ทำใจ ปัญหาหมูแพง ลากยาว 1 ปี คาดตรุษจีน ราคาพุ่งขึ้นอีก หมูเป็นแตะ กก. 120

นายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยถึงกรณีรัฐบาลมีการออกมาตรการห้ามส่งออกหมูเป็น 3 เดือน และส่งเสริมให้เพิ่มการเลี้ยงหมูว่า เป็นเรื่องเหมาะสมที่ภาครัฐจะต้องทำ แต่กว่าจะเห็นผลให้ระบบหมูเป็นปกติได้ต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี และราคาหมูราคาทรงตัวในระดับสูงต่อไป ไม่สามารถปรับลดลงมาในระยะสั้นอย่างแน่นอน  สำหรับสถานการณ์ราคาหมูเป็นและหมูเนื้อแดงหน้าเขียง ในระยะสั้นเชื่อว่าจะยังปรับขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยปัจจุบันราคาสุกรรายย่อย กก.ละ 104-106 บาท และในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ถึงต้นเดือน ก.พ.นี้ น่าจะขยับไปถึง กก. 120 บาทได้ และหมูเนื้อแดงหน้าเขียง จะเห็น กก.เกิน 200 บาทกว่าๆ […]

พาณิชย์หวัง 3 เดือนคืน “หมู” เข้าระบบ สั่งเช็คสต็อก-ห้ามส่งออกแก้ราคาพุ่ง

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ว่าได้มีมติแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง ประกอบด้วย 1.ห้ามส่งออก เป็นเวลา 3 เดือน เบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. – 5 เม.ย. 2565 เพื่อให้หมูกลับเข้าสู่ระบบการบริโภคภายในประเทศก่อน 2.กำหนดให้ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ ตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป / ผู้ค้าส่ง ที่มีหมูเกิน 500 ตัวขึ้นไป และห้องเย็นที่มีสต็อกหมู ตั้งแต่ […]

ส่องมาตรการ 3 ระยะ รัฐบาลลุยแก้ปัญหา “หมูแพง”

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง สืบเนื่องจากปริมาณสุกรที่ลดลง ต้นทุนการเลี้ยงสุกรปรับสูงขึ้น ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้หารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปดังนี้ 1.มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ 1.1 การห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 65, 1.2 การเร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร 2.มาตรการระยะสั้น ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ การขยายกำลังผลิตแม่สุกร […]

หมู-ผัก-ไข่แพง ดันเงินเฟ้อธ.ค.64 พุ่ง 2.17% คาดปี’65 แตะ 1.5% จับตาโอมิครอนระบาดทุบภาคผลิต

กระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธ.ค. 2564 ว่า เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้น 2.17% เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้น 2.71% จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ ผักสด ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื้อสุกร และไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการโรคระบาดในสุกร ส่วนแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต […]

ปีเสือ หนี้ครัวเรือนขาขึ้น ขอรัฐช่วยผ่อนค่างวด ผวาฉุดเศรษฐกิจ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อต่อเนื่อง อาจทำให้ประชาชนรายย่อยและภาคครัวเรือนใช้ความระมัดระวังมากขึ้นในการก่อหนี้เพิ่มเติม จึงคาดว่าแม้ในปี 2565 จะยังคงเห็นยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนเติบโตต่อเนื่อง แต่ก็น่าจะเป็นอัตราการเติบโตในระดับที่ใกล้เคียงกับเศรษฐกิจมากขึ้น (ภายใต้สมมุติฐานที่ความเสี่ยงจากโควิดจะถูกจำกัดวงไว้ได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น จึงยังคงตัวเลขประมาณการสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 2565 ที่กรอบ 90-92% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)โดยสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีมีโอกาสขยับขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ในปี 2564 ที่ 90.5% ต่อจีดีพี แนะรัฐช่วยผ่อนค่างวดและเฝ้าจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผวาฉุดเศรษฐกิจ หากไม่แก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-834803

ธปท.คาดปัญหาการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน คลี่คลายครึ่งปีหลัง

