‘บิ๊กตู่’ดัน‘มาบตาพุด’เฟส3 ตั้งเป้าไทยฮับขนส่งทางน้ำอาเซียน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล เพื่อเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน โดยในวันที่ 28 ก.พ.65 นายกรัฐมนตรี กำหนดเป็นประธานเปิดโครงการฯ ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) ณ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผ่านระบบออนไลน์ สำหรับ โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขนส่งทางน้ำสนับสนุนภาคอุตสาหกรรม และรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มา: https://www.naewna.com/business/638280

พาณิชย์เผยจัดตั้งธุรกิจใหม่ในอีอีซี 5,081 ราย เพิ่ม 4.41% ชลบุรีครองแชมป์ ขณะที่ญี่ปุ่นลงทุนมากสุด

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย. 2564 มีจำนวน 5,081 ราย ทุนจดทะเบียน 14,837.44 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2563 จำนวน 4,879 ราย เติบโตเพิ่มขึ้นคิดเป็น 4.14% และมีมูลค่าทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้นจาก 13,947.33 ล้านบาท คิดเป็น 6.38% โดย จ.ชลบุรี มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่มากที่สุดจำนวน 3,485 […]

อีอีซีกล่อมนักธุรกิจต่างชาติ เข้าลงทุน4อุตสาหกรรมเป้าหมาย

นางลัษมณ อรรถาพิช รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กล่าวว่าตนได้ร่วมเป็นวิทยากรในงานสัมมนาออนไลน์ (Webinar) Thailand Business Forum 2021 เพื่อแสดงถึงศักยภาพและความพร้อมของโครงการและโอกาสการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้แก่นักลงทุนและภาคเอกชนในฮังการีและประเทศใกล้เคียงทราบ ทั้งนี้ อีอีซีได้นำเสนอความก้าวหน้าการพัฒนาโครงการอีอีซีพร้อมทั้งชักจูงและสร้างโอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.สุขภาพ 2.ดิจิทัล 3.Decar bonization 4.โลจิสติกส์ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านดิจิทัล ด้านการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ที่มา: https://www.naewna.com/business/603252

‘ธรรมนัส’ เล็งเวนคืนที่ดินสร้างเมืองต้นแบบ ‘ทำโรงแรม-โรงงาน’ เปลี่ยนเกษตรกรในที่ส.ป.ก.เป็นผู้ถือหุ้น

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการศึกษาและเลือกพื้นที่ ส.ป.ก. บริเวณ อ.บางละมุง จำนวน 86,657 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) ทั้งนี้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดินส.ป.ก. ส่วนใหญ่เป็นการทำการเกษตร ซึ่งรัฐจัดสรรให้เกษตรกรเข้าประกอบอาชีพทำประโยชน์ ทั้งนี้จะมีการคำนวนเพื่อจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืน นอกจากนี้ เกษตรกรในพื้นที่จะได้รับเข้าทำงานในเมืองต้นแบบในอีอีซี และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิ์ในการถือหุ้นในธุรกิจในอีอีซี ภายใต้การดูแลของสำนักงานปฎิรูปที่ดิน ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_6455004

ตั้ง “สุพัฒนพงษ์” ศึกษาผลกระทบข้อตกลง G7 เก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้สั่งการให้ไปศึกษาการปฏิรูประบบการจัดเก็บภาษีในปัจจุบัน เพื่อศึกษาผลกระทบระบบภาษีโลก หลังประเทศกลุ่ม G7 บรรลุข้อตกลงเก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ จึงได้มอบหมายให้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน กระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปศึกษาและพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศไทย หรือ กระทบกับมาตรการดึงดูดการลงทุนของไทย เช่น การลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-686879

ในความเงียบ ของ EEC เดิมพันอนาคต เศรษฐกิจไทยหลังโควิด-19

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จัดเป็นความหวังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ชัดเจนในยุคของ “นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์” อดีตรองนายกรัฐมนตรี ด้วยการกำหนดนโยบายในการขับเคลื่อน EEC ตั้งแต่การดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนกลุ่ม S-curve ผ่าน BOI จนทำให้มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงทำนิวไฮถึง 683,910 ล้านบาท ในปี 2561 แต่หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทีมเศรษฐกิจ ประกอบกับเกิดสถานการณ์โควิด-19 สุ้มเสียงของรัฐบาลที่มีต่อ EEC ก็เริ่มเปลี่ยนไป ส่งผลให้นโยบายในการขับเคลื่อนเริ่ม “ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน” ยิ่งทำให้ “โอกาส” ของ EEC ลดน้อยลง เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอื่น […]