แบงก์ห่วงค่าครองชีพพุ่ง ฉุดเศรษฐกิจฟื้นช้า แนะรัฐกระตุ้นการบริโภค

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา รายงานว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนตุลาคม สูงสุดในรอบ 5 เดือน โดยอยู่ที่ 2.38% ต่อปี จากเดือนกันยายนอยู่ที่ 1.68% สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามสถานการณ์ราคาพลังงานโลก และการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดในกลุ่มพืชผัก ที่ผลกระทบจากน้ำท่วมทำให้ผลผลิตเข้าสู่ตลาดลดลง อย่างไรก็ดี ด้วยอุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวช้า “วิจัยกรุงศรี” จึงคาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ต่อปี ต่อไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางและไม่สม่ำเสมอ แม้อาจเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อ จากปัจจัยด้านอุปทานอยู่บ้างในช่วงปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าก็ตาม ที่มา : […]

ศก.ไทยผ่านจุดต่ำสุด กนง.ประกาศคงดอกเบี้ย 0.50%

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่าคณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปีโดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและการเปิดประเทศ โดยเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม และคาการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ 3.9% จากการใช้จ่ายในประเทศที่ทยอยปรับดีขึ้นตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ที่มา : https://www.naewna.com/business/614901

อาหารสัตว์วิกฤติ แพงสุดรอบ 10 ปี หมูโลละ 120 บาท พุ่งพรวดแตะ กก.ละ 180

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้รับร้องเรียนจากประชาชน และพ่อค้าแม่ค้าร้านอาหารหลายแห่งว่า ไม่พบราคาเนื้อหมู กก. 122 บาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ชี้แจง โดยราคาตามท้องตลาดปรับขึ้นมาที่ กก. 160-170 บาท และหมูสามชั้น ขึ้นไปถึง กก. 180-190 บาท ดังนั้นจึงอยากให้ควบคุมดูแลราคาในต่างจังหวัดด้วย ไม่ใช่แค่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เพียงอย่างเดียว ด้านสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวว่า ผู้ประกอบอาหารสัตว์ไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้ราคา เนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่ปรับแพงขึ้น แต่ผลมาจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั่วโลกเพิ่มขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯซึ่ง […]

ธปท.เผยบาทแข็งแค่ระยะสั้น ไม่กระทบส่งออกทั้งปี-ไม่พบเงินทุนเคลื่อนย้ายผิดปกติ

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวถึงเงินบาทที่แข็งค่าในขณะนี้ว่า เป็นสถานการณ์ในระยะสั้น เพราะหากเทียบกับต้นปี 64 เงินบาทในปัจจุบันได้อ่อนค่าลงไปกว่า 6-7% (ข้อมูล ณ 5 ม.ค.64 เงินบาทอยู่ที่ระดับ 29.90 บาท/ดอลลาร์) ดังนั้น จึงเชื่อว่าไม่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของการส่งออกไทยในปีนี้ ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/144459

ธปท.ส่องปล่อยกู้ ธุรกิจ-ครัวเรือนสะพัด รับคลายล็อกดาวน์โควิด-19

ธปท. เปิดผลสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ พบว่าความต้องการสินเชื่อในไตรมาส 4/64 คาดธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี มีแนวโน้มต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดใหญ่ธุรกิจในภาคการค้าต้องการเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นตามการดำเนินธุรกิจที่กลับมาเป็นปกติหลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด และธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ความต้องการสินเชื่อเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่อง ในส่วนของสินเชื่อภาคครัวเรือน คาดความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนทุกหมวดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในไตรมาส 4 โดยปรับดีขึ้น หลังภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/970928

เกษตรกรช้ำพิษน้ำท่วม ผลผลิตข้าวเปลือกเสียหาย 5.4 พันล้านล้านบาท

กรุงไทยคอมพาส ธนาคารกรุงไทย ประเมินผลผลิตข้าวเปลือกที่จะได้รับความเสียหายจริงจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่าอยู่ที่ประมาณ 1.6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นเพียง 2.3% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศ และคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 5,400 ล้านบาทโดยผลผลิตข้าวที่ได้รับความเสียหายส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ และพิจิตร เนื่องจากมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/other/2238998

