‘กรุงศรีประเมิน กนง. คงดอกเบี้ย 0.5% ผลจากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า

สำนักวิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 มิ.ย.63 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์จีดีพีบนสมมติฐานการจัดหาและการฉีดวัคซีน โดยกรณีจัดหาวัคซีนและฉีดได้ที่ 100 ล้านโดส (สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในไตรมาส 1/65) จีดีพีปีนี้จะขยายตัวที่ 2.0% และกรณีมีการฉีดวัคซีนได้ที่ 64.6 ล้านโดส (ไตรมาส 3/65) จีดีพีจะขยายตัวเหลือเพียง 1.5% วิจัยกรุงศรีประเมินว่า จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่สม่ำเสมอ จึงมีแนวโน้มมุ่งเน้นการผ่อนคลายทางการเงินแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย เช่น การช่วยเหลือเอสเอ็มอีอย่างการพักหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ […]

สสว. จับมือแบงก์รัฐ-เอกชน เดินหน้าเพิ่มเงินทุน เอสเอ็มอี ด้วย Factoring

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ 10 แบงก์รัฐ-เอกชน เสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการ SME ให้เข้าถึงมาตรการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ด้วยสินเชื่อ Factoring รวมทั้งสินเชื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากตลาดภาครัฐ เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 1.3 ล้านล้านบาทต่อปี ที่สำคัญยังคงเป็นตลาดที่มีกิจกรรมการซื้อ จ้าง เช่า สินค้าและบริการต่างๆ จากผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง หวังช่วยขยายโอกาสให้ SME เข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่ได้คล่องตัว พร้อมเตรียมลงนามความร่วมมือในเร็วๆนี ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/944156

วัคซีนฉดศก.ไทย ท่องเที่ยวยังไม่คึกคักแม้เปิดประเทศ

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่า สถานการณ์การจัดหาและกระจายวัคซีนที่ล่าช้า และการระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด ส่งผลให้การบริโภคและการลงทุนของไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ น่าจะหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และการเปิดประเทศอาจทำได้ล่าช้า ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้ามาได้เพียง 160,000 คนเท่านั้นในปี 2564 แม้ว่าการส่งออกและภาคเกษตรน่าจะได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเป็นเครื่องจักรหลักของเศรษฐกิจในปีนี้ แต่ไม่เพียงพอที่จะชดเชยเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอลงแรง ที่มา : https://www.naewna.com/business/581075

นายกสมาคมโฆษณาค้าน ‘บิ๊กตู่’ เปิดประเทศเร็วไปไหม ทั้งที่แผนวัคซีนยังสับสน

นายรติ พันธุ์ทวี นายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการประกาศเปิดประเทศให้ได้ภายใน 120 วันของนายกรัฐมนตรี มองว่าเร็วไป เพราะที่ผ่านมาการสื่อสารจากภาครัฐต่อเรื่องวัคซีนค่อนข้างมีปัญหาและสับสนในหลายข้อมูล จนเกิดความตรึงเครียดต่อการใช้ชีวิตของประชาชน ดังนั้น ต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นว่าทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีน และควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ให้เกิดการระบาดเหมือนที่ผ่านมา ทั้งนี้สิ่งที่รัฐควรทำเลย คือ วางระเบียบและกติกาการใช้แหล่งธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยว ที่จะทำอย่างไรให้คงความสะอาดและสวยงามเหมือนอย่างตอนนี้ และกำลังซื้อในการจับจ่ายใช้สอยจะเริ่มฟื้นตัวใตรมาส 4 ของปีนี้ ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2781805

‘ธรรมนัส’ เล็งเวนคืนที่ดินสร้างเมืองต้นแบบ ‘ทำโรงแรม-โรงงาน’ เปลี่ยนเกษตรกรในที่ส.ป.ก.เป็นผู้ถือหุ้น

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการศึกษาและเลือกพื้นที่ ส.ป.ก. บริเวณ อ.บางละมุง จำนวน 86,657 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดินส.ป.ก. ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตร ซึ่งรัฐจัดสรรให้เกษตรกรเข้าประกอบอาชีพทำประโยชน์ ทั้งนี้จะมีการคำนวนเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืน นอกจากนี้ เกษตรกรในพื้นที่จะได้รับเข้าทำงานในเมืองต้นแบบในอีอีซี และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิ์ในการถือหุ้นในธุรกิจในอีอีซี ภายใต้การดูแลของสำนักงานปฎิรูปที่ดิน ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_6455004

