ตลาดข้าวถุงไม่ฟื้น ‘มาบุญครอง’ ลุยส่งออกสู้

สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เผยตลาดข้าวถุงยังไม่คึกคักสถานการณ์ตลาดข้าวตั้งแต่ต้นปีจนกระทั่งถึงการระบาดระลอก 3 ช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า ตลาดข้าวถุงชะลอตัวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะยอดขายข้าวถุงผ่านห้างโมเดิร์นเทรดลดลงถึง 25-35% ร้านอาหารลดลงมากกว่า 50% โดยมีปัจจัยจากมาจากร้านอาหารถูกปิดให้บริการ-นักท่องเที่ยวหาย-ผู้บริโภคหันไปหาอาหารประเภทอื่นคาดต้องใช้เวลาหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลงอีกไม่ต่ำกว่า 2 เดือนและจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติน่าจะใช้ระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีทีเดียว ปัจจัยสำคัญของการฟื้นตัวของตลาดข้าวถุงก็คือ การฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรให้ได้ 70% จนสามารถเปิดประเทศได้ถึงตอนนั้นกำลังซื้อจะกลับมา ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-756151

จ่อปิดกิจการ-ผันตัวไปทำธุรกิจอื่น ดัชนีความเชื่อมั่นที่พักแรมดิ่งเหว

นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) เปิดเผยผลการสำรวจ “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม” ประจำเดือน ส.ค.64 มีโรงแรมตอบแบบสำรวจ 234 แห่ง จัดทำโดยสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้ว่าผู้ประกอบการที่พักแรมยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด สะท้อนจากอัตราการเข้าพักยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีแนวโน้มปรับตัวแย่ลง ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีสภาพคล่องลดลงมาก หากสถานการณ์โควิดยืดเยื้อกว่าที่คาด พบว่า 52% เลือกปิดกิจการชั่วคราว ขณะที่ 9% อาจตัดสินใจปิดกิจการถาวร ส่วน 30% จะชะลอลงทุนออกไปก่อน […]

เอกชนกว่า 15,617 ราย แห่ร่วมจับคู่กู้เงิน ทะลุ 11,132 ล้าน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ “จับคู่กู้เงิน” ทั้ง 2 โครงการโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงิน 5 สถาบันการเงินกับร้านอาหารและโครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับเอสเอ็มอีเพื่อการส่งออก ช่วยร้านอาหาร กับ SMEs ส่งออก โดยภายในงานมีเอกชนยื่นขอร่วมกว่า 15,617 ราย วงเงิน 11,132 ล้านบาทและผู้ที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อ มีจำนวน 3,055 ราย วงเงิน 3,610 ล้านบาท […]

ส่งออกปีนี้ส่อโต12% ‘สรท.’ห่วง6ปัจจัยเสี่ยงฉุด

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ปรับคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 64 โต 10-12% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1.การฟื้นตัวอย่าแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก และ 2 ราคาน้ำมันที่ยังทรงตัวสูงกว่าปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 2.ปัญหาการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 3.การยกระดับมาตรการคุมเข้มในการตรวจหาเชื้อโควิดในต่างประเทศ 4.การขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต 5.ค่าเงินบาทแข็งค่า และ 6.ปริมาณปัจจัยการผลิตไม่เพียงพอและต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.รัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 1,000 บาท/คน สำหรับโรงงานที่เข้าร่วม Factory […]

เหล็กไทยยังไปโลดสวนโควิด รัฐหนุนเมดอินไทยแลนด์ดันอุตสาหกรรมคึกคัก

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ครึ่งแรกของปี 2564 (ม.ค.-มิ.ย.) ความต้องการใช้เหล็กในภูมิภาคต่างๆของโลกและประเทศไทยมีการปรับตัวในทิศทางบวกแม้ส่วนใหญ่ยังเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้การลงทุนภาครัฐ ปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.7% ด้วยงบประมาณปี 2564 ซึ่งมีงบลงทุน 4.2 แสนล้านบาท และไตรมาสหนึ่ง ปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.-ธ.ค.2564) อีก 1.0 แสนล้านบาท เป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญให้มีความต้องการใช้เหล็กมากขึ้น ทั้งนี้ส.อ.ท.แนะรัฐสนับสนุนโครงการ MiT เพื่อมุ่งหวังช่วยสร้างความเข้มแข็งรวมทั้งการส่งเสริมให้เพิ่มการใช้สินค้าที่ผลิตภายในประเทศ และสร้างโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าไทยได้มากขึ้น โดยเฉพาะโอกาสในการเข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีมูลค่าสูงถึงปีละ […]

