ช่วยลดความแออัดสนามบิน ครม.เว้น ตม.6 นักท่องเที่ยวบินเข้าไทยชั่วคราว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.ได้มีมติผ่อนผันการยื่นแบบรายงานการบันทึกข้อมูลการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร (ตม.6) เป็นการชั่วคราวเพื่อรองรับการเปิดประเทศ การท่องเที่ยว ลดความแออัดในสนามบิน เนื่องจากจะต้องกรอกเอกสารเป็นจำนวนมาก อาจทำให้เกิดความคับคั่งในสนามบินได้ และรอดูว่าเมื่อผ่อนผันไปอย่างนี้แล้วสถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ จะมีปัญหาอื่นตามมาหรือไม่ โดยกระทรวงมหาดไทยจะเร่งดำเนินการจัดทำร่างประกาศผ่อนผันเพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งคงใช้เวลาอีกประมาณ 1 สัปดาห์ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2419331

ธนาคารไทยพาณิชย์ขยับเป้าจีดีพีโต 2.9%

นายสมประวิณ มันประเสริฐ รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า EIC ปรับประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปี 65 ขึ้นเป็น 2.9% จากเดิม 2.7% ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและภาคบริการ ผ่านการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวของไทย และการผ่อนคลายมาตรการผ่านแดนในหลายประเทศทั่วโลก โดยประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยรวม 7.4 ล้านคนในปีนี้ จากเดิม 5.7 ล้านคน ขณะที่กิจกรรมในภาคบริการในประเทศยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากการกลับออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ส่วนภาคเกษตรมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี แต่ยังมีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวสูงสุดในรอบ 24 ปี […]

“บิ๊กตู่” สั่งติดตามสินค้าขึ้นราคาเกินจริง ครม.จัดงบกลางกว่า 3.5 พันล้านบาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ได้สั่งการให้ติดตามเรื่องราคาสินค้าที่มีบางรายการปรับขึ้นราคานอกกรอบจากที่ควบคุมอยู่ หรือสินค้าบางรายการขึ้นราคาแล้วสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน โดยตอนนี้มีการประกาศสินค้าควบคุมแล้วกว่า 200 รายการ  เพื่อช่วยเหลือประชาชน และยังอนุมัติงบกลางให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG and Regional Development) ใน 7,435 ตำบล ครอบคลุม […]

พาณิชย์ลุยเจาะตลาดอินเดีย จัดกิจกรรมผลักดันเป้าส่งออกทั้งปีโต 8 %

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ล่าสุดกรมได้เดินหน้าขยายตลาดอินเดียแบบเชิงลึก โดยมีแผนที่จะเพิ่มการจัดกิจกรรมเจาะตลาดในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจะเร่งรัดการลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) กับรัฐเป้าหมายในอินเดียให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อผลักดันการส่งออกในปี 2565 ให้เป็นไปตามเป้าหมายมูลค่า 9,216.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8% กิจกรรมที่ โดยที่กรมจะดำเนินการในช่วงที่เหลือของปีนี้ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับ Lulu Mall ในการทำตลาดสินค้าไทยช่วง 10-31 กรกฎาคม 2565 จัด […]

เปิดผลกระทบบาทอ่อนค่า ดีต่อส่งออกแต่กลุ่มที่นำเข้าวัตถุดิบกระอัก

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ศึกษาผลกระทบเรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่า โดยพบว่าค่าเงินบาทอ่อนค่า ณ วันที่ 7 มิ.ย.65 อยู่ที่ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับวันที่ 30 ธ.ค.64 อยู่ที่ระดับ 33.38 บาท ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมไทยโดยรวม เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลงและส่งออกได้มากขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้นจากเงินบาทอ่อน ซึ่งผู้ประกอบการควรมีการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2417372

สศค.ตั้งเป้า 2.49 ล้านล้าน ชี้จีดีพีปี 66 ฟื้น! ดันรัฐจัดเก็บรายได้เพิ่ม

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้คาดการณ์การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2566 ว่า จะเพิ่มขึ้น 3.8% จากปีงบประมาณ 2565 และคาดว่าจีดีพี ปี 66 จะฟื้นตัวชัดเจน โดยรายได้หลักมาจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร-ศุลกากร และรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่รวม 7 เดือนปี 65 จัดเก็บรายได้ได้เกินเป้าหมาย 3.7% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.5% ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2417360

‘สุริยะ’ชี้อุตฯไทยได้อานิสงส์ ค่าเงินบาทอ่อนค่าระดับ34.46บ.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้ศึกษาผลกระทบค่าเงินบาทอ่อนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทย โดยพบว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าในปัจจุบัน (ณ วันที่ 7 มิ.ย. 2565 อยู่ที่ระดับ 34.46 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับวันที่ 30 ธ.ค.2564 อยู่ที่ระดับ 33.38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมโดยรวม เนื่องจากสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นบวกต่อการส่งออก ทำให้สินค้าไทยมีราคาถูกลงและสามารถส่งออกได้มากขึ้น แม้ว่าในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น ที่มา : https://www.naewna.com/business/659831

ประธาน หอการค้าไทย ชี้ ยังไม่ถึงเวลาขึ้นดอกเบี้ย เศรษฐกิจยังไม่ฟื้น ขณะ “ธนวรรธน์” มองหากปรับ 2 รอบฉุดจีดีพี 0.3%

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าการขึ้นดอกเบี้ยถือเป็นมาตรการทางการเงิน ซึ่งมองว่าเวลานี้รัฐอาจจะต้องใช้มาตรการทางการคลังก่อน และควรมองถึงการคุมราคาพลังงานเพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจและไม่ทำให้เงินเฟ้อสูงมากเกินไป ซึ่งหากจะมีการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จริงจะกระทบ ต่อ GDP ของประเทศ 0.1%-0.2% ดังนั้นจึงไม่ควรรีบขึ้นดอกเบี้ยในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มองว่าหากมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้ และปรับขึ้นครั้งที่ 2 ในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 จะดึงเศรษฐกิจให้ย่อตัวลงประมาณ 0.3% ดึงอัตราเงินเฟ้อลงได้ 0.4%-0.5% […]

กสิกรฯ มองกรอบ SET สัปดาห์นี้ 1,600-1,665 จับตาประชุมเฟด-FLOW – วิกฤตยูเครน-ตัวเลขศก.-ศบค.

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดกรอบการเคบื่อนไหวของดัชนีหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ (13-17 มิ.ย.65) มีแนวรับอยู่ที่ 1,620 และ 1,600 จุด ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,665 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประชุมเฟด (14-15 มิ.ย.) สถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมถึงการประชุมศบค. ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก […]

รมว.คลัง จ่อออกมาตรการช่วยน้ำมันแพง ลั่น ‘คนละครึ่งเฟส 5’ ไม่เหมาะช่วงศก.ฟื้นตัว

กระทรวงการคลัง เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือน้ำมันแพง โดยรูปแบบจะเป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และผู้ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือแนวทางกับสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส่วน โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ไม่ได้ดำเนินการด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปี แต่ใช้งบจากเงินพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน ซึ่งการกู้เงินก็มีเหตุผลที่จะต้องกู้มาเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึ่งสามารถทำได้ อย่างไรก็ดี เมื่อเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวกลับมา ความจำเป็นในการออกมาตรการอาจจะลดน้อยลงไป และเมื่อจะออกโครงการคนละครึ่ง ก็ต้องออกมาตรการช่วยเหลือ ในกลุ่มบัตรคนจนด้วย ซึ่งใช้งบประมาณค่อนข้างมาก ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3397041