“พาณิชย์” จ่อปรับโครงสร้างเก็บค่าจีพี สั่งปิดป้ายรับซื้อสินค้าเกษตร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า (กกร.) ที่ตนเป็นประธานว่าที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการหลายเรื่อง เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบ โดยมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 1 ชุด มีอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน เพื่อพิจารณาการจัดเก็บค่าส่วนแบ่งการขาย (จีพี) ที่แพลตฟอร์มให้บริการสั่งและส่งอาหาร (ฟู้ด ดีลิเวอรี) ซึ่งปัจจุบันเรียกเก็บจากร้านอาหารในแพลตฟอร์มอัตรา 30-35% ของยอดขาย เพื่อให้อัตราการจัดเก็บเหมาะสม โดยที่ต้องให้เกิดความสมดุลของทั้ง 3 ฝ่าย คือ แพลตฟอร์มต้องทำธุรกิจต่อไปได้ ขณะที่ร้านอาหาร […]

5 เดือนต่างชาติลงทุนกว่า8.3พันล้าน

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะเลขานุการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เปิดเผยว่าเดือนพฤษภาคม 2564 คณะกรรมการฯได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 20 รายประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น ไต้หวันและสิงคโปร์ ทั้งนี้ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2564 มีนักลงทุนต่างชาติได้รับอนุญาต รวม 95 ราย เงินลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 8,311 ล้านบาท ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ และสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ที่มา: https://www.naewna.com/business/580239

ไทย-อียูเตรียมเจรจาเอฟทีเอ โดยไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียนที่ทำเอฟทีเอ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรป (อียู) ประจำประเทศไทย ว่า 2 ฝ่ายเห็นตรงกันที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำกรอบการเจรจาและเอกสารแสดงความคาดหวังของการเจรจา เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลก่อนเริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการ โดยอียูหวังว่าไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ของอาเซียนที่ทำเอฟทีเอด้วย ต่อจากเวียดนาม และสิงคโปร์ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2115837

เอกชนเซ็งเลื่อนวัคซีนโควิด-19 ซ้ำเติมธุรกิจ – หวั่นฉุดเศรษฐกิจฟื้นตัวช้านำไปสู่การปิดกิจการ

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผย เอกชนมีความกังวลแผนการบริหารการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของภาครัฐที่เลื่อนออกไปพร้อมมูลข่าวสารต่างๆ ที่สร้างความสับสนให้ประชาชน จนอาจกระทบต่อเป้าหมายที่ต้องการฉีดให้ประชาชน 100 ล้านโดส ครอบคลุมประชากร 70% ภายในสิ้นปีนี้ และการเปิดประเทศก็ยิ่งชะลอออกไปจะซ้ำเติมเอสเอ็มอี เพราะเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าก็อาจนำไปสู่การปิดกิจการในที่สุด ซึ่งขณะนี้เอกชนมีความกังวลการเลื่อนฉีดวัคซีนแก่ผู้ประกันตนม.33 บางส่วนออกไป ซึ่งเป็นแรงงานประมาณ 5-6 ล้านคน และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่มา: https://www.khaosod.co.th/economics/news_6452820

ไทยจ่อรับอานิสงส์อาร์เซ็ป จากการที่ญี่ปุ่นลดภาษีเพิ่มเติม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผย ผลวิเคราะห์ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) เจาะเป็นรายประเทศ ล่าสุดได้ศึกษาการลดภาษีของญี่ปุ่น หลังจากที่รัฐสภาญี่ปุ่นอนุมัติเข้าร่วมความตกลงในเดือน เม.ย.64 พบว่ามีสินค้า 207 รายการที่จะลดเหลือ 0% ทันทีที่อาร์เซ็ปมีผลบังคับใช้ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร ได้แก่ ประมง ผลไม้ เช่น ส้ม สับปะรด แป้งจากมันฝรั่ง แป้งสาคู น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันจากเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น  ภายใต้อาร์เซ็ป จีนยังลดภาษีเพิ่มเติมอีก 33 รายการ เช่น […]