พาณิชย์ยันคุมราคาหมู-น้ำมันปาล์มได้ ขอความร่วมมือผู้ผลิตตรึงราคา

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติประกาศปรับราคาจำหน่ายหมูมีชีวิตเป็นกิโลกรัม (กก.) 84 บาท เมื่อวันที่ 4 พ.ย.ว่า จากการติดตามสถานการณ์ราคาซื้อขายและส่งมอบยังไม่เกิน กก.ละ 80 บาท ตามที่กรมขอความร่วมมือไว้ ส่วนหมูเนื้อแดงไม่ตัดแต่ง ราคาขายปลีก ล่าสุด วันที่ 8 พ.ย.อยู่ที่ กก.ละ 135-140 บาท ซึ่งเป็นราคาเดียวกับปีก่อน ส่วนกรณีราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวดเพื่อการบริโภคที่สูงขึ้นมาอยู่ที่ขวดละ 60 บาท จากการสำรวจราคาในห้างค้าปลีกค้าส่ง พบว่าอยู่ที่ขวดละ […]

คลังวุ่นหา 7.6 หมื่นล้านบาทจ่ายชาวนา รัฐอ่วมส่วนต่างประกันข้าวพุ่ง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีการหารือและได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ไปเร่งหารือเพื่อจัดสรรงบประมาณที่จะนำมาใช้จ่ายในโครงการประกันราคาข้าว ซึ่งจะต้องมีความชัดเจนภายใน 2-3 เดือนนี้เพื่อนำเงินไปจ่ายให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการประกันราคาข้าววงเงินรวม 89,000 ล้านบาท โดยงวดแรก ครม.ได้อนุมัติให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายให้เกษตรกรแล้ว 13,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มจ่ายไปแล้วตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย.ที่ผ่านมา ทำให้วงเงินที่กระทรวงการคลังต้องหาเพิ่มเพื่อนำมาจ่ายเงินค่าประกันราคาข้าวจำนวน 76,000 ล้านบาท ที่มา : https://www.thairath.co.th/business/economics/2238997

แรงงานขาดป่วนเศรษฐกิจ ธุรกิจเกี่ยงค่าหัวต่างด้าว 3 หมื่นบาท/หัว

กระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผย วิกฤตแรงงานขาดป่วนเศรษฐกิจ “ภาคอุตสาหกรรม-เกษตร-บริการ-ก่อสร้าง” ขาดแคลนกว่า 8 แสนคน ผู้ผลิตชี้ออร์เดอร์ทั้งในประเทศ-ต่างประเทศทะลัก แต่ไม่มีแรงงานเพียงพอผลิตจากการเปิดประเทศและผ่อนคลายให้หลายธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ส่งผลให้ความต้องการแรงงานสูงขึ้น โดยเฉพาะภาคบริการ ร้านอาหาร แต่รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานยังไม่เปิดช่องทางให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานโดยถูกกฎหมาย รวมถึงทำ MOU นำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านระหว่างรัฐต่อรัฐ จากปัญหาดังกล่าวในระยะยาวอาจส่งผลกระทบส่งออก ที่มา : https://www.prachachat.net/csr-hr/news-799229

ครัวเรือนกังวลปัญหาศก. รัดเข็มขัดงดโปรแกรมเที่ยวปีใหม่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ในเดือนต.ค. 2564 ครัวเรือนมีกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพ เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์น้ำท่วมทำให้ราคาพืชผักสูงขึ้น โดยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนต.ค. 2564 และอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลงอยู่ที่ 34.9 และ 36.7 จากในเดือนก.ย. 2564 ที่ 36.6 และ 38.4 แม้จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจากโควิด-19 จะเริ่มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น จากการสำรวจพบว่า ครัวเรือน 41.0% จะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป เช่น การไปท่องเที่ยวในช่วงปีใหม่ ขณะที่อีก 39.4% […]