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดมากขึ้นทั่วโลก อาจทำให้ปัญหาการหยุดชะงักห่วงโซ่อุปทาน (global supply chain disruption) กลับมารุนแรงอีกครั้งหลังจากที่ได้คลี่คลายลงบ้างในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ธปท. คาดว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนจะจำกัดอยู่ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ซึ่งน่าจะทำให้ปัญหา supply chain disruption ทยอยคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี แต่หากการแพร่ระบาดรุนแรงและยืดเยื้อมากขึ้น หรือเกิดการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่รุนแรง ก็อาจส่งผลให้ปัญหา global […]

ผู้ประกอบการสภาพคล่องตึงตัว แบกภาระต้นทุนสูงอุปสรรคการทำธุรกิจ

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ในเดือนธันวาคม 2564 ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 49.0 ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัชนีฯของภาคการผลิตใกล้เคียงเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีฯ ของภาคที่มิใช่การผลิตปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ได้รับผลดีจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค แม้โดยรวมดัชนีฯ จะปรับดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ Omicron กดดันให้ดัชนีฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ เช่น ดัชนีฯ ด้านสภาพคล่องในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นตามความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการที่ปรับดีขึ้น แต่ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่าธุรกิจยังมีสภาพคล่องตึงตัว ขณะที่ข้อจำกัดด้านต้นทุนสูงยังเป็นอุปสรรคอันดับแรกสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่มา : […]

‘ค้าปลีก’ จี้รัฐกระตุ้นศก. เอกชนพร้อมตรึงราคาสินค้า

นายญนน์ โภคทรัพย์ เผย สมาคมฯ และภาคีเครือข่าย จะร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยเร่งผลักดันให้ SME เข้าถึงแหล่งเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่านแฟลตฟอร์ม Digital Supplychain Finance ร่วมกับสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งยังลด Credit Term ให้สั้นลงเพื่อเสริมสภาพคล่องและช่วยลดความเหลื่อมล้ำ อีกทั้ง ช่วยตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค พร้อมสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนในการช่วยลดภาระค่าครองชีพด้วยการตรึงราคาสินค้าอุปโภค-บริโภค และสมาคมฯ ยังมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องมาตรการเชิงรุกสำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดให้มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด และเร่งกระจายวัคซีน และควรอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐที่มีผลลัพธ์ที่ดี เช่น โครงการคนละครึ่ง […]

เปิดแผนลงทุนคมนาคม 2565 หัวหอกดันเศรษฐกิจ 1.4 ล้านล้าน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงรายละเอียดของแผนลงทุนในปี 2565 โดยระบุว่า ในปี 2565 กระทรวงฯ จะสานต่อนโยบายเดิมที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง พร้อมผลักดันโครงการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด 37 โครงการ วงเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนต่อเนื่อง 13 โครงการ วงเงิน 5.16 แสนล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 24 โครงการ วงเงิน 9.74 แสนล้านบาท ในส่วนของโครงการลงทุนใหม่ที่กระทรวงฯ […]

วิจัยกรุงศรี ส่องเศรษฐกิจไทย ปี 65 เข้าสู่เส้นทางฟื้นตัว คาดจีดีพีโต 3.7%

ศูนย์วิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเผยว่า การกลับมาแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกใหม่นับตั้งแต่ปลายปี 2563 และการระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่แผ่ลามเป็นวงกว้างในไทยช่วงไตรมาสสามของปี 2564 ส่งผลให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจถูกจำกัดภายใต้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดเป็นเวลาหลายเดือน นอกจากนี้ การระบาดยังกระจายไปสู่ภาคธุรกิจ ทำให้เกิดภาวะชะงักงันในสายการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมและภาคก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก การระบาดในประเทศคลี่คลายลง มีการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมที่เข้มงวด กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ ส่วนการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอนในช่วงปลายปีกลับมาสร้างความกังวลต่อทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2564 จึงมีแนวโน้มเติบโตเพียงเล็กน้อยที่ 1.2% จากที่หดตัวรุนแรงในปี 2563 ที่ -6.1% ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/980873