราคาน้ำมัน หากไม่ได้ตามที่กำหนด จะปรับขึ้นราคาค่าขนส่งอีก 20% นั้น จะกระทบต่อราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างแน่นอน รวมทั้งผู้ประกอบการSMEs ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาค่าขนส่งระยะยาว เหมือนกับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีการกำหนดราคาค่าขนส่งล่วงหน้าเฉลี่ย 1-3 เดือน และแน่นอนว่าเมื่อต้นทุนสูงขึ้นแนวโน้มราคาสินค้าก็ยังจะคงสูงอย่างต่อเนื่อง ที่มา: https://www.innnews.co.th/news/economy/news_291207/

“สภาพัฒน์” ชี้ 3 ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทย แนะเร่งปรับโครงสร้าง เพิ่มโอกาสเติบโต

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่าโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันถือว่ายังมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดี แต่กำลังเผชิญกับข้อจำกัดในการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต โดยนอกจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาที่ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเปราะบางมากขึ้นจากหนี้ครัวเรือน หนี้สาธารณะที่สูงขึ้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นข้อจำกัดในการฟื้นตัว ตลอดจนโครงสร้างประชากรที่จะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2578 ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/987702

แบงก์เตือน รับกระแสเงินร้อนเข้า-ออกเร็ว ทำเงินบาทผันผวน

ธนาคารกรุงไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า (วันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 65) เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.50-33.00บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม จะเป็นรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งจะมีรายละเอียดของการประชุม ซึ่งจะสะท้อนความคิดเห็นของคณะกรรมการเฟดต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ทั้งในส่วนของความเร็วในการปรับขึ้นดอกเบี้ย และขนาดของการปรับจะมากกว่า 0.25% มาเป็น 0.50% รวมถึงการลดงบดุล โดยจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าได้ ทั้งนี้คาดการณ์เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย-ดึงสภาพคล่องกลับ เตือนระวังกระแสเงินร้อนเข้า-ออกเร็ว หนุนค่าเงินผันผวน ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-864367

พาณิชย์ วิเคราะต้นทุนการผลิตสินค้า หลังราคาน้ำมันแพง

กรมการค้าภายใน ได้ทำการวิเคราะห์ผลกระทบต้นทุนน้ำมันดีเซลต่อต้นทุนการผลิตสินค้า พบว่า มีผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าไม่มาก จึงไม่ใช่เหตุผลที่ผู้ผลิตจะใช้ในการปรับขึ้นราคา และได้ขอความร่วมมือให้ตรึงราคาสินค้าไปก่อน โดยผลการวิเคราะห์ เช่น สินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 1.45% ของใช้ประจำวัน เพิ่ม 1.1% วัสดุก่อสร้าง เพิ่ม 1.2% กระดาษและผลิตภัณฑ์ เพิ่ม 5% ปัจจัยการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช เพิ่ม 0.5% เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการดูแลราคาสินค้าไม่ให้ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค กรมฯ […]

รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เผย 40 ประเทศเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ยืนยันที่จะเริ่มเก็บจัดเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวประเทศไทยจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือที่เรียกกันติดปากว่าค่าเหยียบแผ่นดิน ในอัตรา 300 บาทต่อคนต่อครั้ง ภายในปีนี้แน่นอน แต่เลื่อนจากกำหนดเดิมเริ่มต้นจัดเก็บในเดือน เม.ย.ออกไปอีก 2 เดือน หรือประมาณเดือน มิ.ย.65 เนื่องจากมีขั้นตอนต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีผลหลังจากนั้น 90 วัน โดยต้องทำรายละเอียดเหล่านี้เสร็จสิ้นก่อน สายการบินต่างๆ ถึงจะมาสมัครทำข้อตกลงเข้าร่วมว่าจะเป็นผู้แทนในการจัดเก็บให้ได้อย่างไร ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2315257

ติดตามราคาใกล้ชิดทุกวัน รัฐจัดกลุ่มสินค้าตีกันเอาเปรียบผู้บริโภค

 นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค.-ก.พ.65 กรมได้จัดกลุ่มสินค้าและบริการที่ติดตามดูแล จำนวน 167 รายการ ออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้สามารถติดตามดูแลสถานการณ์ได้อย่างใกล้ชิด และแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ประกอบด้วย กลุ่ม Sensitive List (SL) ที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษและติดตามภาวะเป็นประจำทุกวัน 3 รายการ ได้แก่ ไก่สด น้ำดื่มบรรจุภาชนะ และน้ำตาลทราย กลุ่ม Priority Watch […]

ราคาทองพุ่งพรวด คนแห่ขายยอดเพิ่ม7เท่า

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยภายหลังราคาทองคำในประเทศปรับตัวสูงขึ้น 400 บาทต่อ1บาททองคำภายในวันเดียว ว่า ราคาทองคำที่ปรับสูงขึ้นสูง 400 บาทในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันเสาร์ทำให้ประชาชนนำทองแท่งมาขายกับร้านค้าทองจำนวนมากกว่าปกติ 6-7 เท่า อย่างไรก็ตาม ในวันต้นสัปดาห์วันที่ 14 กุมภาพันธ์ กลุ่มร้านค้าทองยังเชื่อว่าราคาทองคำในประเทศโอกาสจะถึง 3 หมื่นบาทต่อ 1 บาททองคำ คงไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเงินบาทแข็งค่า และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นภาวะสั้นๆเพื่อการเก็งกำไรของทองคำโลก […]

เสนอให้ปรับราคาสินค้าแทนการฉวยโอกาส

ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต เปิดเผยว่า กล่าวว่า สินค้าและบริการใดที่มีต้นทุนสูงขึ้นโดยเฉพาะจากราคาน้ำมันและพลังงานที่สูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ควรให้ปรับราคาเพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงไม่ใช่ฉวยโอกาสขึ้นราคา หากไม่ให้ปรับขึ้นราคาตามต้นทุนจะทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนสินค้าได้ ส่วนสินค้าและบริการจำเป็นพื้นฐานนั้น รัฐบาลควรเข้ามาอุดหนุนหรือแทรกแซงกลไกราคาไม่ให้ราคาสูงเกินจนประชาชนไม่สามารถซื้อหาได้และเกิดความเดือดร้อนในการดำรงชีวิต ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/675536

ซิตี้แบงก์ คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัวที่ 3.8% ชะลอตัวลง และยังไม่กลับไปยังจุดก่อนเกิดโควิด

นายเคน เพ็ง นักยุทธศาสตร์การลงทุนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก ธนาคารซิตี้แบงก์ กล่าวว่า ภาพรวมภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลก ปี 2565 นักวิเคราะห์ซิตี้คาดว่ามีแนวโน้มชะลอตัว โดยจะขยายตัวอยู่ที่ 3.8% เนื่องจากหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในภาพรวมจะไม่กลับไปยังจุดก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 แต่ก็จะไม่มีการหยุดชะงักของระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน แม้ว่าทั่วโลกจะมีสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน โดยคาดการณ์ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจของสหรัฐ จะอยู่ที่ 3.5% โดยได้รับอานิสงส์จากภาคบริการที่กลับมามีความแข็งแกร่ง แต่ภาคการผลิตยังได้รับผลกระทบ ส่วนประเทศจีนคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ 4.5% ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6882581