คต.เตือนผู้ส่งออกมันเข้มงวดสิ่งปนเปื้อน

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งข้อกังวลของภาคเอกชนเกี่ยวกับการเพิ่มความเข้มงวดการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรือใหญ่เดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามันสำปะหลังจากไทยไปจีน ที่ไม่มีใบรับรองการตรวจโควิด-19 อาจถูกปฏิเสธให้เรือเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสินค้า ดังนั้นผู้ประกอบการควรมีมาตรการรองรับเพื่อให้ประเทศปลายทางมั่นใจได้ว่าพนักงานบนเรือของตนปราศจากเชื้อโควิด-19 เพื่อให้การขนส่งสินค้าระหว่างกันเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 ไทยส่งออกสินค้ามันสำปะหลังรวม 6.361 ล้านตันมูลค่า 2,330.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น 43% และ 48% ตามลำดับ จากช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 ที่มีปริมาณส่งออกรวม 4.441 ล้านตัน มูลค่า 1,573.38 […]

กรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันขยับเป้าจีดีพีหลังโควิดพ้นจุดพีก

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.ได้มีมติ เห็นชอบปรับประมาณการการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ให้ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ ติดลบ 0.5-1% จากก่อนหน้านี้คาดไว้อยู่ในกรอบ ติดลบ 0.5-0% เนื่องจากช่วงปลายเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา มีปัจจัยบวกที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย จากแผนการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ครอบคลุมประชากรมากขึ้น และแนวโน้มการติดเชื้อเริ่มผ่อนคลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2183145

ลูกหนี้รอลุ้น! ธปท.จับมือแบงก์แถลงร่วม ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปัจจุบัน ปรับตัวขึ้นแต่ไม่อยู่ในระดับ ซึ่งหน้าผาเอ็นพีแอล หรือ NPL Cliff จะสามารถบริหารจัดการได้ และใช้เวลา 2 ปี เพราะการแก้ไขปัญหาไม่สามารถเกิดขึ้นได้เร็ว โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้หารือร่วมกับ สมาคมธนาคารไทย ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศมาตรการเพิ่มเติมออกมาในเร็ว ๆ นี้ ด้าน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า หนี้เสียเอ็นพีแอลสิ้นปี 64 จะอยู่ที่ […]

กทท. เปิดเส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง-กรุงเทพ ขนส่งตู้สินค้ารถไฟ

เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า กทท.บูรณาการร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเส้นทางขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟเที่ยวปฐมฤกษ์จากท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) มายังท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) เพื่อยกระดับระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค สนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าจากการขนส่งทางรถไฟประมาณ 160 ทีอียู ต่อสัปดาห์ ที่มา : https://www.thansettakij.com/economy/494248

ส.อ.ท.แนะรัฐปรับ Factory Sandbox ป้องคลัสเตอร์ภาคผลิตรับออร์เดอร์ส่งออกพุ่ง

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังคงมีมาต่อเนื่อง หลังจากเศรษฐกิจต่างประเทศเริ่มฟื้นตัวโดยเฉพาะจากคู่ค้าหลักทั้งสหรัฐและสหภาพยุโรป รวมถึงจีนเพื่อป้องกันการผลิตไม่ให้สะดุดในการขับเคลื่อนการส่งออกที่เหลือของไทยในช่วงท้ายปีนี้ ภาครัฐควรปรับโครงการนำร่องการป้องกันและการควบคุมการแพร่ระบาดในโรงงาน (Factory Sandbox) ที่ยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากมุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้ผลิตเพื่อส่งออกขนาดใหญ่ (แรงงาน500คนขึ้นไป) 4 ประเภท ได้แก่ 1.ยานยนต์ 2.ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ 3.อาหาร และ 4.อุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องมองให้ครบกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำหรือคลัสเตอร์ อื่น ๆ ด้วย ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000086334